โทรศัพท์ 1358
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมเปิดงานสัมมนา “พัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายเพิ่มพลังงานชีวิต พิชิตความสำเร็จองค์กร” เพื่อตอบโจทย์ KPI การปฏิบัติงาน
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมเปิดงานสัมมนา “พัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายเพิ่มพลังงานชีวิต พิชิตความสำเร็จองค์กร” เพื่อตอบโจทย์ KPI การปฏิบัติงาน
จ.เพชรบุรี 26 ธันวาคม 2564 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายเพิ่มพลังงานชีวิต พิชิตความสำเร็จองค์กร” ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม จำนวน 35 คน โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสอ. กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม Sky View ชั้น 3 โรงแรมอีโค่ โคซี่ บีชฟร้อน รีสอร์ท อำเภอชะอำ การสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และสามารถดึงศักยภาพบุคลากรมาใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงสร้างความสามัคคีภายในหน่วยงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ เพื่อตอบโจทย์ KPI ให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสอ. มีภารกิจในการให้บริการ 2 ด้าน ได้แก่ 1. งาน Front Office เป็นการบริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center: SSRC) 2. งาน Back Office เป็นการให้บริการระบบงานต่างๆ ภายในดีพร้อม และระบบสำหรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการผ่าน Platform Ecosystem ทั้งนี้ กิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำเป็นจะต้องดำเนินการสำเร็จลุล่วงและเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม ร่วมหารือ บริษัท สื่อสากล จำกัด เพื่อจัดงาน "DIPROM MOTOR OUTLET"
ดีพร้อม ร่วมหารือ บริษัท สื่อสากล จำกัด เพื่อจัดงาน "DIPROM MOTOR OUTLET"
กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ (27 ธันวาคม 2564) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ประชุมหารือการจัดงาน "DIPROM MOTOR OUTLET" กับนายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และทีมงานผู้จัดงาน Motor Expo 2021 - มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 Thailand International ร่วมกับ นายอรรถวิท เตชะวิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ณ ห้องประชุม ชั้น 3 บริษัท สื่อสากล จำกัด ถนนรามคำแหง วังทองหลาง สำหรับการประชุมในวันนี้ เพื่อร่วมหารือกระบวนการเตรียมความพร้อมการจัดงาน "DIPROM MOTOR OUTLET" อาทิ ระยะเวลาการจัดงาน การวางแผนดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ความจุของพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการประชาสัมพันธ์และจัดงานแถลงข่าว ตลอดจนการเตรียมพิธีเปิดงาน เพื่อให้การจัดงาน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมแก่การจัดงานดังกล่าวต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม ติวเข้ม “ปลูกปั้น Channel” หนุนผู้ประกอบการตัวเล็ก สร้างอาชีพ สร้างรายได้
ดีพร้อม ติวเข้ม “ปลูกปั้น Channel” หนุนผู้ประกอบการตัวเล็ก สร้างอาชีพ สร้างรายได้
กรุงเทพฯ 24 ธันวาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกปั้น Channel ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และ ผู้ประกอบการ โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. กล่าวรายงาน ณ บริเวณหน้าห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร กสอ. พระรามที่ 6 ราชเทวี กิจกรรมปลูกปั้น Channel เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝึกอาชีพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับนักธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ที่สนใจในการทำธุรกิจ ด้วยโมเดลธุรกิจและต้นทุนการบริหารจัดการที่สามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับบุคลากรภาคอุตสาหกรรมและประชาชนที่อยู่ในสภาวะตกงาน โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 3,544 คน จากทั่วประเทศ โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งแนวคิดและแนวทางการประกอบอาชีพพร้อมวิดีโอแนะนำตัว มีผู้ผ่านเข้ารอบเป็น “นักธุรกิจปลูกปั้น 100 คน” พร้อมติวเข้มทั้งด้านวิชาการ และทักษะการทำธุรกิจ เช่น การทำธุรกิจในสถานการณ์จริง การเพิ่มเทคโนโลยีการผลิต มาตรฐาน การตลาด การบริหารจัดการการเงิน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนนำเสนอ ผลการขายและแผนธุรกิจต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และคัดเลือกสู่การเป็นนักธุรกิจปลูกปั้นดีเด่น โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 21 ราย โดยผู้ประกอบการจะได้รับการส่งเสริมด้านการตลาดให้สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ได้จริง โดยในพิธีฯ ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มอบประกาศนียบัตรแก่นักธุรกิจปลูกปั้นดีเด่นทั้ง 21 ราย และมอบเงินรางวัลให้กับนักธุรกิจปลูกปั้นดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท คุณมณฑิกา เทพกาญจนา (ธุรกิจแฟรนไชส์ชาปากยูน) อันดับที่ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท คุณสุภางค์ ขุนรา (ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชามหยุดไม่อยู่) อันดับที่ 3 เงินรางวัล 20,000 บาท คุณศิริพิศ เจตนาดี (หมูทอดจับกัง) ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม ร่วมอวยพรปีใหม่ 2565 รมว.สุริยะฯ
ดีพร้อม ร่วมอวยพรปีใหม่ 2565 รมว.สุริยะฯ
กรุงเทพฯ 24 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม เข้ามอบกระเช้าและอวยพรปีใหม่แด่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องในวารดิถีขึ้นปีใหม่ 2565 ณ กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม พาเหรดผู้ประกอบการ ร่วมจำหน่ายสินค้าราคาถูก ใน “มหกรรมของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม” คาดสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 12 ล้านบาท
ดีพร้อม พาเหรดผู้ประกอบการ ร่วมจำหน่ายสินค้าราคาถูก ใน “มหกรรมของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม” คาดสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 12 ล้านบาท
จ.ชลบุรี 23 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “มหกรรมของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม” โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน ร่วมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ (บริหาร) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายชัชพล อินทโฉม อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) บริเวณลานอเนกประสงค์ โลตัส สาขาอมตะนคร กิจกรรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดขึ้น โดยตั้งใจมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูก ลดค่าครองชีพให้กับประชาชน แบ่งเบาภาระ เพิ่มสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ ด้วยสินค้าดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน ในราคาต่ำกว่าทุน และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 70 ร้านค้า โดย ดีพร้อม ได้นำผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ตลอดจนสมุนไพรไทยจากผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในโครงการ "Farm to Factory" และ วิสาหกิจชุมชนที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 เข้าร่วมกว่า 40 ราย ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และทำให้เกิดการหมุนเวียนในเศรษฐกิจระบบต่อไป ทั้งนี้ จะมีการจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 23-26 ธันวาคม 2564 คาดว่าจะมีประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย ไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน และจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนตลอดการจัดงานประมาณ 12 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม จับมือ เดลต้า สนับสนุน Start up เร่งผลักดันสู่การแข่งขันในตลาดโลก "
ดีพร้อม จับมือ เดลต้า สนับสนุน Start up เร่งผลักดันสู่การแข่งขันในตลาดโลก "
กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร Business Camp ภายใต้กิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ หรือ Angel Fund ร่วมด้วย คณะผู้บริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยมี นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม กล่าวรายงาน ณ ห้อง Mayfair Ballroom C โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพฯ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการทุกระดับ ให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ๔.๐ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และก้าวทันกับเทคโนโลยี ในปัจจุบันซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการ Startup มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงเร่งดำเนินการส่งเสริมและพัฒนา Startup อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน ผ่านกระบวนการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการ (Incubation) ภายใต้กิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ หรือ Angel Fund ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับจัดกิจกรรม “Angel Fund” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน รวมระยะเวลา 7 ปี ถือเป็นโอกาสและช่องทางในการสนับสนุนผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ของ Startup ที่มุ่งตอบสนองต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการสนับสนุนให้ผู้มีแนวคิด หรือสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้สามารถ ต่อยอดการเริ่มต้นธุรกิจ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ได้ สำหรับการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565 มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนรวมกว่า 130 ทีม ผ่านการประชันแนวคิดทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง และทดสอบแล้วว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 46 ทีม ครอบคลุม 6 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ // การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ // หุ่นยนต์ // การแพทย์ครบวงจร // อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และดิจิตอล ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 46 ทีม จะได้รับการเติมเต็มองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ เสริมความรู้และสร้างจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ ในหลักสูตร Business camp จำนวน 7 วัน ได้แก่ หัวข้อ Business Model Blueprint // Value Proposition Canvas // Revenue Model // Financial Feasibility Canvas // Market Validation และ Perfect Your Pitch จากนั้นเข้าร่วมการฝึกทักษะการแก้โจทย์ให้กับภาคอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรม Hackathon จำนวน 3 วัน ก่อนเข้านำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุนเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนในกิจกรรม Pitching Day ซึ่งปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ล้านบาท เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้ รวมถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการบูรณาการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ Startup ต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ธ.ค. 2564
“รสอ.ภาสกร” นำทีมบุคลากรดีพร้อมยกระดับการปฏิบัติราชการสู่ระบบราชการ 4.0
“รสอ.ภาสกร” นำทีมบุคลากรดีพร้อมยกระดับการปฏิบัติราชการสู่ระบบราชการ 4.0
กรุงเทพฯ 21 ธันวาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และรายละเอียดการรับสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจําปี พ.ศ. 2565 ร่วมด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค จำนวนกว่า 170 คน โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคาร กสอ. และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อชี้แจงกรอบในการพัฒนาและยกระดับหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ซึ่งกำหนดให้ภาครัฐดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก (Better Governance, Happier Citizens) และเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรของดีพร้อมได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงาน และกรอบการประเมินสถานะองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมไปใช้ในการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้เป็นไปตามเกณฑ์ PMQA 4.0 ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการให้มีความรวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มุ่งสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชนเข้าทดสอบตลาด 70 ราย คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10 ลบ.
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชนเข้าทดสอบตลาด 70 ราย คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10 ลบ.
จ.นนทบุรี 20 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19” โดยมี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานในครั้งนี้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมงานโดยการนำผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมทดสอบตลาดในงานนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด สำหรับงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 จัดโดย กระทรวงมหาดไทย ภายใต้แนวคิด "ผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เศรษฐกิจไทยพ้นภัยโควิด” ซึ่งเป็นการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ระดับประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนท่องเที่ยวจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยภายในงานมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้ามากกว่า 2,000 บูธ ผลิตภัณฑ์ OTOP มากกว่า 20,000 รายการ ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ 1. การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว 2. การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP Classic 5 ประเภท 3. กิจกรรม Highlight งาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากศิลปิน OTOP ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดแสดง จำหน่ายผ้าถิ่นไทย เป็นต้น 4. การจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคีที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ร่วมกัน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด 5. การจัดการบริการ เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ธนาคารออมสิน การจัดพื้นที่ Rest Area เป็นต้น 6. การจัด OTOP ชวนชิมจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 26 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่ เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งตลอดการจัดงาน 9 วัน คาดว่าจะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมาของดีพร้อม อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ 3 กลุ่ม คือ หัตถศิลป์สยาม ไทยฮาร์ด และไทยดีดี รวมถึงการบริหารจัดการน้ำเสียจากการผลิต นอกจากนี้ ยังให้มีบูธของโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อให้บริการคำปรึกษาแนะนำในด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ และบูธของศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) ภายในงานนี้ รวมถึงการทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากดีพร้อม จำนวน 70 ราย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถศิลป์ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและรองเท้า ซึ่งคาดว่าตลอดการจัดงานในครั้งนี้ จะสามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการของดีพร้อมได้กว่า 10 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ธ.ค. 2564
“ดีพร้อม” ดันองค์กรร่วมมหกรรมคิวซีลดต้นทุนการผลิตกว่า 100 ล้านบาท พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่สากล
“ดีพร้อม” ดันองค์กรร่วมมหกรรมคิวซีลดต้นทุนการผลิตกว่า 100 ล้านบาท พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 4 ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการจัดงานสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคาร กสอ. ขณะเดียวกัน ยังจัดให้มีการนำเสนอผลงานคุณภาพในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting และ Facebook Live ทาง Page : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพทั้งภาคผลิตและภาคบริการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคการผลิตเพื่อลดต้นทุน ทำให้อุตสาหกรรมไทยอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้ในการเข้าสู่ยุค Next Normal ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทยรณรงค์มาตลอด ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นที่จะต้องบูรณาการและร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย ทั้งภาคผลิตและบริการสู่มาตรฐานสากลในด้านคุณภาพ ต้นทุน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้น ดีพร้อม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 35 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้นำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ หรือ คิวซี ไปปรับใช้ในองค์กรเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา จนนำมาสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลด้านบวก ในการช่วยลดต้นทุนและการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยสู่สากล นอกจากงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยแล้ว ยังได้ผนวกงานมหกรรมต่าง ๆ เข้ามาไว้ในงานเดียวกัน เพื่อให้การทำกิจกรรมคุณภาพในหน่วยงานแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพงานตลอดเวลา อีกทั้ง ยังเป็นการเผยแพร่และสนับสนุนกิจกรรมคุณภาพในทุก ๆ ภาคส่วน ทั้งการผลิตและการบริการ ตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มคุณภาพรุ่นใหม่ ๆ ได้มีเวทีสำหรับการเสนอผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันส่งกลุ่มคุณภาพเข้าร่วมเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting ซึ่งมีกลุ่มคิวซียอดเยี่ยมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้ว และร่วมเสนอผลงาน รวมทั้งสิ้น 60 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นภาคอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ภาครัฐวิสาหกิจ 8 กลุ่ม และกลุ่มคุณภาพข้ามสายงาน 2 กลุ่ม สำหรับในปีนี้ กลุ่มคุณภาพภาคโรงพยาบาลได้ขอยกเว้นไม่เข้าร่วมนำเสนอผลงาน เนื่องจากภารกิจที่ต้องให้บริการแก่ประชาชน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการของกลุ่มคุณภาพในปีที่ผ่านมาส่งผลให้หลายองค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรได้กว่า 10 ล้านบาท และบางองค์กร สามารถลดได้มากกว่า 100 ล้านบาท อาทิ กลุ่ม PTT Reimagination จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 254 ล้านบาท กลุ่ม Power Generation Improvement จาก บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 11 ล้านบาท กลุ่ม Well Done จาก บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 5 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาองค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
20 ธ.ค. 2564
“รสอ. ณัฏฐิญา” เตรียมความพร้อมร่วมจัดงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชน 70 ราย เข้าทดสอบตลาด คาดสร้างรายได้กว่า 10 ลบ.
“รสอ. ณัฏฐิญา” เตรียมความพร้อมร่วมจัดงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชน 70 ราย เข้าทดสอบตลาด คาดสร้างรายได้กว่า 10 ลบ.
จ.นนทบุรี 19 ธันวาคม 2564 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเตรียมความพร้อมสำหรับพิธีเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19” ในวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคมนี้ พร้อมทั้งให้กำลังใจบูธผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ที่เข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ในครั้งนี้ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 26 ธันวาคม 2564 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด สำหรับงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 จัดโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ภายใต้แนวคิด "ผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เศรษฐกิจไทยพ้นภัยโควิด" ซึ่งเป็นการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ระดับประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนท่องเที่ยวจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ 3 กลุ่ม คือ หัตถศิลป์สยาม ไทยฮาร์ด และไทยดีดี พร้อมทั้งการบริหารจัดการน้ำเสียจากการผลิต นอกจากนี้ ยังจัดให้มีบูธเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อให้บริการคำปรึกษาแนะนำในด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ และบูธของศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center: SSRC) ภายในงาน รวมถึงการทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากดีพร้อม จำนวน 70 ราย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถศิลป์ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและรองเท้า ซึ่งคาดว่าตลอด 9 วันของการจัดงานในครั้งนี้จะสามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการของดีพร้อมได้กว่า 10 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ธ.ค. 2564