โทรศัพท์ 1358
ดีพร้อม เร่งติดอาวุธดิจิทัล SMEs เสริมแกร่งสู่ความยั่งยืน
ดีพร้อม เร่งติดอาวุธดิจิทัล SMEs เสริมแกร่งสู่ความยั่งยืน
กรุงเทพฯ 9 ธันวาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ โดยมี นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม กล่าวรายงาน ทั้งนี้ จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting กิจกรรมการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ จัดขึ้นภายใต้ โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล มีเป้าหมายในการส่งเสริม พัฒนา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ให้นำความรู้และแนวคิดของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อตอบรับกับผลกระทบจาก Digital Disruption และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมนมนาในครั้งนี้ไม่น้อยกว่า 200 ราย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม ปูแนวทางการทำงาน ผลักดันผลผลิตโครงการ/กิจกรรม ปีงบฯ 65 ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน
ดีพร้อม ปูแนวทางการทำงาน ผลักดันผลผลิตโครงการ/กิจกรรม ปีงบฯ 65 ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน
กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ (8 ธันวาคม 2564) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานการประชุมรับฟังการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทต่าง ๆ ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กสอ. กล่าวเกริ่นนำภาพรวม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคร่วมกันนำเสนอวิธีการทำงานภายใต้กรอบเป้าหมายผลผลิต และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงาน กสอ. เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สอดรับและตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วน โดยแต่ละหน่วยงานได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินงาน เป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ ในโครงการ/กิจกรรมของ กสอ. สู่โมเดลหรือรูปแบบการดำเนินการใหม่ ๆ ในอนาคตต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
09 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นำทีม 3 ทหารเสือดีพร้อม ร่วมงานแถลงข่าว งานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564
“อธิบดีณัฐพล” นำทีม 3 ทหารเสือดีพร้อม ร่วมงานแถลงข่าว งานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564
กรุงเทพฯ 8 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เข้าร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 (The Prime Minister's Industry Award 2021) โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการแถลงข่าวครั้งนี้ ร่วมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 (The Prime Minister's Industry Award 2021) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา จนถึงวันนี้นับเป็นปีที่ 29 โดยนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัล เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับ ที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้านตามประเภทรางวัลที่กำหนด ทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าได้ในตลาดโลก โดยที่ผ่านมามีสถานประกอบการได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ แล้ว จำนวน 997 บริษัท สำหรับรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 ในปีนี้ มีจำนวน 15 ประเภทรางวัล โดยมีสถานประกอบการสมัครเข้ารับการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น 332 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 6 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทั้ง 14 ประเภท รวม 326 ราย ซึ่งทุกรายผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะทำงานแต่ละประเภทรางวัลอย่างเข้มข้น โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต้องผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละด้าน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่น วิริยะอุตสาหะ ในการพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 63 ราย ได้แก่ รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล และมีความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการลงทุน มีการนำความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของตนเองและสามารถสร้างการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวมได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดการมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 ในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก โดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” ดีพร้อม ร่วมปลูกต้นไม้ของพ่อทำความดีด้วยหัวใจ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
“อธิบดีณัฐพล” ดีพร้อม ร่วมปลูกต้นไม้ของพ่อทำความดีด้วยหัวใจ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
กรุงเทพฯ 3 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ร่วมกิจกรรมจิตอาสาสาธารณประโยชน์ “รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต” ณ บริเวณหน้าห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร กสอ. พระรามที่ 6 ราชเทวี โดยกิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อมจัดขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นผู้สถิตในดวงใจของอาณาประชาราษฎร์ โดยดีพร้อม ได้จัดให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นดาวเรือง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำพระองค์และปรับปรุงภูมิทัศน์รอบอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อันเป็นการแสดงถึงการน้อมนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยการทำความดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ การปลูกดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำพระองค์ เนื่องด้วยดอกดาวเรืองมีสีเหลืองอร่ามตรงกับ “วันจันทร์” ซึ่งเป็นวันประสูติของพระองค์ จึงเปรียบเหมือนพระจริยวัตรที่งดงามของพระองค์ ที่เรียบง่าย และพอเพียง แต่ทรงคำนึงถึงการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ อีกทั้ง ทรงบำเพ็ญแต่ความดีงามประทับไว้ในใจคนไทยตราบเท่านาน นอกจากนี้ คณะผู้บริหารดีพร้อม ยังได้นำดอกดาวเรืองที่ร่วมกันปลูกไปจัดวางบริเวณหน้าอาคาร กสอ. เพื่อเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบของอาคารสำนักงานอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
03 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นำทีม 3 ขุนพล ร่วมกิจกรรมจิตอาสาสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ (5 ธันวาคม 2564)
“อธิบดีณัฐพล” นำทีม 3 ขุนพล ร่วมกิจกรรมจิตอาสาสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ (5 ธันวาคม 2564)
กรุงเทพฯ 2 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมจิตอาสาสาธารณประโยชน์ “ชุมชน วัด โรงเรียน รอบกระทรวงอุตสาหกรรม ปลอดเชื้อ COVID-19” โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานจัดกิจกรรมฯ ร่วมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ นางวรวรรณ ชิตอรุณ นายจุลพงษ์ ทวีศรี นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารของกระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 ราชเทวี โดยกิจกรรมดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมจัดขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ (5 ธันวาคม 2564) โดยได้มีการมอบชุดวัสดุป้องกัน COVID-19 ประกอบด้วย หน้ากากอนามัยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค และชุดตรวจ COVID-19 ให้กับประชาชนในชุมชน วัดและโรงเรียนโดยรอบกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ ชุมชนวัดมะกอก ชนวัดมะกอกส่วนหน้า ชุมชนกลางสวน ชุมชนสุขสวัสดิ์ ชุมชนวัดมะกอกสวนหลัง (ตรอกแขก) และโรงเรียนสวนมิสกวัน ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
02 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม แท็กทีม รับฟังผลการประเมินความคุ้มค่าตามภารกิจ พร้อมเตรียมกำลังพลอัพเกรดการทำงานปี 65
ดีพร้อม แท็กทีม รับฟังผลการประเมินความคุ้มค่าตามภารกิจ พร้อมเตรียมกำลังพลอัพเกรดการทำงานปี 65
กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ (1 ธันวาคม 2564) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของดีพร้อม และทีมที่ปรึกษา บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าร่วมประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงการดำเนินงานให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ซึ่งผลลัพธ์เป็นได้ทั้งผลสำเร็จและผลกระทบทางลบ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และประเมินผลปัจจัยที่ทำให้เกิดความคุ้มค่า ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของงาน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถนำไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้อย่างคุ้มค่าต่อไป โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของดีพร้อม ได้รับฟังสรุปผลการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมทั้งข้อเสนอแนะจากทีมที่ปรึกษา ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินงานของดีพร้อมมีการพัฒนาผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ โดยสะท้อน Life Cycle ของวัฏจักรธุรกิจ 5 ระยะ โดยเน้นจุดเด่นด้านการพัฒนาผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ด้านระบบโลจิสติกส์ และด้านระบบ Ecosystem เข้ามาใช้ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกันกัน การพัฒนาผู้ประกอบการในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดีพร้อม ที่ผ่านมายังมีความหลากหลายมากไป ควรที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สอดรับกับเรื่อง BCG เพื่อเป็นจุดแข็งในการให้บริการผู้ประกอบการในอนาคตต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
02 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมประชุมแนวทางการติดตามผลงบฯ ปี 65 พร้อมมอบนโยบายการจัดทำคำของบฯ ปี 66
“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมประชุมแนวทางการติดตามผลงบฯ ปี 65 พร้อมมอบนโยบายการจัดทำคำของบฯ ปี 66
กรุงเทพฯ 30 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมอบนโยบายการจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้กล่าวรายงาน และในโอกาสนี้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีแก่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ในโอกาสได้รับตำแหน่ง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคาร กสอ. และผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารได้มอบนโยบายในการส่งเสริมพัฒนากลุ่มเป้าหมายไปสู่ทิศทางที่หลากหลาย ตั้งแต่ การนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบออโตเมชั่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งต่อ Big Brother เพื่อต่อยอดการผลิต การพัฒนา Merchandiser สร้างเครือข่ายตลาดในประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งสินค้าท้องถิ่น ขยายผลโลจิสติกส์โดยใช้เงินทุน (DIProm Pay) เพื่อต่อยอดการทำ Warehouse การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม การสร้างแพลตฟอร์มรองรับอุตสาหกรรมด้านการแปรรูปอาหาร (Future Food และ Functional Food) ซึ่งถือเป็น First S-curve นำร่องผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมเน้นการพัฒนาบุคลากรดีพร้อมให้มีทักษะ (Skill) ในด้านต่างๆ ให้เพิ่มขึ้น โดยใช้หลักสูตรทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยให้นำผลจากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 5 พื้นที่คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และ ภาคใต้ เกิดเป็นภาพรวมความต้องการหลัก ๆ ดังนี้ แหล่งเงินทุน 31% การตลาด 29% ด้านระบบนิเวศน์ 14% ด้านการอบรมฝึกทักษะ 13% ด้านการให้คำปรึกษา 9% และ ด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย 4% มาใช้วิเคราะห์และประมวลผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของดีพร้อมในอนาคต พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการติดตามและรายงานผล ปีงบประมาณ 2565 คือ 1. ผลการดำเนินโครงการของ กสอ. 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจและความคุ้มค่าของโครงการ 3. ผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และ ผลการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และ กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ ยังได้จัด workshop การใช้งานระบบแผนงานงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปีในส่วนของการบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 และ บันทึกคำของบฯประจำปีงบประมาณ 2566 ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 ธ.ค. 2564
ดีพร้อมหนุนนโยบายเปิดประเทศ อัพเกรดผลผลิตเกษตร - เพิ่มมูลค่ากาแฟภาคเหนือตอนบน พร้อมปั้น “แลนด์มาร์คอาราบิก้า”
ดีพร้อมหนุนนโยบายเปิดประเทศ อัพเกรดผลผลิตเกษตร - เพิ่มมูลค่ากาแฟภาคเหนือตอนบน พร้อมปั้น “แลนด์มาร์คอาราบิก้า”
จ.เชียงราย 26 พฤจิกายน 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟขานรับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมในการยกระดับกาแฟอาราบิก้าอย่างครบวงจร ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย และคณะจากอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย โดยมี จีรศักดิ์ จูเปาะ ผู้บริหาร บริษัท หญ่าโย ดีซี จำกัด ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท หญ่าโย ดีซี จำกัด ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลา 6 ปี เป็นผู้ปลูกกาแฟโดยมีพื้นที่ปลูกที่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย และเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟดิบหรือสารกาแฟ โดยใช้กระบวนการผลิตแบบเปียก หรือ Wet Process โดยสามารถทำผลผลิตได้ 5 ตันต่อเดือน แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้ยอดสั่งลดลง จึงได้ริเริ่มการพัฒนากาแฟชนิดพิเศษ เพื่อเพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟ ปัจจุบันได้จัดตั้งโรงคั่วเมล็ดกาแฟซึ่งผ่านการตรวจมาตรฐานและได้รับเลขสาระบบอาหาร (เลข อย.) นอกจากนี้ ยังจัดทำร้านคาเฟ่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “YAYO COFFEE” เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการกับทางดีพร้อมในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟ ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทำให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟเมล็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงอัตลักษณ์ของกาแฟชนิดพิเศษ ได้รับการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟ จากแหล่งปลูกที่มีความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านกลิ่นรสชาติ และลักษณะปรากฎเฉพาะของกาแฟ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ แบบครบวงจร จนสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลภายใต้ภาพลักษณ์กาแฟไทย ในเวลาต่อมาอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม บริษัท เดอะ คอฟฟี่ แฟ็คทอรี่ จำกัด โดยมีนางสาวปิยะดา คำก้อน กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ บริษัทดังกล่าวดำเนินการธุรกิจกาแฟทั้งในรูปแบบของร้านกาแฟและมีโรงงานแปรรูปที่ครบวงจร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลทั้ง GMP CODEX, HACCP CODEX และ FDA ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมทั้งรับให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในปัจจุบันนั้นมีทั้งกาแฟสาร และคั่วเมล็ดกาแฟพร้อมบรรจุซอง” โดยหลังจากทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟเพื่อเพิ่มมูลค่า เกิดผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1. Coffee Concentrate Espresso ผลิตภัณฑ์กาแฟเข้มข้น ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่รักการดื่มกาแฟ บริโภคสะดวก เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์กาแฟให้มีความหลากหลายมากขึ้น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ผู้ประกอบการดำเนินกิจการที่มีเพียงเมล็ดกาแฟคั่ว และสารกาแฟ เป็นหลัก ซึ่งผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษานาน 6 เดือน 2. ด้านบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวความคิด “ผลิตภัณฑ์กาแฟเข้มข้น” บรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกทนความร้อน ขนาด 220 มิลลิลิตร ออกแบบฉลากโดยใช้โทนสีขาว สบายตา โดยชื่อของผลิตภัณฑ์มีขนาดใหญ่วางอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นที่จดจำ ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เดินหน้ายกระดับกาแฟอาราบิก้าแบบครบวงจรมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 ภายใต้อัตลักษณ์กาแฟภาคเหนือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีคุณภาพและทำให้ภาคเหนือตอนบนเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟที่มีชื่อเสียง และได้ผลักดันทักษะของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟในภาคการผลิตและภาคบริการให้ก้าวสู่ทิศทางที่ดีขึ้น นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของตลาดกาแฟของภาคเหนือตอนบน เติบโตมากขึ้นถึง 5,000 ล้านบาท และเมื่อศึกษาภาพรวมในตลาดกาแฟซึ่งพบว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ จึงได้มีแนวทางเพิ่มโอกาสการเติบโตของผู้ผลิตกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือผ่านโครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ ด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้ 1. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านกลิ่น รสชาติ และลักษณะปรากฎเฉพาะของกาแฟ 2. ส่งเสริมกระบวนการคั่ว มุ่งลดปัญหาและสร้างมาตรฐานการกำจัดของเสียจากการแปรรูปกาแฟ 3.ยกระดับธุรกิจผ่านแนวทางการเกษตรสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดันกาแฟในแต่ละดอยมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเอง รวมถึงปรับบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการขนส่ง 4. เพิ่มโอกาสในการขยายตลาด ด้วยการผลักดันให้กาแฟแต่ละแหล่งเพาะปลูกมีโอกาสเข้าถึงช่องทางการค้าออนไลน์ พร้อมทั้งส่งเสริมการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตร 5. การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมกาแฟผ่านคลัสเตอร์ (Cluster) และ 6. การส่งเสริมธุรกิจกาแฟของภาคเหนือตอนบนผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์พัฒนาและทดสอบอัตลักษณ์กาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ (Northern Boutique Arabica Coffee Center : NBACC) ของดีพร้อม ทั้งนี้ ในปี 2565 ดีพร้อม ได้วางแนวทางผลักดันให้ผลผลิตจากเกษตรกร-ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาคุณภาพและรสชาติ ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การผลิตและเพาะปลูกบนดอยรวมกว่า 20 แห่ง ซึ่งจะพัฒนาทั้งพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่เหมาะสมกับแต่ละลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์กาแฟ และยกระดับศักยภาพให้เป็นพื้นที่สำคัญของการเพาะปลูก - การแปรรูปในระดับสากลต่อไป
30 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
กรุงเทพฯ 23 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมหารือ ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคณะผู้บริหารสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อน SMEs และทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ พร้อมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมไปถึงการบูรณาการงานร่วมกันในอนาคต โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะดีพร้อม ได้รับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะจากทางสมาพันธ์ฯ โดย ประธานสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง ทิศทางการพัฒนาประเทศของมหาอำนาจอย่างประเทศจีนในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้ นโยบาย MADE IN CHINA 2025 : Dual Circulation หรือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนานป็นแผนการพัฒนาให้ความสำคัญกับหลักการ ‘การหมุนเวียนภายในประเทศ (Internal Circulation)’ เพื่อเพิ่มความต้องการของคนในประเทศ และลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศเป็นแกนหลัก ในขณะเดียวกันจะต้องมีการหมุนเวียนภายนอกประเทศ (External Circulation)’ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออก โดยเป้าหมายในระยะยาวจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความต้องการการบริโภคภายในประเทศ และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาความต้องการจากต่างประเทศ ขณะที่สถานการณ์ SMEs ของไทยในปัจจุบันอยู่ในภาคการค้าและการบริการ โดย SMEs ส่วนใหญ่ของประเทศเป็น Micro SMEs ซึ่งมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก พบว่า SMEs มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก สำหรับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของ SMEs กลุ่มนี้คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการดำเนินธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of doing Business) รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาของภาครัฐที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณทำให้กระจายความช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึง สำหรับอุปสรรค (Pain Point) ในการพัฒนา SMEs จากมุมมองของสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง การพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ Financial Scale Up และ Development Service ซึ่งในแต่ละด้านยังขาดความเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน หากทั้ง 3 ด้านมีการบูรณาการงานภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานร่วมกันจะขับเคลื่อน MSMEs ให้เติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ สมาพันธ์ฯ ยังได้สะท้อนความต้องการในการจัดตั้ง 3 กองทุน อันเนื่องมาจากข้อมูลที่จะสะท้อนถึงศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ MSMEs เมื่อเทียบ 100 ราย พบว่าเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสามารถผ่านเงื่อนไข หรือ การอนุมัติสินเชื่อเพียง 30% อีก 70% เป็นกลุ่มที่ขาดคุณสมบัติ หรือเป็น NPL สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของกองทุน (1) กองทุนนวัตกรรม MSMEs เป็นกองทุนที่จะมุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน องค์ความรู้ ตลาด สิทธิประโยชน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (2) กองทุนพัฒนา MSMEs เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน (3) กองทุนพัฒนา NPLs MSMEsคือกลุ่มที่มีหนี้ NPL รวมถึงหนี้นอกระบบ ให้มีโอกาสไปต่อ แข็งแรงขึ้น โดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐเป็นผู้ดูแล สำหรับปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีปัญหาด้านแรงงานที่ตกงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ผกผันในสังคมปัจจุบัน กรณีขาดแคลนแรงงาน สมาพันธ์ฯ ได้เสนอ Thailand e-Job Platform เพื่อลดการว่างงาน เพิ่มการจ้างงาน พัฒนาทุนมนุษย์ โดยองค์ประกอบหลักของแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเรื่องของการสรรหาคนเพื่อเข้าสู่การเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม แรงงานฝีมือ นักเรียนนักศึกษาที่จบใหม่ หรือการพัฒนาบ่มเพาะเพิ่มขีดความสามารถเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ MSMEs เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ปัจจุบันการสร้าง Ecosystem Economy Innovation เป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นพลังในการลดต้นทุนส่วนเกิน สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจ สมาพันธ์ฯ มีแนวทางการดำเนินงาน “อยู่รอด อยู่เป็น อยู่เย็น อยู่ยาว” สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่ควรสนับสนุน โดยใช้ Customized Function ในการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Function Food) มีมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูง อุตสาหกรรมการค้าปลีกการพัฒนาหรือนำระบบ Point of Sales (POS) เพื่อ tracking or modify ธุรกิจให้เติบโต แต่ยังคงติดกับดักด้านการลงทุน/เงินทุน สมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง 3K : Knowledge / Know How / Know Who เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน และโอกาสสำคัญคู่กับความรู้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว SMEs อาจฉกฉวยโอกาส สร้างความแตกต่าง ลดต้นทุนในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้าน Solar Farm Energy ที่ยังรอการสนับสนุนจากภาครัฐ และประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของโลกอย่าง Metaverse ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกธุรกิจ เปลี่ยนวิถีการท่องเที่ยวไปอย่างสิ้นเชิงในอนาคต สำหรับเทคโนโลยีในภาคการผลิต สะท้อนภาพในมุมของการพัฒนา Machine Data People ควบคู่กันไป ในส่วนของการพัฒนา Creative Content / Economy เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจสร้าง High Impact โดยสอดคล้องกับห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพัฒนา Start up ต้องการรับการสนับสนุนในส่วนของเงินทุนเป็นสำคัญ จากภาพสะท้อนของภาคเอกชนที่ส่งต่อมายังภาครัฐ ซึ่งดีพร้อมได้มีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับโจทย์ หรือความต้องการไม่ว่าจะในประเด็นของการพัฒนาด้าน Financial / non Finance อาทิ เงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ออกแพคเกจ “ดีพร้อมเปย์” เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีขีความสามารถซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมโครงการของดีพร้อมได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน Training Package ผ่านรูปแบบออนไลน์, การใช้ระบบ Automation / Ecosystem / กลไกของ ITC ที่ในอนาคตอันใกล้นี้จะใช้ Pilot Plant ให้กับ SMEs เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และ Matching กับ OEM ลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตและการประกอบธุรกิจ ให้ SMEs มุ่งเน้นการขายสินค้า สร้าง Return of Investment ได้อย่างรวดเร็ว / Big Data โดยดีพร้อมได้ใช้ iSingle Form เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการเพื่อ Tracking Progress เพื่อแนะนำการพัฒนาที่เหมาะสมในระยะต่อไป ซึ่งหากทั้ง สมาพันธ์ฯ และ ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการงานร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ หารือแนวทางนำร่อง แพ็คเกจ “ดีพร้อม-เปย์” 3-3-5 กว่า 30 ล้านบาท
“อธิบดีณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ หารือแนวทางนำร่อง แพ็คเกจ “ดีพร้อม-เปย์” 3-3-5 กว่า 30 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 23 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย “แนวทางการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น3 กสอ. โดย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเปย์ (DIProm Pay) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ดีพร้อม โดยกำหนดกรอบวงเงินอนุมัติสูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเริ่มต้น 3% ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 ปี เป็นโครงการที่มีป้าประสงค์ในการดำเนินการ คือ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและมีความพร้อมจะฟื้นฟูกิจการอีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) คลี่คลาย เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการช่วยเหลือและการสนับสนุนผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในการหมุนเวียนกิจการ และต่อยอดธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และสตาร์ทอัพ ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ ตามเป้าหมายที่วางไว้ 30 ราย นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางให้ กองฯ และ ศูนย์ภาคฯ ดำเนินการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างเข้มแข็งตลอดระยะเวลาการกู้ภายใน 3 ปีขึ้นไป### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 พ.ย. 2564