“พิมพ์ภัทรา” แอ่วเมืองเหนือ เยือนถิ่นล้านนา ลุยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างรายได้เพิ่ม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2567 ซึ่งก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมกิจกรรมของผู้ประกอบการชุมชนภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรรฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจําลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางนิภา รุกขมธร์ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงพื้นที่ และมีนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย นายสำรวย เข็มทองหลาง อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ นายพงษ์เกษม โพธิ์แก้วอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ให้การต้อนรับ โดยวันที่ 17 มีนาคม 2567 จุดแรกคณะฯ ได้เยี่ยมชมการดำเนินกิจการของชุมชนหมู่บ้านตีเหล็กบ้านร่องฟอง ตั้งอยู่ที่ศูนย์การแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน หมู่ 5 ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมตีเหล็ก และอุตสาหกรรมผ้ามัดย้อม มีจำนวนสมาชิก/พนักงาน ตีเหล็กประมาณ 800 ครัวเรือน ทำผ้าประมาณ 700 ครัวเรือน โดยมียอดขายปีล่าสุด ตีเหล็กประมาณ 20-30 ล้านบาท และผ้าประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการเกษตร ได้แก่ มีด เคียว จอบ เสียมพร้า ฯลฯ และผลิตภัณฑ์ชุดเสื้อผ้ามัดย้อม กางเกงขาก๊วยเสื้อผ้าแฟชั่น และเสื้อกันหนาว ทั้งนี้ หมู่บ้านตีเหล็กบ้านร่องฟอง ได้ขอรับการสนับสนุนแหล่งเงินทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ผลักดันการแก้ปัญหาผังเมืองจังหวัดเพื่อให้สามารถขยายกิจการโรงงานได้ โดยในปี 2567 กระทรวงอุตสาหกรรม จะเข้าไปส่งเสริม สนับสนับ ได้แก่ 1) การสนับสนุนเงินทุน โดย ธพว. และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เช่น โครงการสินเชื่อ BCG Loan, สินเชื่อ SME 3D, สินเชื่อ SME Refinance, สินเชื่อ SME Speed Up, สินเชื่อ Micro SME และสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดย กสอ. ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เดิมสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ของใช้บนโต๊ะอาหาร ชุดมีดทำครัว มีดเดินป่า ของใช้ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น 3) การผลักดันการแก้ไขปัญหาผังเมือง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขผังเมืองจังหวัดแก่คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างกระบวนการของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และกระทรวงอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาผังเมืองเชิงนโยบายในภาพรวมต่อไป จากนั้นได้ลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน หรือ โครงการ “แพร่-กระจาย” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมีกิจกรรมฝึกอบรมการทำตลาดออนไลน์ เช่น การสร้าง Story telling และเทคนิคการถ่ายภาพอย่างมืออาชีพ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกจากชิ้นส่วนไม้สักที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย และในช่วงบ่าย ได้เดินทางไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัด แพร่สักทองเฟอร์นิเจอร์ (ไทยแลนด์) ตั้งอยู่ที่ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ซึ่งประกอบกิจการเครื่องเรือนตกแต่งภายในอาคารจากไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้สักและผลิตภัณฑ์จากไม้สัก โดยผู้ประกอบการได้ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรมในด้านเงินทุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการลงทุนเครื่องจักร เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต การติดตั้งระบบ Solar Rooftop เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และการสนับสนุนการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต และในวันที่ 18 มีนาคม 2567 คณะฯ ได้เยี่ยมชมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ"การยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน" ณ ที่ทำการชมรมสตรีอำเภอร้องกวาง ตำบลทุ่งศรี จังหวัดแพร่ ในหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกตามแนวทาง BCG ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขี้เลื่อยไม้สัก เศษเหลือใช้วัสดุทางการเกษตร และถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวคิด BCG มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน และในจุดสุดท้ายได้เดินทางไปตรวจราชการวิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ ซึ่งประกอบกิจการสุรากลั่นชุมชน มีผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน สาโท ไวน์ ณ ห้องประชุมใหญ่ สุราสักทองแพร่ โดยได้ขอรับการสนับสนุนด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีศักยภาพ ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกจากน้ำเสีย และของเสียจากกระบวนการผลิต เช่น กากส่าเหล้า มูลของสุกร ตามความเหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมขอรับการสนับสนุนการสร้างแบรนด์และโฆษณาในพื้นที่ “ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบการ จะเป็นเรื่องของเงินทุน การขอรับการสนับสนุนการติดตั้งระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสนับสนุนปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต ซึ่งกระทรวงฯ พร้อมสนับสนุนเต็มที่ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ มีสินเชื่อสนับสนุนเงินทุน เช่น สินเชื่อ BCG โปรแกรมสินเชื่อสำหรับ SME และสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) ขณะเดียวกันกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรอ. ได้เสนอแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดชนิด หรือ ประเภทของโรงงาน เพื่อแก้ไขชนิดหรือประเภทของโรงงานให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา ไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งเตรียมผลักดันให้มีการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนจาก Solar Roof top ได้อีกด้วย ส่วนข้อเรียกร้องของผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้คำแนะนำในการขอการรับรอง มผช. และกำหนดมาตรฐานรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งให้ กรอ.สนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการผลิตผ่านโครงการ "เร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องจักรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" เพื่อเชิญชวนให้จดทะเบียนเครื่องจักรและให้คำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรให้กับสถานประกอบการ และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก โดย กสอ. มีแผนการดำเนินโครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วย การประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และส่งเสริมการสร้างแบรนด์ (Branding) และอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เพื่อสร้างตัวตนของแบรนด์ตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจ” สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.67) ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมมีโครงการตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดแพร่ ที่ขอรับการผลักดันจากกระทรวงฯ ในโครงการก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งประเทศไทย ในวงเงินงบประมาณ 270 ล้านบาท ในพื้นที่ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการในปี 2568 - 2571
20 มี.ค. 2024
“รสอ.ดวงดาว” ลงพื้นที่ส่งเสริม Soft Power ด้าน Fashion
จ.อุดรธานี - หนองบัวลำภู 18 มีนาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดําเนินงานส่งเสริมการผลิต และแปรรูปผ้าทอ เพื่อส่งเสริม Soft Power ด้าน Fashion ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 พร้อมด้วย นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ บริษัท เทวา อินเตอร์กรุ๊ป จํากัด (เทวาผ้าไทย) อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และร้านพะแพง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ผู้ประกอบการจากร้านเทวาผ้าไทย และร้านพะแพง ได้กล่าวขอบคุณทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ได้นำโครงการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมถึงยังมีการส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มี.ค. 2024
"รองอธิบดีดวงดาว" เยือนเมืองอารยธรรมห้าพันปีพร้อมถ่ายทอดนโยบาย RESHAPE THE FUTURE
จ.อุดรธานี 18 มีนาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (ศภ.4 กสอ.) พร้อมถ่ายทอดนโยบาย "RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต" พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายติณห์ เจริญใจ ผอ.ศภ.4 กสอ. นำเสนอข้อมูล และสรุปผลการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมหนองหาน ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ การดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ รวมถึงรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ การให้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ITC ,โครงการ BCG และการผลักดันส่งเสริมสนับสนุน “ไผ่” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปมูลค่าสูง นอกจากนี้ รสอ.ดวงดาวฯ ได้ถ่ายทอดนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต แก่เจ้าหน้าที่ ศภ.4 ไปดำเนินการภายใต้กลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ภายใต้แนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” และกล่าวให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่ ศภ.4 กสอ. ให้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน โดยใช้ความรู้และทักษะที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและชุมชนให้ได้ประโยชน์สูงสุด ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มี.ค. 2024
”ดีพร้อม“ เตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ตรวจราชการ ครม.สัญจร ครั้งที่ 2/2567 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
จ.แพร่ 16 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมขานรับนโยบายการตรวจราชการและ การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และ น่าน) ระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2567 ณ อาคารองค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น ดีพร้อมได้กำหนดนโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” ในการมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยการเปลี่ยนชุมชนให้ดีพร้อม จึงได้ดำเนินโครงการ “ยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน” ให้กับผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ทายาทวิสาหกิจชุมชน สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกษตรกร สมาชิกกลุ่มอาชีพ ราษฎร หรือผู้สนใจในพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “แพร่-กระจาย” ใน 3 มิติ ประกอบด้วย “กระจายโอกาส” เข้าถึงบริการของภาครัฐและทรัพยากรในชุมชน “กระจายความรู้” จากคนหนึ่งต่อยอดและขยายผลสู่อีกหลายคนในชุมชน และ “กระจายรายได้” สู่ชุมชน สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้พึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 มี.ค. 2024
”รสอ.ดวงดาว“ ประชุมเกณฑ์การตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ปี 67
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงรายละเอียดและเกณฑ์การตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 พร้อมด้วยคณะกรรมการการตัดสินการประกวดจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับเลือก ณ ห้องรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงรายละเอียดและเกณฑ์การตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 โดยมีหัวข้อหลัก ดังนี้ 1) แนะนำคณะกรรมการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 2) การนำเสนอหัวข้อการประกวด “วิถีไทย (Being Thai)" 3) ประเภทผลงานที่รับเข้าประกวด 4) หลักเกณฑ์ทั้ง 6 ด้านในการตัดสินการประกวด ประกอบไปด้วย ด้าน Innovation, ด้าน Functionality / Convenience, ด้าน Graphic Appeal, ด้าน Appropriateness and Efficiency Commercial, ด้าน Environmental Performance และ ด้าน Overall Impression 5) ขั้นตอนการสมัครและส่งผลงานเข้าประกวด 6) รางวัลและรางวัลพิเศษ (โหวต) 7) วิธีการลงคะแนน และ 8) กำหนดการจัดกิจกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 มี.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร" ร่วมประชุม คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายมนู เลียวไพโรจน์ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้ร่วมพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ ประกอบไปด้วย 1) ผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนมูลนิธิฯ 2) การแต่งตั้งผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อเป็นกรรมการมูลนิธิฯ ทดแทนรายชื่อกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ 3) กรอบการดำเนินโครงการ “การสร้างโอกาส และขยายช่องทางธุรกิจในต่างประเทศ” เพื่อส่งเสริมและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถขยายช่องทาง การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยมีตลาดเป้าหมาย คือ ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV 4) ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมขยายโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดสากล และการอบรมให้ความรู้ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ และ 5) แนวทางการดำเนินงานของมูลนิธิฯในปี พ.ศ.2567 ###PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 มี.ค. 2024
“รสอ.ดวงดาว” ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติครั้งที่ 3/2567 พร้อมด้วย คณะกรรมการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมี นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นประธานการประชุม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันหารือความคืบหน้าแนวทางการขับเคลื่อน Soft power ประเทศไทยในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) ความคืบหน้าการเปิดลงทะเบียนในระบบ OFOS (One Family One Soft Power) เพื่อเห็นชอบแผนการลงทะเบียน และให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแต่ละสาขาร่วมกันดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน และกระบวนการ upskill & reskill ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ 2) แผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนา Festival Economy ผ่านการยกระดับเป็น world class event โดยได้มีการรายงานความคืบหน้าของ 5 โครงการนำร่อง ดังนี้ โครงการการสร้างแบรนด์ให้กับเทศกาลไทยเพื่อยกระดับสู่เวทีโลก โครงการยกระดับมาตรฐานจัดเทศกาลให้ผู้นำท้องถิ่นที่จัด 50 เทศกาลที่ดีที่สุดของประเทศ โครงการ - World 100 Top Influencers Summit โครงการ Design Thinking 11 และ โครงการร่วมกับ UFI จัดโปรแกรมพิเศษเรื่อง AI, start ups และ IP ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 มี.ค. 2024
“ดีพร้อม” แท็คทีม “ไปรษณีย์ไทย” เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางบูรณาการความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในวันนี้ ได้ร่วมหารือ เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และภารกิจของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อหาแนวทางการบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการไทยร่วมกัน โดยมุ่งพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจ ผู้ประกอบการชุนชน ใช้จุดแข็งและทรัพยากรของทั้งสองหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ได้มากที่สุด ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาด ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ การพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ดึงดูด ได้มาตรฐานและตอบโจทย์การใช้งาน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ พัฒนาการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการร่วมไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจไทย ตลอดจนผู้ประกอกการชุมชนเติบโตได้อย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 มี.ค. 2024
ดีพร้อม หารือแนวทางการต่อยอดโครงการ Digital Transformation กับ สมาคม AOTS
กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมและหารือความคืบหน้าและแนวทางการต่อยอดโครงการ Digital Transformation กับนายทาเทอิชิ โจจิ กรรมการผู้จัดการอาวุโส ของสมาคม AOTS และคณะ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) สมาคม AOTS นับเป็นหน่วยงานพันธมิตรที่ดำเนินงานร่วมกับ ดีพร้อมมาเป็นเวลากว่าสิบปี ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ผ่านหลักสูตร Smart Monodzukuri Support Team System (SMST), Lean IoT Plant Management and Execution (LIPE), และ Lean Automation System Integrators (LASI) ซึ่งช่วยยกระดับองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ากับกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงยังมีความร่วมมือกัน ในโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมด้าน Digital Transformation (DXSP) เพื่อเป็นฐานข้อมูลของ Service Provider (SP) ศักยภาพสูง ที่ผ่านการอบรมใน 3 หลักสูตรตามข้างต้น ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทย เติบโตตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 สู่การเป็น Smart Factory อย่างเต็มรูปแบบ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป ทั้งนี้ ดีพร้อม และ สมาคม AOTS ยังได้วางเป้าหมาย ว่าจะร่วมกันผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation และก้าวต่อไปยัง Green Transformation และ Sustainable Transformation ในที่สุด ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 มี.ค. 2024
“อสอ.ภาสกร” เดินหน้าพัฒนา “ดีพร้อม” รับมือการเปลี่ยนแปลงโลกยุคดิจิทัล
กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานคณะทำงานฯ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในวันนี้ ได้แจ้งแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เรื่องการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล และเป็นการร่วมพิจารณาแนวทางการยกระดับคะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีการหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แผนพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล และพิจารณาแนวทางการจัดสรรครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 มี.ค. 2024