“รสอ.วัชรุน” นั่งหัวโต๊ะชี้แจงหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2566 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 7 สิงหาคม 2566 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ตรวจประเมิน อุตสาหกรรมวิถีใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ กิจกรรมพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2566 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงหลักเกณฑ์ตรวจประเมิน ในการพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2566 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นหลักการพัฒนาอุตสาหกรรมวิถีใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ชุมชนรักโรงงาน โรงงานรักชุมชน มิติที่ 1 มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจขององค์กร ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจเชิงประจักษ์ มิติที่ 2 มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยการดำเนินกิจกรรมสอดรับกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน เพื่อดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 องค์กรมีการผลักดันการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนำแนวคิด BCG Economy Model มาประยุกต์ใช้เพื่อความยั่งยืน มิติที่ 4 สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้คนในชุมชนโดยรอบ กระจายรายได้ และส่งเสริมธุรกิจเพื่อชุมชน โดยที่ประชุมได้มีการรายงานถึงผลการดำเนินกิจกรรม และผลการรับสมัคร โดยมีบริษัทที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรอบที่ 1 จำนวน 10 บริษัท จากผู้สมัครทั้งสิ้น 21 บริษัท ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองฯ กำหนดแผนลงพื้นที่ตรวจประเมินทั้ง 10 บริษัท ณ สถานประกอบการต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ส.ค 2566
ดีพร้อม เดินหน้าคัดเลือก "อุตสาหกรรมยอดเยี่ยม" ปี 66
กรุงเทพฯ 7 สิงหาคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566 นำเสนอผลงานสถานประกอบการ พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง การประชุมครั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นชอบรายละเอียดในสัญญารักษาความลับและจรรยาบรรณและแบบแสดงความสัมพันธ์ที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ และรายงานการตรวจคุณสมบัติและข้อมูลของสถานประกอบการ พร้อมฟังการนำเสนอข้อมูลจากบริษัทที่เข้าร่วมประกวด เพื่อพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ กลยุทธ์และนโยบาย ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาอย่างยั่งยืน ฯลฯ อันสอดรับนโยบาย MIND 4 มิติ ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณจากนายกรัฐมนตรีต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์
08 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมหมู่บ้านซะซอม “แสงแรกแห่งสยาม”
จ.อุบลราชธานี 5 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและร่วมหารือแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ณ หมู่บ้านซะซอม “แสงแรกแห่งสยาม” พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายพินิจนันท์ ทองเสริม ประธานชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนบทซะซอมโฮมสเตย์ และสมาชิก ให้การต้อนรับ ณ หมู่บ้านซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม หมู่บ้านดังกล่าว เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภายใต้สโลแกน “ชุมชนชายขอบ พึ่งพาป่า ฮักแพงแบ่งปัน” ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวอีสาน ชุมชนซะซอมได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมีกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มกินข้าวเซาเฮือน กลุ่มฉางข้าว กลุ่มกองทุนร้านค้า กลุ่มป่าชุมชน กลุ่มทำหลา กลุ่มสมุนไพรเยาวชน กลุ่มทอผ้า กลุ่มไม้กวาด กลุ่มกลองยาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากฐานของทรัพยากรหรือต้นทุนของชุมชน ร่วมกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น นั่นคือการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติและผ้าฝ้ายทอมือที่มีลวดลายโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ นั่นคือ ลายแสงแรก และยังมีฐานแปรรูปข้าว การฝัดข้าวและตำข้าว โดยใช้อุปกรณ์แบบโบราณ และการทำความรู้จักกับสมุนไพรพื้นถิ่นชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแลนด์มาร์คน่าสนใจ เป็นประติมากรรมธรรมชาติจากหินทราย อาทิ เสาเฉลียง และโหง่นแต้ม รวมถึงศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ของฝากต่างๆ ทั้งนี้ หมู่บ้านดังกล่าวยังได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย (Homestay standard Thailand) มอก.เอส และความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสำหรับกิจการด้านการท่องเที่ยว (Amazing Thailand Safety and Health Administration : SHA) นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านดังกล่าวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการให้ความรู้ด้านการตลาดดิจิทัล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์สู่การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในอนาคตต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ “ความทรงจำ คาเฟ่”
จ.อุบลราชธานี 5 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ “ความทรงจำ คาเฟ่” พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ความทรงจำ คาเฟ่ อำเภอโขงเจียม “ความทรงจำ คาเฟ่” เป็นร้านกาแฟที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวได้เก็บเกี่ยวบรรยากาศในการย้อนความทรงจำถึงเรื่องราวดีๆ ที่ผ่านมาในอดีต คาเฟ่ แห่งนี้ตั้งอยู่ภายในที่พักบริเวณผาแต้ม & แก่งพิศมัย ริเวอร์ไซด์ ริมแม่น้ำโขง โดยเจ้าของกิจการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งมุ่งหวังที่จะให้ความสนับสนุนสังคมและชุมชนโดยรอบบริเวณที่ตั้งของกิจการ ให้เกิดการกระจายรายได้ เริ่มจากการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่ และสร้างจุดจำหน่ายสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ได้นำผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวที่มาแวะเวียนคาเฟ่แห่งนี้ ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดีพร้อม จะดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนสถานประกอบการ “ความทรงจำ คาเฟ่” ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมที่จะเป็นดีพร้อมฮีโร่ในอนาคต เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมชุมชนโดยรอบภายใต้ 7 กลไก ปั้นชุมชนดีพร้อม ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านกุ่ม
จ.อุบลราชธานี 4 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านกุ่ม พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านกุ่ม ได้รับการยอมรับว่าเป็นผ้าฝ้ายทอมือคุณภาพสูงและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ด้วยการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ อาทิ เส้นใยฝ้ายที่ปราศจากสารสังเคราะห์ สีย้อมผ้าจากพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ผสานกับกรรมวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จนเรียกได้ว่าเป็นผ้าทอที่รังสรรค์จากธรรมชาติทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนากี่ร้อยนิ้ว ซึ่งเป็นเครื่องทอผ้าพื้นบ้านที่พัฒนามาจากการทอผ้าโดยผูกด้ายเส้นยืนกับต้นไม้หรือเสาเรือน มาเป็นโครงสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังส่งเสริมและพัฒนากระบวนการทอผ้าให้แก่กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านกุ่ม จึงก่อให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชน ได้เห็นความสำคัญ มาร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ควบคู่ไปกับกรรมวิธีแบบดั้งเดิม และลดการใช้สารเคมีในชุมชนลง เพื่อให้ชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สืบทอดเป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่ตลาดต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" เชื่อมโยงดีพร้อมฮีโรสู่ชุมชนในจังหวัดอำนาจเจริญ
จ.อำนาจเจริญ 4 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมเครือข่ายชุมชนดีพร้อม บ้านห้วยร่องคำ พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ บ้านห้วยร่องคำ หมู่ 10 ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดีพร้อมฮีโร บริษัท นิยมฟู๊ดส์ จำกัด ได้ส่งเสริมให้ชุมชนมีการเพาะปลูกพืชสมุนไพร รับซื้อ และช่วยให้เกิดการแปรรูปสมุนไพร อาทิ ลูกประคบ ยาดม ยาหม่อง สเปรย์กันยุง และหมอนรองคอ เป็นต้น โดยมีพื้นที่การเพาะปลูกพืชสมุนไพร อาทิ ตะไคร้ ข่า ขมิ้น และพริก รวมทั้งสิ้น 220 ไร่ ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว ประกอบไปด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนบ้านห้วยร่องคำ วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกตะไคร้และผักปลอดสารพิษบ้านนาเยีย และเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชสมุนไพร นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้พัฒนาเครื่องหั่นสมุนไพร ที่ได้นำเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะมายกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการในชุมชนผ่านโครงการ คพอ.ดีพร้อม เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาศักยภาพและขยายฐานการรวมกลุ่มออกไปมากยิ่งขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" เยี่ยมชมโมเดลดีพร้อมฮีโร่ “พริกแกงท่านขุน”
จ.อำนาจเจริญ 4 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมโมเดลดีพร้อมฮีโร่ บริษัท นิยมฟู๊ดส์ จำกัด พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี คุณวรนิยม วงศ์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท นิยมฟู๊ดส์ จำกัด ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ บริษัทดังกล่าว เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพริกแกง แบรนด์ “ท่านขุน” ที่มีศักยภาพพร้อมให้ความช่วยเหลือชุมชน โดยได้ส่งเสริมให้ชุมชนมีการเพาะปลูกพืชสมุนไพร รวมทั้งรับซื้อ และช่วยให้เกิดกระบวนการแปรรูปสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 160 ครัวเรือน ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การนำดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านโครงการ คพอ.ดีพร้อม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้าในประเทศ และขยายช่องทางการขายไปสู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ ดีพร้อม จะเข้าไปสนับสนุนการต่อยอดธุรกิจและขยายขนาดโรงงานในอนาคตต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เมืองอุบลราชธานี ตรวจเยี่ยมศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7
จ.อุบลราชธานี 4 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามการดำเนินงานปี 2566 และเตรียมความพร้อมการขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2567 รวมถึงมีการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) โดยได้มอบเงินทุนหมุนเวียนฯ ให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 1 ราย ในวงเงิน 200,000 บาท นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อยฯ ยังเน้นย้ำให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ (กูรู) ภายในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืนภายในองค์กร ในระหว่างการตรวจเยี่ยมอาคารหอพัก ห้องแสดงผลิตภัณฑ์ DIPROM ITC DIPROM Thai-IDC และพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 อาทิ กาแฟ มะนาว และส้มโอ เป็นต้น ซึ่งทางศูนย์ฯ อยู่ระหว่างเตรียมแผนการปรับปรุงพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
ดีพร้อม ดัน Soft Power จัดงานเทศกาล DIPROM Fest พร้อมขนทัพอุตฯ สร้างสรรค์บุกย่านการค้าใจกลางเมือง
กรุงเทพฯ 4 สิงหาคม 2566 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานเทศกาล DIPROM Fest ร่วมด้วย นายธงชัย ตันติสาธิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารศูนย์การค้าเดอะ มาร์เก็ต แบงคอก นายเกียรติชัย ลิ่วเจริญกุล ผู้จัดการฝ่ายขายจากค่ายเพลง love is Entertainment และค่ายเพลง Marr นายเดียว วรตั้งตระกูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง one คุณตุ๊ก วิยะดา โกมารกุล ณ นคร (ศิลปิน/นักแสดง) คุณอั้ม ธันวา (นักบิน/เจ้าของแบรนด์แม่สลองครัวซอง) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน ณ ห้างสรรพสินค้า The Market Bangkok ราชดำริ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นการนำร่องการจัดงานเทศกาลที่สะท้อนความเป็น Soft Power ไทย และสอดรับกับนโยบายมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม 5F ของรัฐบาล โดยดีพร้อมได้ดึงเอา 4 ใน 5F มารวบรวมไว้ใจกลางกรุงในพื้นที่ราชดำริ ประกอบด้วย อาหาร (Food) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลและประเพณีสู่ระดับโลก (Festival) ซึ่งถือเป็นทำเลย่านการค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว นักช้อปทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มีกำลังซื้อ ซึ่งผู้ร่วมงานจะได้สัมผัสศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยที่นำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมมาต่อยอดในเชิงความคิดสร้างสรรค์ผ่านภาพสะท้อนของเมนูอาหารไทยต่าง ๆ การออกแบบเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ของใช้ ของตกแต่ง รวมถึงกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ภายในงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ 1) โซนกิจกรรมจัดจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการกว่า 30 บูธ 2) โซนกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาด้านออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ 3) โซนนิทรรศการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์นำร่องตามนโยบาย Soft Power และ 4) โซน Main Stage พบกับกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ อาทิ มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินค่าย LoveIs และ Marr สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของดีพร้อมที่มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยนำ Soft Power มาเป็นกลไกเพื่อผลักดันการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นการทดสอบตลาดและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในบริบทใหม่ ๆ ทั้งนี้ ตลอด 3 วันของการจัดงาน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 5 หมื่นราย และสร้างเม็ดเงินสะพัดภายในงานกว่า 5 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ส.ค 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการออกร้านในงานกาชาดร้านกระทรวงอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 3 สิงหาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้จากการออกร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในงานกาชาดประจำปี 2565 จำนวนทั้งสิ้น 6,007,896.46 บาท (หกล้านเจ็ดพันแปดร้อยเก้าสิบหกบาทสี่สิบหกสตางค์) โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ณ วังสระปทุม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมออกร้านในงานกาชาด ประจำปี 2565 ณ บริเวณสวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 8 – 18 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมรวมใจ ใต้ร่มพระบารมี สดุดี 90 พรรษา” เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ครบ 66 ปี และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย MIND ใช้หัวและใจปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน โดยภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดกิจกรรมการเล่นเกมส์กระสวยอวกาศเพื่อลุ้นโชครางวัลมากมาย รวมทั้งการจำหน่ายสลากกาชาดร้านกระทรวงอุตสาหกรรม อีกจำนวน 60,000 ใบ ในราคาใบละ 100 บาท ด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
04 ส.ค 2566