“ณัฏฐิญา” เผยดีพร้อม ยันเดินเครื่องพัฒนาอาหารถิ่นอาหารไทย หนุนร้านอาหารชุมชน จับมือเครือข่าย "สถาบันอาหาร" หารือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สานนโยบาย “รมต.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 18 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทย สาขาอาหาร ร่วมกับสถาบันอาหาร พร้อมด้วย นางเบญจมาภร เอกฉัตร์ ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมหารือดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก ปฏิรูปอุตสาหกรรม เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ซอฟต์พาวเวอร์ในระดับสากล โดย "ดีพร้อม" ได้บูรณาการกับ "สถาบันอาหาร" ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ภายใต้งประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2567 ประกอบด้วย 1) การจัดทำ e-learning ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร 2) การจัดงานแถลงข่าวผลความสำเร็จและพิธีปิดโครงการ 3) การเผยแพร่งานส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เร่งเดินหน้าจัดทำแผนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในสาขาอุตสาหกรรมอาหาร และแฟชั่น ประกอบไปด้วย 1) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) การพัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาทักษะอาชีพ และการดำเนินธุรกิจ 3) การพัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย โดยการส่งเสริมธุรกิจให้ได้การรับรองมาตรฐาน หรือเครื่องหมายการรับรองไทยและสากล 4) การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย สู่ระดับประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ของสินค้า อีกทั้งเป็นการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจทั้งในระดับประเทศและสากล และ 5) การสนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยด้วยการสร้างและส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของซอฟต์พาวเวอร์เชื่อมโยงความร่วมมือ สร้างเครือข่ายพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย และเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
21 ต.ค. 2567
ก.อุตฯ จัดทัพจิตอาสา ร่วมทำความดี รวมใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช ร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพฯ 19 ตุลาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2567” ที่จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมด้านกำกับตรวจสอบการประกอบการ และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ สำหรับกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2567” เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในครั้งนี้มีกิจกรรมประกอบด้วยการถวายสังฆทานร่วมกัน จากนั้นเป็นพิธีเปิดกิจกรรม โดยจิตอาสาที่ร่วมในพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว และกล่าวคำปฏิญาณพร้อมกัน “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” จากนั้นผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะจิตอาสากระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันตรวจระบบไฟฟ้ารอบบริเวณวัดว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยอำนวยสะดวกให้การแก้ไข ซ่อมแซมในจุดที่ชำรุดต่อไป และร่วมกันทำความสะอาดโดยรอบบริเวณพระระเบียงค โดยทำการกวาดพื้น ถูพื้น ขัดพื้น ปัดฝุ่น และเก็บขยะโดยรอบ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาวัดด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ซึ่งหมายถึง “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5” ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐาน พระพุทธชินราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อเมื่อปี พ.ศ.2444 เป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย ซึ่งจำลองจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก ประดิษฐาน ณ พระแท่นรัตนบัลลังก์ และภายในวัดมีสถานที่สำคัญ และน่าสนใจมากมายทั้ง ศาลาสี่สมเด็จ พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัดที่สำคัญของเมืองไทย
21 ต.ค. 2567
"ดีพร้อม" กางแผนซอฟต์พาวเวอร์ วางผังบูรณาการ 3 ปี ตอบรับข้อสั่งการ "รมต.เอกนัฏ" เร่งขับเคลื่อนแฟชั่น อาหาร สร้างสรรค์
กรุงเทพฯ 17 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอโครงการ/กิจกรรมของดีพร้อมในปี 2568 ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ แนวคิดการดำเนินโครงการในการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีความรู้ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ ยกระดับอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้แต่ละภูมิภาคมีจุดเด่นของสินค้าและบริการที่แตกต่างและหลากหลาย โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งการพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ จัดทำระบบติดตามข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมและการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ อีกทั้ง ได้ส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการซัพพลายเชน ลดความสูญเสียด้วยระบบโซ่ความเย็น มุ่งเน้นการเปลี่ยนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านการให้บริการของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสำหรับการดำเนินธุรกิจ การส่งเสริมและพัฒนาผู้เริ่มต้นประกอบธุรกิจจนสามารถจัดตั้งและขยายธุรกิจได้ พร้อมเชื่อมโยง Startup กับแหล่งเงินทุน รวมถึงการจัดให้มีการอบรมเพื่อทักษะความรู้ทั้งบุคลากรภายในและภายนอกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นหนี้ และสามารถจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ พร้อมสามารถสร้างนักออกแบบ และสนับสนุน Social Enterprise โดยส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม พัฒนาทั้งเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป พัฒนานักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ พัฒนาสินค้า Super Food อาหารแห่งอนาคต ในการยกระดับผู้ประกอบการในทุกระดับให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ พัฒนาชุมชนดีพร้อม กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ยังมีการปรับหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม ให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ให้มีความเข้มข้น ทันสมัย แตกต่างจากหลักสูตรของสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีและระบบ IOT ขยายผลการศึกษาของโครงการในระดับจังหวัดได้ นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ยังเดินหน้าส่งเสริม Soft Power แฟชั่น และอาหาร เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการสร้างสรรค์และต่อยอดผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการให้บริการ ที่มีเสน่ห์ มีคุณค่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เผยแพร่ให้อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จัก เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์
21 ต.ค. 2567
ปลัดฯ ณัฐพล รับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค เตรียมแพคถุง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ด้วยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดมรสุม มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัย สร้างความเสียหายต่อการดำรงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนและสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อรวมใจส่งมอบรอยยิ้ม ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย” โดยในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เพื่อเตรียมแพคถุงเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัย โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ได้รับความอนุเคราะห์ ข้าวสาร และน้ำตาลทราย จากผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัท ข้าวอร่อย จำกัด และบริษัท น้ำตาลทรายสระบุรี จำกัด ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย เพื่อจัดทำถุงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็น เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
18 ต.ค. 2567
“เอกนัฏ” เยือนสงขลา ศูนย์ส่งเสริมอุตฯ จับเข่าคุยเอกชน มุ่งพัฒนาศักยภาพ SME ไทยให้แข่งขันได้
จังหวัดสงขลา – นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อประชุมหารือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง พัทลุง และสตูล) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยทางภาคเอกชนได้มีข้อเสนอ ดังนี้ 1) การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการในพื้นที่ 2) การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมท้องถิ่น 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในพื้นที่เพื่อสร้างอัตลักษณ์ 4) การยกระดับมาตรฐานการผลิตของวิสาหกิจชุมชน 5) การส่งเสริมการใช้ "วู้ดเพลเลท" (Wood pellets) หรือชีวมวลอัดแท่ง ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชื้อเพลิงชีวมวลแทนการใช้พลังงานจากถ่านหินและพลังงานฟอสซิล สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่และเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่“ มุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยปัจจุบันประเทศไทยมี SME จำนวน 3.2 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 90 ของวิสาหกิจทั้งประเทศและเป็นแหล่งจ้างงานจำนวนกว่า 12 ล้านคน ด้วยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SME จำนวน 6.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.2 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ของประเทศ (GDP) แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ SME ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย การพัฒนาศักยภาพทักษะในการสร้างความยั่งยืนและเทคโนโลยียุคใหม่ รวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันให้แก่ธุรกิจ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถสร้างการเติบโต โอกาสทางการค้ารูปแบบใหม่ ๆ และความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจได้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จึงมีมาตรการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนให้กับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีแผนการสร้างแรงงานที่มีทักษะสูง โดยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และการฝึกอบรมในสายงานที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อให้แรงงานมีความสามารถที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการท้องถิ่นกับตลาดต่างประเทศ ส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีการวางแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุน “ผมได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงความยั่งยืนในการผลิตเพื่อประโยชน์ระยะยาวทั้งต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญของกระบวนการผลิตยางพารา โดยการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสะอาดตั้งแต่ต้นทาง จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา สร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของสินค้ายางพาราในตลาดต่างประเทศ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว จากนั้นรัฐมนตรีฯ เอกนัฏและคณะได้เยี่ยมชมศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ ศูนย์ไอซีที (Industry Transformation Center : ITC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาและสาธิตการใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ทันสมัย อาทิ การทดลองยืดอายุผลิตภัณฑ์กรือโป๊ะด้วยเครื่องบรรจุสุญญากาศและการฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน (retort) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบสับปะรดเพื่อยืดอายุผักและผลไม้สด เป็นต้น ปัจจุบันศูนย์ไอทีซี มีการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ โดยยกระดับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 แห่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จ.ลำปาง และบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์สนับสนุนและ พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร รวมทั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้พัฒนาบุคลากร
17 ต.ค. 2567
"รองปลัดฯ ณัฏฐิญา รักษาราชการแทน อธิบดีฯ ดีพร้อม" รับมอบเครื่องอุปโภค​ บริโภค​ และสิ่งของจำเป็นจากดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 16 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับมอบเครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งของจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม สำหรับนำมาบรรจุลงถุง ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
17 ต.ค. 2567
"ดีพร้อม" หารือกรมบัญชีกลาง ร่างตัวชี้วัดการประเมินผลงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ปี 68
กรุงเทพฯ 16 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง และภาคเอกชน ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ดีพร้อมได้ร่วมกับกรมบัญชีกลาง และบริษัทที่ปรึกษา ในการหารือและพิจารณาร่างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ประจำปีบัญชี 2568 ตามกรอบหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ทั้ง 6 ด้าน เพื่อศึกษา พิจารณา และกำหนดร่างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมขับเคลื่อน สนับสนุน ในการประชุมหารือกับบุคคล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์
17 ต.ค. 2567
“รองอธิบดีดวงดาว” นำประชุมบอร์ดอนุฯ เงินทุนหมุนเวียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2/2568
กรุงเทพฯ 15 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 5 6 และ 7 เข้าร่วมประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงินกู้วงเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท แก่ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย (ออกแบบและตัดเย็บชุด) จำนวน 1 ราย นำเสนอโดย ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 ผ่านรายงานบทวิเคราะห์สินเชื่อในส่วนของแผนการดำเนินธุรกิจที่จะเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และสร้างตัวแทนจำหน่ายสินค้าแบบออฟไลน์ในกับลูกค้าต่างประเทศ ฯลฯ ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมอนุกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
16 ต.ค. 2567
"ดีพร้อม" เดินหน้าจัดงานสุดยิ่งใหญ่ The Prime Minister’s Industry Award 2024 พร้อมร่วม “สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยหัวและใจ” ตามนโยบาย "รมต. เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย คณะทำงานฯ และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการเตรียมการจัดงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้นโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เชื่อมกับนโยบาย “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ผ่านการขับเคลื่อน 4 มิติ ภายใต้แนวคิด MIND ใช้ “หัวและใจ” ในการเดินหน้าสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” พร้อม "สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพิ่มโอกาสและส่งเสริมสถานประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนที่อยู่โดยรอบอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่สถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ
16 ต.ค. 2567
เซฟ SME ด้ามขวาน "เอกนัฏ" นำ ก.อุตฯ เยือน ตรัง-พัทลุง ต่อยอดหัตถกรรมและอุตสาหกรรมท้องถิ่น โชว์อัตลักษณ์ ยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ภาคใต้
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME จังหวัดตรังและจังหวัดพัทลุง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมท้องถิ่น ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ยกระดับให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ มุ่งเน้นด้านอาหารและหัตถกรรม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” เพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมท้องถิ่นและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยร่วมกับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่สนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขผ่อนปรน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ (เสือติดปีก) และ สินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ (คงกระพัน) วงเงินกู้รวม 1,900 ล้านบาท เพื่อให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนและพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้คณะฯ ได้เยี่ยมชมร้าน กวนนิโตพาทิสเซอรี (KUANITO Patisserie) ในจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานวัตถุดิบท้องถิ่นกับเทคนิคการทำขนมแบบฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผ่านโครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก ให้สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและดึงดูดลูกค้าจากทั่วประเทศ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำวัฒนธรรมและวัตถุดิบท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และสามารถแข่งขันในตลาดระดับสากลได้ จากนั้น ได้เยี่ยมชมโรงงานแปรรูปไก่ของ บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ในจังหวัดพัทลุง เป็นบริษัทอาหารชั้นนำระดับสากล มีการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แช่แข็งไปยังหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป และมีการใช้แนวคิดตามหลัก ESG (Environment Social and Governance) ที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยวางหลักการทำงานว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตไปพร้อมกัน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: SDGs) และยังได้เยี่ยมชมหัตถกรรมกระจูดวรรณี & โฮมสเตย์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตงานหัตถกรรมกระจูดที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ และได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย "การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจให้สามารถต่อยอดธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ ถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาคโดยการนำเอกลักษณ์ท้องถิ่นไปสู่ระดับสากล เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนสู่เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม ยินดีให้การสนับสนุนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เสริมและเพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม ผลักดันไปสู่ชอฟต์พาวเวอร์ในพื้นที่ภาคใต้ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ที่ให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” อย่างยั่งยืน และสอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป" นายเอกนัฏกล่าวทิ้งท้าย
15 ต.ค. 2567