โทรศัพท์ 1358
“อธิบดีณัฐพล” นำพลพรรคดีพร้อม ร่วมทีมจังหวัดชัยนาท นายกฯ อนุสรณ์ รุดลงพื้นที่ ต.หาดอาษา (จุดที่ 2) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
“อธิบดีณัฐพล” นำพลพรรคดีพร้อม ร่วมทีมจังหวัดชัยนาท นายกฯ อนุสรณ์ รุดลงพื้นที่ ต.หาดอาษา (จุดที่ 2) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
ดีพร้อม ร่วมใจ “สะพายเป้ปันน้ำใจ” ช่วยผู้ประสบอุทกภัย : ในพื้นที่ ต.หาดอาษา ได้ถูกน้ำท่วมครั้งแรกเมื่อช่วงวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งน้ำท่วมได้ประมาณอาทิตย์กว่าๆ น้ำก็ลดลงใกล้จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จากนั้นก็มีมวลน้ำอีกระลอกเข้าท่วมในพื้นที่ซ้ำอีก ซึ่งในระยะฟื้นฟูนี้ ชาวบ้านหลายครอบครัวยังได้รับความเดือดร้อนหนัก บางรายก็ได้เร่งทำความสะอาดบ้านไปแล้ว นอกจากนี้ ทางด้านเทศบาลตำบลหาดอาษา และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่สำรวจความเดือดร้อนของชาวบ้าน และดีพร้อมได้สั่งการให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ให้การช่วยเหลือ โดยล่าสุดพื้นที่ ต.หาดอาษา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 5 หมู่บ้าน 1,600 กว่าครัวเรือน โดยชาวบ้านบางรายที่ได้รับผลกระทบหนักก็ได้ออกมาอาศัยอยู่ริมถนนสายคันคลองชั่วคราวกว่า 100 ครอบครัว ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
08 พ.ย. 2564
รัฐมนตรีอนุชา สั่งการดีพร้อม นำโดย “อธิบดีณัฐพล” ร่วมกับ นายกอนุสรณ์ ลงพื้นที่ชัยนาท ส่งมอบ “เรือดีพร้อมพาย” พร้อม “เป้ปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุทกภัย จุดที่1 ต.โพนางดำออก
รัฐมนตรีอนุชา สั่งการดีพร้อม นำโดย “อธิบดีณัฐพล” ร่วมกับ นายกอนุสรณ์ ลงพื้นที่ชัยนาท ส่งมอบ “เรือดีพร้อมพาย” พร้อม “เป้ปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุทกภัย จุดที่1 ต.โพนางดำออก
จ.ชัยนาท 6 พฤศจิกายน 2564 : นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท ร่วมกับทีมดีพร้อม ประกอบด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสากรรม และทีมงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่ มอบ “เป้ปันน้ำใจ” ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท ทั้งนี้ นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท ได้กล่าวให้ข้อมูลและแผนการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ ร่วมด้วย นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.ชัยนาท และประธานสโมสรชัยนาทฮอร์นบิล นางฉลอม สงล่า นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท ณ ตําบลโพนางดําออก อําเภอสรรพยา จุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ 1 การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมมอบ “เป้ปันนําใจ” ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยอำเภอสรรพยาเป็น 1 ในพื้นที่จังหวัดชัยนาทที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ประกอบด้วย 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพนางดำออก ตำบลหาดอาษา ตำบลตลุก และ ตำบลบางหลวง โดยมีสถานประกอบการบางกิจการในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง แต่ได้มีการเตรียมการขนย้ายล่วงหน้าทำให้ไม่เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต เช่น กลุ่มสรรพยาบาติก กลุ่ม มัดย้อมเมืองสาปยา แต่อย่างไรก็ตามบางกิจการได้รับผลกระทบจากความเสียหายของวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูป แต่ไม่มากนัก อาทิ กรณี พืช ผัก ผลผลิตทางการเกษตรที่ต้องนามาแปรรูปได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น กลุ่มแปรรูปกล้วย ไร่อ้อย ฟาร์มเมล่อน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางกิจการไม่สามารถทำมาค้าขายได้ และทำการผลิตไม่ได้ แต่เป็นระยะเวลาสั้น 2-3 วัน เช่น ตำบลเนินขาม เป็นต้น ✅ อธิบดีณัฐพล และคณะผู้บริหาร ดีพร้อม ได้ส่งมอบเรือไฟเบอร์กลาส จำนวน 2 ลำ (หรือดีพร้อมพาย) โดยมี นายมนตรี คุ้มเขตร์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโพนางดำออก เป็นผู้แทนรับมอบเรือ ดีพร้อมพาย 1 และ 2 ทั้ง 2 ลำ รวมถึงได้มอบ ”ถุงปันน้ำใจ” จำนวนกว่า 1,700 ถุง ให้กับผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันได้มอบถุงปันน้ำใจให้กับพี่น้องตามบ้านเรือน ✅ นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ทำการสำรวจความต้องการในพื้นที่ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม คือ ด้านเงินทุนหมุนเวียน เพื่อมาใช้เป็นเงินหมุนเวียนธุรกิจ และเพื่อซื้อกล้าพันธุ์พืช สำหรับลงปลูกใหม่ อาทิ ซื้อหน่อกล้วยมาปลูกทดแทนที่เสียหาย การหาสถานที่ ตลาด เพื่อช่วยขายสินค้า กิจกรรมช่วยส่งเสริมการขาย เพื่อให้มีรายได้อีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
08 พ.ย. 2564
อธิบดีณัฐพลนั่งหัวโต๊ะ เคาะโครงการสินเชื่อฯ และมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย
อธิบดีณัฐพลนั่งหัวโต๊ะ เคาะโครงการสินเชื่อฯ และมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย
กรุงเทพฯ 4 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน Zoommeting ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคาร กสอ. การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อพิจารณาร่างโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อยเพย์ (DIProm Pay) กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและมีความพร้อมจะฟื้นฟูกิจการอีกครั้งภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19) คลี่คลาย โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันหารือและมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อดังกล่าว ขณะเดียวกันยังได้พิจารณามาตรการบรรเทาและฟื้นฟูผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ คุณสมบัติผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับการช่วยเหลือ และหลักเกณฑ์การขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการ ซึ่งมาตรการนี้ จะเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ ได้รับการลดหย่อนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีสิทธิกู้เงินเพิ่มเติม และการขอกู้เงินเป็นกรณีพิเศษสำหรับลูกค้ารายใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และฟื้นฟูกิจการให้มีโอกาสฟื้นตัวในการประกอบอาชีพ หรือประกอบธุรกิจได้ต่อไป โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันหารือและมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ตลอดจนร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียนฯ ตามที่ฝ่ายเลขาฯ ได้นำเสนอพิจารณา นอกจากนี้ ฝ่ายเลขาฯ ยังได้แจ้งเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. กระทรวงการคลังอนุมัติปรับแผนการดำเนินงานและประมาณการรายจ่าย เงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2. กระทรวงการคลังอนุมัติแผนการดาเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 3. รายงานงบการเงินไตรมาสที่ 4/2564 ของเงินทุนหมุนเวียนฯ 4. รายงานผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ 5. รายงานผลการจัดโครงการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ปฏิบัติงานเงินทุนหมุนเวียนฯ และ 6. รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ภาค ต่อคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ให้ได้รับทราบอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
04 พ.ย. 2564
ดีพร้อม รวมพลส่งต่อธารน้ำใจ ถุงปันน้ำใจ อีกกว่า 2,000 ถุง น้ำดื่ม 2,000 ขวด พร้อมทั้งเรือ “ดีพร้อมพาย” 2 ลำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ดีพร้อม รวมพลส่งต่อธารน้ำใจ ถุงปันน้ำใจ อีกกว่า 2,000 ถุง น้ำดื่ม 2,000 ขวด พร้อมทั้งเรือ “ดีพร้อมพาย” 2 ลำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 3 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพลอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสากรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ร่วมกันลำเลียง “ถุงดีพร้อม” จำนวน กว่า 2,000 ถุง น้ำดื่ม จำนวน 2,000 ขวด และเรือไฟเบอร์กลาส หรือ “ดีพร้อมพาย” จำนวน 2 ลำ ขึ้นรถบรรทุก และเตรียมส่งมอบไปยังผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุและร่องมรสุม เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่พี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
04 พ.ย. 2564
ดีพร้อม เผยผลสำเร็จของโครงการ “จีเนียส อะคาเดมี่ ซีซั่น 3 - 100 วัน สู่ธุรกิจวิถีใหม่” พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการอัจฉริยะภาคเกษตรอุตสาหกรรมที่ชนะในหลักสูตรฯ
ดีพร้อม เผยผลสำเร็จของโครงการ “จีเนียส อะคาเดมี่ ซีซั่น 3 - 100 วัน สู่ธุรกิจวิถีใหม่” พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการอัจฉริยะภาคเกษตรอุตสาหกรรมที่ชนะในหลักสูตรฯ
กรุงเทพฯ 30 ตุลาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ (Genius Academy) ซีซั่น 3 พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้จบหลักสูตร ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. กล่าวสรุปกิจกรรม ณ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ปทุมวัน Genius Academy เป็นกิจกรรม ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร โดยมุ่งส่งเสริม พัฒนา SMEs และ วิสาหกิจชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงให้มีความคิดสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมสร้างโอกาสการเติบโตสู่การแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ ซีซั่น 3 ภายใต้ แนวคิด “100 Days to Dream ปั้นฝันสู่ผู้ประกอบการอัจฉริยะ” ซึ่งได้พัฒนาและยกระดับธุรกิจเกษตร ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ โดยโค้ชทางธุรกิจที่ร่วมถ่ายทอดความรู้เชิงลึกเพื่อการต่อยอดแบรนด์สินค้าภาคเกษตรไทย และการพัฒนาวิสัยทัศน์ควบคู่ไปกับการพัฒนาแผนการทำงาน ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนตลอดกิจกรรมกว่า 16 หน่วยงาน เพื่อช่วยผลักดันและเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ได้เป็นที่รู้จักในตลาดสากล ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังได้มอบประกาศนียบัตร ให้แก่ผู้ประกอบการที่เรียนผ่านหลักสูตร ทั้งสิ้น 161 รายและมอบประกาศเกียรตินิยมแก่ผู้ประกอบการที่ชนะในหลักสูตร โดยแบ่งเป็น รางวัลพิเศษ Success Case จำนวน 10 รางวัล และรางวัล Best of the Best จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักเกาะยอ ผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวรมควัน 2. บริษัท โอวีวา คอร์ป จำกัด ผลิตภัณฑ์ชามัซแบบยูเอชที และ 3. บริษัท แข็งแรงทุกวัน จำกัด ผลิตภัณฑ์เส้นไข่ขาวและแกงพร้อมทาน ทั้งนี้ คาดว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีรายได้/มูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณการ รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 พ.ย. 2564
กิจกรรม “รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ.”
กิจกรรม “รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ.”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้จัดกิจกรรม “รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ.” จัดขึ้นในระหว่างเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2564 ซึ่ง กสอ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้สวนเสียทั้งในสวนกลางและสวนภูมิภาคที่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณประจำปี โดยกำหนดพื้นที่จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯและภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม สมาพันธ์เอสเอ็มอี สภาอุตสาหกรรม หอการค้าและสภาหอการค้า ผู้นำชุมชน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาเข้มแข็ง พลิกฟื้น อยู่รอด และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหาที่แท้จริง ข้อเสนอแนะ และจำนวนของ SMEs ที่รับบริการในพื้นที่ จากกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ และสอดคล้องกับสถานการณปัจจุบันที่เกิดขึ้น เช่น การแพรระบาดของโรค COVID-19 เป็นต้น พร้อมทั้งนำข้อมูลที่รวบรวมและประมวลผลจากการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว นำไปพัฒนาเป็นแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ. ต่อไป
01 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นำคณะดีพร้อม ลงพื้นที่กรุงเก่า ส่งมอบ “ถุงปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุกภัย
“อธิบดีณัฐพล” นำคณะดีพร้อม ลงพื้นที่กรุงเก่า ส่งมอบ “ถุงปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุกภัย
จ.อยุธยา 21 ตุลาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสากรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กสอ. และนายวุฒิธร มิลินทจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท วู้ดดี้ เวิลด์ จำกัด และเจ้าหน้าที่ ดีพร้อม ลงพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมส่งมอบ “ถุงปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุกภัย จำนวน 1,645 ถุง เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ให้แก่พี่น้องที่ผู้ประสบอุทกภัยในตำบลสำเภาล่มและตำบลปราสาททอง โดยมี นาง ซาร่าห์ วิเศษศักดิ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม และนายกเทศมนตรีตำบลปราสาททอง เป็นผู้แทนรับมอบในครั้งนี้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
25 ต.ค. 2564
ดีพร้อม เดินหน้าเพิ่มศักยภาพ e-Commerce เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้ รอด พร้อม โต! ด้วย Social Commerce
ดีพร้อม เดินหน้าเพิ่มศักยภาพ e-Commerce เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้ รอด พร้อม โต! ด้วย Social Commerce
กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อมในยุคโควิดและการสัมมนาเรื่อง “การทำการตลาดออนไลน์ ด้วย Social Commerce อยู่ได้ไปรอดในยุคโควิด” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Facebook Live กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อมในยุคโควิด จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในยุคโควิดที่ยังมีอยู่ให้มีความรู้และทักษะ ในด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce พร้อมกับเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างครบวงจรและมียอดขายเพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการค้าออนไลน์มีองค์ความรู้ในการเข้าถึงการขายสินค้าให้กับภาครัฐ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการผลักดันและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การตลาดที่มีการใช้ข้อมูล การบริหารจัดการร้านค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media หรือ e-Commerce 2.0 ผ่านการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. Online Training จัดฝึกอบรมออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า 6,000 คน ให้เหมาะสมตามประเภทอุตสาหกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 2. Online Coaching การให้คำปรึกษาแนะนำแบบกลุ่มทางออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 600 คน 3. Market Testing การทดสอบการทำการตลาด แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 300 คน เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขาย ประชาสัมพันธ์สินค้า และเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการในการทำการตลาดผ่าน Social Commerce โดยมีแผนการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 120 วัน ซึ่งคาดว่าผลจะก่อให้เกิดการค้าเชื่อมโยงระหว่างผู้ชื้อและผู้ขาย กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค และก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นโดยรวมไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
20 ต.ค. 2564
ดีพร้อม โชว์พลังคลัสเตอร์หุ่นยนต์ รวมกลุ่มฝ่าวิกฤตสร้างระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ ลดนําเข้า ตปท.
ดีพร้อม โชว์พลังคลัสเตอร์หุ่นยนต์ รวมกลุ่มฝ่าวิกฤตสร้างระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ ลดนําเข้า ตปท.
กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชมสถานประกอบการ “คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ตามแนวนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้รวมตัวและบูรณาการการทํางานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จํานวน 22 บริษัท ที่มีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกําลังการผลิต การลดนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนําความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตร รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านกําลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งผลกจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ก่อให้เกิดการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการนําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ได้แก่ 1. การดึงกลุ่มสถานประกอบการ ที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว เพื่อทราบถึงความต้องการ นำไปต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 2. การส่งเสริม และเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน 3. จัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ในด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิค เพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา 4. ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาดในช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและ การเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ "คลัสเตอร์" มีจํานวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จํานวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชมสถานประกอบการ “คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ตามแนวนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้รวมตัวและบูรณาการการทํางานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จํานวน 22 บริษัท ที่มีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกําลังการผลิต การลดนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนําความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตร รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านกําลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งผลกจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ก่อให้เกิดการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการนําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ได้แก่ 1. การดึงกลุ่มสถานประกอบการ ที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว เพื่อทราบถึงความต้องการ นำไปต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 2. การส่งเสริม และเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน 3. จัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ในด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิค เพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา 4. ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาดในช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและ การเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ "คลัสเตอร์" มีจํานวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จํานวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ต.ค. 2564
"ดีพร้อม" ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย สัมมนาออนไลน์ New OTAGAI Forum  สร้างการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม
"ดีพร้อม" ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย สัมมนาออนไลน์ New OTAGAI Forum สร้างการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพฯ 27 กันยายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด “โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้ ความร่วมมือ OTAGAI Concept (New OTAGAI Forum) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งไทยและญี่ปุ่น ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting New OTAGAI Forum คือ เวทีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละหน่วยงานต้องการผลักดัน ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบการจัดงานให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ เป็นการสร้างและขยายเครือข่ายหน่วยงานที่ทำการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งจากไทยและญี่ปุ่นให้มีความเข้มแข็ง โดยเวทีดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานได้ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มาตรการ นโยบายต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและต้องการที่จะผลักดัน ตลอดจนความเคลื่อนไหว แนวโน้มหรือทิศทางความต้องการของผู้ประกอบการในเครือข่ายให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดสากลและต่อยอดสู่การจับคู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศให้สามารถก้าวหน้าต่อไป โดยกิจกรรมในวันนี้ ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ จากไทยและญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นโยบาย และมาตรการการต่าง ๆ ที่หน่วยงานให้ความสนใจ และต้องการผลักดัน และแนะนำผู้ประกอบการญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ที่ต้องการร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยทั้งในส่วนของการผลิตและการตลาด เช่น การรีไซเคิลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยก๊าซมีเทนจากอินทรีย์วัตถุและน้ำทิ้ง การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานในพิธีให้เกียรติกล่าวปิดกิจกรรม ดังกล่าว### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
28 ก.ย. 2564