โทรศัพท์ 1358
กระทรวงอุตฯ ผนึก อว. ดึง 11 มหาวิทยาลัย ปั้น 11 หมู่บ้าน CIV กระตุ้นการท่องเที่ยวท้องถิ่น
กระทรวงอุตฯ ผนึก อว. ดึง 11 มหาวิทยาลัย ปั้น 11 หมู่บ้าน CIV กระตุ้นการท่องเที่ยวท้องถิ่น
กรุงเทพฯ 16 กันยายน 2563 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและโครงการยุวชนอาสา (MOU) ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นสักขีพยานการลงนาม ร่วมด้วย นายสมชาย หาญหิรัญ สมาชิกวุฒิสภา คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อว. ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชน และ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ณ ห้องแกรนด์ แชมเบรย์ บอลรูม ชั้น 7 โรงแรมอวานี สุขุมวิท โครงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและโครงการยุวชนอาสา เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา จาก 11 มหาวิทยาลัย ได้นำแนวคิดสมัยใหม่ เข้ามาร่วมพัฒนาโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Creative Industry Village) หรือ หมู่บ้านCIV เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีอัตลักษณ์ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนนำร่อง 11 วิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นหมู่บ้าน CIV ที่ดีพร้อมผ่านการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ ตามความต้องการของชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการ การท่องเที่ยว สินค้าและบริการ เทคโนโลยีการผลิต การตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนและการช่วยยกระดับชุมชนให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนได้ ส่งผลให้เกิดการใช้ทักษะความรู้ความสามารถจากคนรุ่นใหม่ สร้างกระบวนการเรียนรู้จากการลงพื้นที่จริง ซึ่งถือเป็นเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงบริบทของแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เพื่อวางแผนการดำเนินงานสร้างรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนทั้ง 11 หมู่บ้าน โดยคาดว่าจะสามารถสร้างการมีงานทำให้คนในชุมชนมากกว่าร้อยละ 10 และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ก.ย. 2563
กสอ. เผยความสำเร็จโครงการ Agro beyond Academy ติดอาวุธให้นักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม
กสอ. เผยความสำเร็จโครงการ Agro beyond Academy ติดอาวุธให้นักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 14 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิด "Agro Beyond Academy" กิจกรรมพัฒนาแนวคิดปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ร่วมด้วยนายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวุฒิธร มิลินทจินดา ผู้บริหารสูงสุดบริษัท วู้ดดี้ เวิลด์ จำกัด คณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ และ คณะสื่อมวลชน ณ โรงแรม S31 วัฒนา โครงการ Agro Beyond Academy เป็นการดำเนินงานเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาธุรกิจเกษตรให้ประสบความสำเร็จ โดย กสอ. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน ผ่านการอบรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์กว่า 30 ชั่วโมง จากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทั้งหมด 16 ท่าน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมนักธุรกิจด้านเกษตรกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมทั่วประเทศให้พร้อมก้าวสู่การเป็นสุดยอดนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมไทยแบบยั่งยืน สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจในท้องถิ่นและชุมชนได้ นอกจากนี้ทางโครงการฯ ยังมีการติดตามผลการเรียน และทำแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการเรียนให้เป็นไปตามที่โครงการกำหนดและได้ประสิทธิภาพจริง เพื่อมอบโล่ ใบประกาศนียบัตรและของที่ระลึกให้กับผู้ผ่านเกณฑ์ประเมิน ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมินทั้งสิ้น 30 ราย โดยมี 3 ราย มีคะแนนสูงสุดได้รับรางวัลงสุดยอดผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. แชมพูผสมครีมนวดน้ำนมข้าว กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองบอนแดง 2. ลีเฟีย ผงปรุงรสจากผักบริษัท แอลพีฟู้ดเวนเชอร์ จำกัด 3. ข้าวป๊อป Healthy Snack ข้าวหอมมะลิออร์แกนิคแปรรูป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 ก.ย. 2563
กสอ. ร่วมกับ สถาบันฯสิ่งทอ โชว์ผล Thailand Textile Tag ยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอ คาดสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจกว่า 60 ล้านบาท
กสอ. ร่วมกับ สถาบันฯสิ่งทอ โชว์ผล Thailand Textile Tag ยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอ คาดสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจกว่า 60 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 14 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพลอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม(Thailand Textiles Tag) ร่วมด้วย นายจำนงค์ นวสมิตวงศ์ ประธานสหพันธ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกิติมศักดิ์สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนโดยมี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน Thailand Textile เป็นกิจกรรมที่ กสอ. ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อสร้างมาตรฐานและตราสัญลักษณ์คุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tag เป็นครั้งแรก ควบคู่ไปกับการดำเนินงานให้คำแนะนำปรึกษาเชิงลึก เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อขอการรับรองใช้ตราสัญลักษณ์โดยต้องผ่านการทดสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมกับมุ่งเน้นให้ความสำคัญในคุณภาพของเนื้อผ้า ความคงทนของสี และความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้และกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งพิจารณาจากแหล่งกำเนิดของสินค้าและยึดตามหลักสากล โดยจะรับรองผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ ผู้ผลิต เส้นด้าย ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เคหะสิ่งทอ และสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีสิ่งทอเป็นองค์ประกอบและผลิตภายในประเทศ นอกจากนี้ยังรณรงค์ส่งเสริมและสร้างความรับรู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย กระตุ้นเศรษฐกิจสิ่งทอในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้กว่า 60 ล้าน พร้อมกันนี้ ยังได้มอบเกียรติบัตรให้กับผู้ประกอบการที่ ผ่านการทดสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ Thailand Textiles Tag ทั้งหมด 33 ราย 60 ผลิตภัณฑ์ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 ก.ย. 2563
กสอ. โชว์เสริมแกร่งบุคลากรค้าออนไลน์ พร้อมเดินหน้ายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการสู่อีคอมเมิร์ซ
กสอ. โชว์เสริมแกร่งบุคลากรค้าออนไลน์ พร้อมเดินหน้ายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการสู่อีคอมเมิร์ซ
กรุงเทพฯ 11 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ดีพร้อมด้านการค้าออนไลน์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) พร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าอบรมจากส่วนกลาง จำนวน 11 หน่วยงาน ร่วมด้วย คณะที่ปรึกษาโครงการจาก บริษัท ตลาด ดอท คอม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และเจ้าหน้าที่ กสอ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เข้าร่วมฝึกอบรมดังกล่าว ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซนบี อาคาร กสอ. สำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ดีพร้อมด้านการค้าออนไลน์ เป็นการจัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จำนวนกว่า 160 ชั่วโมง โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรของ กสอ. จำนวน 115 คน จาก 23 หน่วยงานให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการค้าออนไลน์ในเชิงลึก เพื่อนำไปต่อยอดการดำเนินงานส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการค้าออนไลน์ การตลาดผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ อีคอมเมิร์ซคอนเซป อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม การทำความรู้จักมาร์เก็ตเพลส และการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงสามารถสร้างช่องทางการขายออนไลน์ที่หลากหลายให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ อาทิ ตลาด ดอท คอม ช้อปปี้ ลาซาด้า เฟซบุ๊ก ไลน์ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริม SMEs ในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 ก.ย. 2563
กสอ. จับมือ มทร.ธัญบุรี โชว์ผลงานเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร
กสอ. จับมือ มทร.ธัญบุรี โชว์ผลงานเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร
กรุงเทพฯ 10 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานแถลงผลสำเร็จกิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวต้อนรับ และ นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. กล่าวรายงาน ณ ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ ชั้น 7 ดีดีมอลล์ จตุจักร กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเผยแพร่ผลสำเร็จของแพลตฟอร์มออนไลน์ "IAID Application" ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรและผู้รับบริการหรือเกษตรกร เพื่อส่งเสริมทั้งโอกาสและเพิ่มช่องทางการใช้บริการเครื่องจักรกลหรือผลิตภัณฑ์การเกษตรให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังเป็นแหล่งเผยแพร่การเรียนรู้ในด้านเทคนิคการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรต่าง ๆ ซึ่งภายหลังจากเปิดให้บริการแอปพลิเคชันตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา มีผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรเปิดให้บริการภายในแอปพลิเคชันดังกล่าว จำนวน 18 ราย และมีสมาชิกผู้ประกอบการเกษตร จำนวน 350 ราย เกิดการใช้บริการของเกษตรกรครอบคลุมในกลุ่มพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง มูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท ในพื้นที่ดูแลกว่า 7,000 ไร่ โดยในระยะถัดไปจะร่วมกันส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แอแพลิเคชันดังกล่าวในวงกว้างต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 ก.ย. 2563
“รองปลัดจุลพงษ์” ร่วมแสดงความยินดีผู้ประกอบการ คพอ. รุ่น 370 เน้นเสริมแกร่งด้วย Smart SMEs Program
“รองปลัดจุลพงษ์” ร่วมแสดงความยินดีผู้ประกอบการ คพอ. รุ่น 370 เน้นเสริมแกร่งด้วย Smart SMEs Program
จ.เชียงใหม่ 9 กันยายน 2563 - นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการสู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SME Program) ภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และ โกลบอล SME (คพอ. รุ่นที่ 370 จังหวัดลำพูน – เชียงใหม่) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายอภินันท์ เจริญสุข ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 จ.พิจิตร. กสอ. นายเชิดพงษ์ ไชยวัฒน์ธำรง นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จังหวัดเชียงใหม่ นางกรรณิการ์ ด่านไพบูลย์ ประธานสมาพันธ์ SMEs จังหวัดลำพูน โดยมี นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อานวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส อำเภอเมือง การฝึกอบรมดังกล่าว มุ่งเน้นที่การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบ จากวิทยากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจจริง โดยมีจำนวนการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 18 วัน และผู้ที่จะผ่านการฝึกอบรมได้นั้นจะต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ ในการฝึกอบรม ยังได้กำหนดให้ผู้เข้าอบรมต้องร่วมกันจัดทำแผนการลงทุนรายบุคคล พร้อมนำเสนอต่อวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับมาปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเองได้ต่อไป ทั้งนี้ คพอ. รุ่นที่ 370 จังหวัดลำพูน – เชียงใหม่ มีผู้ผ่านการฝึกอบรม ทั้งสิ้น 38 คน ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 ก.ย. 2563
กสอ. ผนึกกำลัง มช. โชว์ความสำเร็จการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการอุตฯ เครื่องมือแพทย์ พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
กสอ. ผนึกกำลัง มช. โชว์ความสำเร็จการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการอุตฯ เครื่องมือแพทย์ พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
จ.เชียงใหม่ 9 กันยายน 2563 - นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้แทนสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รศ.นพ.ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.พลาคม ชัยกิตติศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อ่างแก้ว สตาร์ทอัพ จำกัด นางสาวกนกพร โชติปาล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการลงทุนภาคที่ 1 นายทรงวุฒิ นันทะ นายกสมาคมผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี รศ.ดร.พญ.ศิริอนงค์ นามวงพรหม ผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส อำเภอเมือง กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กับ ศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องมือแพทย์ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ โดยได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์รวมแล้วกว่า 26 รายการ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ ยังได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานวิจัยในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 11 กิจการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม ที่ปรึกษาโครงการ ตลอดจนหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลาโครงการ รวมถึงแนวทางในการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริงต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 ก.ย. 2563
“รองปลัดจุลพงษ์” เปิดงาน “New Normal New Network” เดินหน้าเชื่อมโยงธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ หลังวิกฤตโควิด-19
“รองปลัดจุลพงษ์” เปิดงาน “New Normal New Network” เดินหน้าเชื่อมโยงธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ หลังวิกฤตโควิด-19
จ.เชียงใหม่ 9 กันยายน 2563 - นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเปิดงาน “New Normal New Network” ภายใต้ โครงการโอบอุ้มธุรกิจสุขภาพ และการแพทย์ กระตุ้นเศรษฐกิจ พิชิตโควิด-19 (Business.Health Hub.Boost.Up .by .Brotherhood) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางศิริพร ตันติพงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายมาโกโตะ อิฮาระ ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นจาก องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) นายนาโอกิ โทคุสึ ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นจากจังหวัดวากายามะ ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่ภาคเหนือ ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุลผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล อ.เมือง งาน New Network New Normal เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ ระหว่างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ดี กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเชิงลบในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19 โดยภายในงานประกอบด้วยการเสวนาระหว่างภาครัฐและเอกชน การบรรยายพิเศษถ่ายทอดประสบการณ์ ‘พลิกวิกฤตโควิด พิชิตยอดขาย’ การถ่ายทอดประสบการณ์โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารเกษตรแปรรูป และหัตถอุตสาหกรรมต้นแบบ ‘การรับมือธุรกิจ เมื่อโควิดพุ่งชน’ ที่ประสบความสำเร็จในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 การเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารเกษตรแปรรูป / หัตถกรรมและไลฟ์สไตล์ กับคู่ค้าระดับท้อปของประเทศกว่า 20 ราย และการออกบูธแสดงสินค้าและบริการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารเกษตรแปรรูป / หัตถกรรมและไลฟ์สไตล์กว่า 70 บูท เพื่อเชื่อมโยง ซัพพลายเชนธุรกิจระหว่างกันในพื้นที่ต่อไปและในโอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยังให้เกียรติเปิดศูนย์พัฒนาและทดสอบอัตลักษณ์กาแฟอาราบิก้า ภาคเหนือ (Northern Boutique Arabica Coffee Center : NBACC) และเยี่ยมชมนิทรรศการภายในศูนย์ดังกล่าว โดยศูนย์กาแฟนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทดลองและทดสอบการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟ กระบวนการผลิตและการแปรูปกาแฟที่หลากหลาย เพื่อให้ได้อัตลักษณ์ของกาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กาแฟอาราบิก้าภาคเหนือให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศในอนาคต นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยังให้เกียรติเปิดศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือและเยี่ยมชมนิทรรศการภายในศูนย์ฯ โดยศูนย์ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับงานหัตกรรมเครื่องเขิน ประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา กระบวนการผลิต ซึ่งภายในศูนย์ได้รวบรวมงานหัตถกรรมเครื่องเขินในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ไว้จัดแสดงให้แก่ผู้ที่สนใจ และมีกิจกรมWork shop สำหรับเรียนรู้การทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในเชิงสร้างสรรค์ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันควบคู่ไปกับการอนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 ก.ย. 2563
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมเปิดงานตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” ยกขบวนสินค้าและบริการมาให้ ชิม เที่ยว ช้อป พร้อมไอเดียต่อยอดธุรกิจเอสเอ็มอี
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมเปิดงานตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” ยกขบวนสินค้าและบริการมาให้ ชิม เที่ยว ช้อป พร้อมไอเดียต่อยอดธุรกิจเอสเอ็มอี
จ.นนทบุรี 4 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงานตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี พร้อมรองรับยุคเศรษฐกิจตามวิถีนิวนอร์มอล โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานดังกล่าว ร่วมด้วย นางวรวรรณ ชิตอรุณ นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายสมพล โนดไธสง นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสหวัฒน์ โสภา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ร่วมงาน ณ ฮอลล์ 5-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี   ภายในงาน ตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” พบกับสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผู้ได้รับสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 6 โซนหลัก กว่า 600 บูธ ชิมอาหารขนมของอร่อย 4 ภาค สินค้าเกษตรแปรรูป เลือกซื้อเสื้อผ้า/สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี/เครื่องประดับ ของใช้และของตกแต่งบ้าน แพ็กเกจท่องเที่ยว โรงแรม สปา ราคาพิเศษ พร้อมการสัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจที่ในหัวข้อต่าง ๆ เคล็ดลับการเพิ่มยอดขายด้วยเทคนิคการถ่ายภาพ สร้างกลยุทธ์พิชิตใจลูกค้าที่จะมาสนับสนุนต่อยอดธุรกิจทางการตลาด พร้อมพบกับบูธให้คำปรึกษาจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่จะมาออกบูธให้ความรู้พร้อมบริการ คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุนด้านเงินทุนและสินเชื่อต่าง ๆ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2563 ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 ก.ย. 2563
กสอ.จับมือดาว ผนึกกำลังร่วมพัฒนา SMEs ไทย
กสอ.จับมือดาว ผนึกกำลังร่วมพัฒนา SMEs ไทย
กรุงเทพฯ 8 กันยายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกิจกรรมแถลงข่าว “ความร่วมมือพัฒนา SME ไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0” ภายใต้โครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.สุภาพ กัญญาคำ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้อง Mayfair C ชั้น 11 โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ขานรับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านโครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เกิดการพัฒนาด้านกระบวนการผลิต เปลี่ยนแปลงจากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อยให้เป็นผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก โดยนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุน ลดของเสียจากกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ยกระดับความปลอดภัยให้กับโรงงาน รวมทั้งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขยะพลาสติก ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการดังกล่าว ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1.5 ล้านกิโลคาร์บอน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 150,000 ต้น นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีการเปิดตัวคู่มืออุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย และยังสามารถทำแบบประเมินเพื่อให้ทราบว่า SMEs นั้น ๆ อยู่ในระยะใดในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพองค์กรได้อย่างเหมาะสม ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 ก.ย. 2563