ราชาฤกษ์ รสอ.วัชรุนฯ ลงนามปากกาเริ่มงานวันแรก พร้อมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ - 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.09 น. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กราบพระพุทธรูป และองค์พระนารายณ์ที่ประดิษฐานประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเข้าสักการะพระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
“รสอ.สุชาดา” ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร สสว. ครั้งที่ 6/2566
กรุงเทพฯ 18 พฤษภาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) เป็นผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 6/2566 ร่วมด้วย กรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมี นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นประธานการประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. การเพิ่มสัดส่วนงบประมาณการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2565 ที่ได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ (เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566) 2. ทบทวนกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบปี 2566 และรายงานผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปี 2565 3. การกำหนดนิยามวิสาหกิจขนากกลางและขนาดย่อมสตรี 4. ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่าด้วยสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่พนักงานและลูกจ้าง พร้อมรับทราบผลการประเมินการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2565 ผ่านกรอบหลักเกณฑ์การประเมินผล 6 ด้าน (ด้านการเงิน ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการปฏิบัติการ ด้านการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน ด้านการปฏิบัติงานของ คกก.บริหารทุนหมุนเวียน พนักงานและลูกจ้าง และด้านการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ/กระทรวงการคลัง) โดยด้านการเงิน ได้คะแนนประเมินอยู่ที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ เข้าเงื่อนไข “ต้องปรบปรุง/พัฒนา” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ(ร่าง)แผนปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานทุนหมุนเวียน เพื่อปรับปรุงระดับคะแนนเป็น 4 ในบัญชี 2566 - 2567 ต่อไป ##PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ผุดไอเดียพลิกฟื้น JBIC บ้านนาตีน จ.กระบี่ เน้นการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กระจายรายได้ให้ชุมชนสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
จ.กระบี่ 16 พฤษภาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ผู้บริหารจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังการดำเนินงานของศูนย์บริการย่อย (Mini DC 10) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัด 9 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง พัทลุง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง) และผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และมีนายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIProm Center 10) ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินการของศูนย์บริการย่อย Mini DC 10 ซึ่งเดิมเป็นศูนย์ JBIC บ้านนาตีน จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนาอาชีพของชุมชนตลาดนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีจุดเด่นในพื้นที่ คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิม ใกล้บริเวณหาดอ่าวนาง หาดนพรัตน์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ มีผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนจากผ้าบาติก กระเป๋า เสื้อผ้า ของฝากของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว ช้อน ทัพพี และเรือหัวโทงจำลอง ปัจจุบันมีแนวคิดในการขยายให้เป็นสำนักงานย่อยของศูนย์ DIPROM Center 10 เชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดนิทรรศการแสดงผลงาน เป็นสถานที่แสดงผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ท้องถิ่นและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ใช้เป็นห้องประชุมและ Coworking Space รองรับการประชุม พื้นที่ฝึกอบรม ลานอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมและออกร้านค้าชุมชน เป็นต้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายการพัฒนาศูนย์บริการย่อย Mini DC 10 ให้เป็นหน่วยบริการที่สามารถกระจายความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยในอนาคตควรมีการจัดทำเป็นแอปพลิเคชันที่เชื่อมโยงงานบริการต่าง ๆ ของหน่วยงาน และขยายจุดบริการไปยังจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนในด้านการพัฒนากลุ่ม JBIC บ้านนาตีนให้เกิดความยั่งยืน ควรเน้นการสร้างจุดเด่นและดึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อสร้างจุดขาย พร้อมการสร้างแบรนด์และการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและเกิดการจดจำ ขณะเดียวกันก็ให้มีการเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและกระจายรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำสินค้าไปจัดแสดงและวางจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ เช่น โรงแรมที่พักที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก รวมถึงการเชื่อมโยงกิจกรรม One Day Trip เพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาสัมผัสกับประสบการณ์การผลิตสินค้าของชุมชนในพื้นที่ โดยสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเป็นผู้ผลิตสินค้าและนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ รวมถึงการพัฒนาผลิตให้กับกลุ่มเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และการจัดกิจกรรม Event อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ ควรสร้างสรรค์กิจกรรมภายในศูนย์เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดฝึกอบรมและสัมมนาของหน่วยงานราชการต่าง ๆ อย่างไรก็ดีควรเชื่อมโยงกับ ธพว. ให้เข้ามาร่วมพัฒนากับ DIPROM Center 10 ทั้งในด้านระบบบัญชี การเติมทุน และการพัฒนาด้านการตลาดด้วย ส่วนในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม ควรขยายขอบข่ายการทำงานให้มากขึ้น ทั้งการกำกับดูแลมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. การมาตรฐานแห่งชาติ การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ โดยมอบหมายผู้ตรวจฯ ภาสกร วางแนวทางด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมของทุกจังหวัด ร่วมกับ กสอ. เช่น การจัดทำโครงการ MIND to Modern Trade การส่งเสริมสินค้าในชุมชนให้นำเข้าไปจำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น (7eleven) พร้อมทั้งเชื่อมโยงกลไกกองทุน SME ตามแนวประชารัฐ และ SME D Bank ด้วย ด้าน รปอ.ณัฏฐิญา ได้เน้นย้ำการสร้างแบรนด์ของชุมชนบ้านนาตีน ให้เกิดการรับรู้และสร้างความยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมการพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาให้มีความยั่งยืน มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้ศูนย์มีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านระบบบัญชี การบริหารงบประมาณ รวมถึงการเชิญชวน Big Brother หรือโรงงาน เพื่อเป็นพี่เลี้ยงเข้ามาสนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวทำให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียน ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย MIND ในมิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
18 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่สนับสนุนทักษะเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคม
จ.สุราษฎร์ธานี 16 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" และมอบเครื่องจักรเพื่อเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามกิจกรรม "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสายอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และได้มอบเครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกาะพยาม จังหวัดระนอง และ เครื่องปั่นผสมวัตถุดิบสมุนไพร ใช้สำหรับปั่นผสมวัตถุดิบสมุนไพรแบบอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการผสมวัตถุดิบสำหรับผลิตสบู่ ยาหม่อง ของวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพเกษตรกรและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีไม้พฤษณาเป็นส่วนผสม จังหวัดตรัง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถยกระดับการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้นต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" นำทัพดีพร้อมลงพื้นที่ประชุมผู้บริหาร (สัญจร) ครั้งที่ 80-5/2566
จ.สุราษฎร์ธานี 16 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 80-5/2566 ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม ได้แก่ 1. การเตรียมจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง 2. การกำหนดสถานที่ในการประชุมผู้บริหารดีพร้อมสัญจรในครั้งต่อ ๆ ไป 3. กิจกรรมรวมพลังจิตอาสา DIPROM Transformation Day ภายใต้โครงการปรับภูมิทัศน์ DIPROM Landmark พระราม 4 ในวันที่ 31 พ.ค.66 และ 4. การจัดกิจกรรม "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อย ได้ติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เงินกันเหลื่อมปี) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแนวทางการบริหารและใช้งานครุภัณฑ์และทรัพย์สินของราชการ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" นำทัพตรวจเยี่ยมดีพร้อมเซ็นเตอร์เมืองร้อยเกาะ มอบนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ "ดีพร้อม"
จ.สุราษฎร์ธานี 15 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการเจ้าหน้าที่ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 (DIPROM CENTER10) ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี คณะผู้บริหารได้เยี่ยมชมพื้นที่บริเวณโดยรอบของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานและแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบ โดยเน้นย้ำการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งพื้นที่ให้บริการให้มีความเหมาะสม คุ้มค่า พร้อมปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน โดยให้สอดคล้องกับภารกิจของ ดีพร้อม ที่จะยกระดับการส่งเสริมและให้บริการผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ค. 2566
ดีพร้อม ต่อยอดหลาดท่อมโรงสีสู่แหล่งเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรชั้นนำในประเทศไทย
จ.สุราษฎร์ธานี 15 พฤษภาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เยี่ยมชม บริษัท หลาดท่อมโรงสี จำกัด โดยมีคุณพิริยะ ธาณีรนานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ และคณะเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี บริษัท หลาดท่อมโรงสี จำกัด เป็นบริษัทแปรรูปสมุนไพรที่ให้ความสําคัญกับการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมโดยการผลักดันกระท่อมซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยไปสู่ตลาดโลก ที่ได้รับการส่งเสริมจากดีพร้อม ได้เข้าพัฒนาการทดสอบแปรรูปพืชกระท่อมในรูปแบบผงผ่านเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Dryer) และเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐาน GMP นอกจากนี้ บริษัท หลาดท่อมโรงสี จำกัด ยังประสานประโยชน์กับชุมชนตามโมเดลชุมชนดีพร้อมในการรับซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรในชุมชน ครอบคลุมกว่า 200 ครัวเรือน ตลอดจนภาคการผลิตและขนส่ง ทำให้เกิดการจ้างงานอีกกว่า 30 ครัวเรือน ในกระบวนการปลูก เก็บเกี่ยว ผลิตและขนส่ง ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึง ปลายน้ำทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้ชุมชน โดยคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 5 ล้านบาทต่อปี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ค. 2566
"ทีมดีพร้อม" เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
จ.สุราษฎร์ธานี 15 พฤษภาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่ "ดีพร้อม" ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดีพร้อม ได้ดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรตามแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมให้บุคลากรกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัย อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดให้กับวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เพื่อเป็นประโยชน์ สร้างบุญ สร้างกุศล เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมสืบต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่ผลักดันสินค้า GI ชุมชนดีพร้อมชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงันสู่ตลาดโลก
จ.สุราษฎร์ธานี 14 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายสฤษดิ์ โลติช่วง ประธานกลุ่มส่งเสริมอาชีพสวนมะพร้าวเกาะพะงัน วิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน ให้การต้อนรับ ณ ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน กลุ่มส่งเสริมอาชีพชมรมสวนมะพร้าวเกาะพะงันก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวได้รวมกลุ่มกันดำเนินกิจกรรม และต่อรองราคาให้กับสมาชิกผู้ปลูกมะพร้าว ต่อมาในปี 2554 ได้ขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน ต่อมาได้ขยายกิจการ ได้แก่ การแปรรูป การผลิตปุ๋ย การเพาะพันธุ์ พืช และจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตรต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันได้ยกระดับเป็นนิติบุคคลในชื่อบริษัท พะงัน โคโค่ กรุ๊ป จำกัด มีสมาชิก ทั้งหมด 74 ราย พื้นที่กว่า 640 ไร่ ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ออแกนิคไทยแลนด์ มาตรฐาน USDA มาตรฐานสินค้าของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปส่งเสริมกระบวนการขอมาตรฐาน GMP โรงงานแปรรูปมะพร้าว โดยเตรียมเชื่อมเครือข่ายโรงงาน OEM ที่มีมาตรฐานมาต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จนก่อให้เกิดปริมาณกำลังซื้อมะพร้าวและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนดีพร้อมในพื้นที่เกาะพะงันต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่ช่วยชุมชนเกาะพะงันผ่านโมเดลชุมชนดีพร้อมตามแนวทาง BCG Model
จ.สุราษฎร์ธานี 13 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เกาะพะงันเยี่ยมชมโรงแรมวรรณี โกลเด้น แซนด์ เกาะพะงัน (Vannee Golden Sands) พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางวรรณี ไทยพาณิชย์ เจ้าของโรงแรมวรรณี โกลเด้น แซนด์ เกาะพะงัน (Vannee Golden Sands) เจ้าของวิสาหกิจชุมชนเทพจักรพันธ์ธานี และอดีตนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะพะงัน ณ ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน โรงแรมวรรณี โกลเด้น แซนด์ เกาะพะงัน (Vannee Golden Sands) ในฐานะดีพร้อมฮีโร่ที่ได้เชื่อมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness) กับชุมชนเกาะพะงันผ่านโมเดลชุมชนดีพร้อม โดยการเชื่อมโยงกับชุมชนดีพร้อมอินโตฟาร์มในการนำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสานมาใช้ในโรงแรมทั้งหมดของเกาะพะงันตามแนวทาง BCG Model นอกจากนี้ ดีพร้อมยังต่อยอดวิสาหกิจชุมชนเทพจักรพันธ์ธานีด้วยพัฒนาผลผลิตการแปรรูปมะขามหวานในการขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การพัฒนาบุคลากรในการดำเนินจัดทำระบบมาตรฐานในองค์กร การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะขามไปสู่เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์มะขาม และการแปรรูปสู่มะขามผงเชิงพาณิชย์ ด้วยการใช้ระบบฆ่าเชื้อด้วยหมอนึ่ง (Autoclave) และระบบห้องเย็น (cold storage system) พร้อมทั้ง การเชื่อมโยงสู่แหล่งเงินทุนจาก SMED bank ในการขอสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมประมาณ 10 ล้านบาท ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนเทพจักรพันธ์ธานีสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่มะขามได้กว่า 40 ราย ในพื้นที่ 10,000 ไร่ต่อปี รวมทั้ง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 90% ตามนโยบาย ใช้ “หัว“ และ “ใจ” ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ของปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 พ.ค. 2566