“อธิบดีภาสกร” พบ “NEDO” หารือความร่วมมือด้านพลังงาน
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าพบปะ หารือแนวทางความร่วมมือกับ New Energy and Industrial Technoloy Development Organization (NEDO) โดยมี Mr. Yoshinori FURUKAWA คณะผู้บริหาร NEDO ให้การต้อนรับ ณ NEDO office , MUZA Kawasaki Central Tower คานากาว่า ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ New Energy and Industrial Technoloy Development Organization (NEDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาแห่งชาติ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อสังคม สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานรูปแบบใหม่พร้อมกับการอนุรักษ์พลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงานละการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก โดยทั้งสองหน่วยงานได้หารือเกี่ยวกับการจัดสัมมนา Matching ระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ในประเด็นการอนุรักษ์พลังงานที่ NEDO ให้ทุนพัฒนาเทคโนโลยีในการอนุรักษ์พลังงานให้กับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนา Robot และ AI โดยการจัดสัมมนาร่วมกัน ซึ่งทาง NEDO จะศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการไทยต่อไปในอนาคต
20 พ.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” หารือความร่วมมือพัฒนา SMEs ไทย-ญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าพบปะ หารือแนวทางความร่วมมือกับ Tokyo SME Support Center โดยมี Mr.Mitsuru Nakanishi ผู้บริหาร Tokyo SME Support Center ให้การต้อนรับ ณ กรุงโตเกียว กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ Tokyo SME Support Center ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชน ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ SMEs ในโตเกียว สนับสนุน SMEs ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจให้สามารถเติบโตได้ โดยทั้งสองหน่วยงานได้หารือความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ Aging Society Climate change และ Global warming รวมถึงแนวทางการจัด Business Matching นอกจากนี้ Tokyo SME Support Center จะเข้าร่วมงาน Propak Asia ในช่วงเดือนมิถุนายน งาน Asia Sustainable Energy Week ในช่วงเดือนกรกฏาคม งาน Nippon Haku ในช่วงเดือนสิงหาคม และงาน Metalex ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567
20 พ.ค. 2024
"รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา" ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน พร้อมมอบนโยบาย ส่งเสริมอุตสาหกรรม SMEs ให้เติบโต ก้าวสู่สากล
จ.ระนอง 16 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 “การทำผ้ามัดย้อม (ย้อมเย็น)” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง อำเภอเมือง และหลักสูตรที่ 2 “การทำผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม” ณ อาคารอเนกประสงค์ (สระน้ำหนองใหญ่) หมู่ที่ 7 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นายโดม ถนอนบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วม โดยมี นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นายธนกร บริสุทธิญาณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชนให้การต้อนรับ การฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM : ดีพร้อม) ซึ่งเป็นผลจากการขับเคลื่อนนโยบาย มาสู่การปฏิบัติ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบและพั ฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผนวกกับวิถีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น นำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Soft power โดยจังหวัดระนอง มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรมีแหล่งน้ำแร่ร้อนที่มีคุณภาพ ทะเลที่สวยงามและสมบูรณ์สังคมที่น่าอยู่ และที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ซึ่งได้กำหนดนโยบายให้ทุกหน่วยงานกำกับให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก ไปสู่การเป็นประกอบการขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยการ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อขยายกิจการ (SME D BANK) การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และระบบบริหารจัดการ (สมอ.) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างโอกาส ที่ DIPROM ที่จะช่วยผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงอุตสาหกรรม จะสนับสนุนพี่น้องผู้ประกอบการในการวางรากฐาน ให้มีความสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง สอดรับกับกติกาใหม่ๆของโลก ที่สำคัญเพื่อเป็นการกระจายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและเมือง เพื่อกระจายประโยชน์จากความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่พี่น้องประชาชน และขยายผลไปในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ดีพร้อม ให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาล ในการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วด้วยการสร้างความเข้มแข็งมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และประชาชนในประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์เป็นองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรม และวิสาหกิจไทยให้เติบโตในเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง โดยการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศให้มีความเข้มแข็ง เติบโต และมีศักยภาพในการประกอบการธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
20 พ.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” เยี่ยมคารวะประธานคนใหม่ SMRJ
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) เข้าเยี่ยมคาระ แสดงความยินดีกับ Mr. MIYAGAWA Tadashi ประธานคนใหม่องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือในอนาคต โดยมี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ สำนักงานองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) กรุงโตเกียว กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าคารวะแสดงความยินดีกับ Mr. MIYAGAWA Tadashi ประธานคนใหม่องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้หารือแนวทางความร่วมมือให้สอดรับกับนโยบายของทั้งสองหน่วยงาน มุ่งเน้นเชื่อมโยงคู่ค้าและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs ไทย-ญี่ปุ่น พัฒนาอุตสาหกรรมของไทย-ญี่ปุ่น ให้เติบโตในเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง อีกทั้ง ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของ SMRJ ประจำการที่ Japan Desk ณ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ปฏิบัติหน้าที่ประสานงานหน่วยงานในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น มีแผนการจัดกิจกรรม CEO Business Matching 2024 ในช่วงเดือนกันยายน และ OTAGAI Friend Meeting ในปี 2025
20 พ.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” หารือความร่วมมือศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) หารือแนวทางความร่วมมือกับ Japan Material Flow Institute (JMFI) หรือศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่นโดยมี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ Mr. Hiroaki Matsukawa ประธานศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น Japan Material Flow Institute (JMFI) คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ Tokyo Ryutsu Center (TRC) กรุงโตเกียว ศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น มีเป้าหมายการดำเนินงานในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Supply Chain & Logistics) สร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันการศึกษา มีภารกิจในการวิจัย ศึกษา และฝึกอบรมหลักสูตรด้านโลจิสิตกส์ เผยแพร่องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนธันวาคม 2558 ณ Palace Minami Ikebukuro ชั้น 2 กรุงโตเกียว ปัจจุบันมีสมาชิก 140 กิจการ ดีพร้อม ได้หารือแนวทางความร่วมมือกับศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจ การจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในสาขาโลจิสติกส์อุตสาหกรรม การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ผ่านการอบรม สัมมนา การศึกษาวิจัยด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นวิทยากรให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทย
20 พ.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” นำผู้ประกอบการไทยเยือนญี่ปุ่น ร่วมงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมพิธีเปิดงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 พร้อมด้วย Mr. Jun Suzuki, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. Mr. Takeshi Nakano, Ministry of Economy, Trade, and Industry. Mr. Yoshihiro Kuraya, Ministry of Agriculture, Forestry & Fisheries. Mr. Katsuichi Iwakami, Independent Administrative Institution Japan External Trade Organization. และคณะ เข้าร่วม โดยมี Mr. Hiroaki Matsukawa ประธานศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น Japan Material Flow Institute (JMFI) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ณ Tokyo Ryutsu Center (TRC) กรุงโตเกียว งาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Logistics Innovation – The Good Neighbor Logistics in Asia เชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันกับประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และอาเซียน ภายในงานมีกิจกรรมสัมมนาและการอภิปราย การออกบูธนิทรรศการ 200 บูธ โดยดีพร้อมได้นำผู้ประกอบการต้นแบบร่วมออกบูธ 4 กิจการ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (LSP) 2 กิจการ คือ บริษัท ปลาวาฬโลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์ทรานส์ จำกัด กิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 1 กิจการ คือ บริษัท ซีเจ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กิจการบริการทำความสะอาดระบบขนส่งทางท่อ 1 กิจการ คือ บริษัท เคชั่น พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยได้สร้างโอกาสทางธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ได้คู่ค้าและกลุ่มลูกค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2024 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 20,000 คน
20 พ.ค. 2024
"รสอ.วัชรุน" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 เมืองสองแคว
จ.พิษณุโลก 16 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยมี นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมการะเวก ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก การประชุมดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 พร้อมยังกำชับให้มีการเร่งดำเนินการในงบประมาณ ปี พ.ศ.2567 (ส่วนที่เหลือ) โดยเร็ว พร้อมการรายงานแผนและผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่าย รวมทั้งหารือประเด็นแนวทางการพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้นำนโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” มาเชื่อมโยงสู่ภาคการปฏิบัติและสร้างสรรค์งานตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและสอดรับกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน
20 พ.ค. 2024
ที่ปรึกษาฯ ดนัยณัฏฐ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน”
จ.ระนอง 15 พฤษภาคม 2567นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นายโดม ถนอนบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายวัฒนา แก้วประจุ ผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางสาวอุรัชญา เมธานันท์ เลขานุการ นายก อบจ. นายสุมิตร รักษา เลขานุการ นายก อบจ.ระนอง นายพรเทพ ผ่องศรี ที่ปรึกษานายก อบจ.ระนอง นายวรชัย แก้วแสงทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารสํวนจังหวัดเขตอําเภอกะเปอร์ นายอมรพันธ์ ศรีรักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอกะเปอร์ นายสถาพร สิงห์แก้ว กำนันตำบลบ้านนา นายสวัสดิ์ สุดใจใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-8 ตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-7 ตำบลเชี่ยวเหลียง ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่ 6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ลงพื้นที่ดังกล่าว ดีพร้อมได้กำหนดหลักสูตร “การทำขนมโดนัท” รวมทั้งรวมกิจกรรมการทำโดนัท ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสสิ้น 150 คน โดยทำขนมโดนัท 2 รูปแบบ ได้แก่ โดนัทนมสด (คลุกน้ำตาล) และขนมโดนัทเค้ก (โดนัทลูกเกด/โดนัทฝอยทอง/โดนัทส้ม) โดยกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของสังคม และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย สร้างอาชีพให้ประชาชนที่สนใจ ตามแนวทางนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการ ยกระดับความสามารถสร้างการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน คาดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนได้กว่า 3 ล้านบาทต่อปี
19 พ.ค. 2024
ดีพร้อม ผนึกกำลัง กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ผลักดันผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกสู่เชิงพาณิชย์ หวังตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คาดสร้างโอกาสธุรกิจเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ
จ.เชียงใหม่ 15 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ภายใต้ โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) พร้อมด้วย นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ สตอรี่ปิงริเวอร์ (STORIES PING RIVER) กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม ได้ผนึกกำลังกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เดินหน้ายกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) สู่เชิงพาณิชย์ 15 ผลิตภัณฑ์/กิจการ ตอบโจทย์เทรนด์บริโภคของคนรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม คาดสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป ภายใต้แนวคิด “การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหาร” หวังยกระดับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่สู่การขับเคลื่อนและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือในอนาคต
19 พ.ค. 2024
“รสอ.วัชรุน” ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ เร่งพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล
กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมและบูรณาการอุตสาหกรรมและนวัตกรรมใหม่ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ในประเด็นเรื่อง “การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล” พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้แทนการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสถาบันอาหาร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ประธานอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 310 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา การประชุมดังกล่าว คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การผลักดันการเพิ่มหน่วยงานในการรับรองมาตรฐานฮาลาล 2) การดำเนินการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาการรับรองเครื่องหมายฮาลาล 3) การส่งเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจในตลาดที่ส่งออก 4) หารือแนวทางในการเพิ่มความเชื่อถือให้แก่ต่างชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า และติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งกรมฮาลาล 5) การดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อลดการใช้ LPG ในกระบวนการผลิตน้ำมันจากไม้กฤษณาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้กฤษณาบ้านตะคร้อใต้ ตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
19 พ.ค. 2024