โทรศัพท์ 1358

“อธิบดีณัฐพล” ลงพื้นที่เมืองย่าโม ตรวจเยี่ยมและมอบแนวทางการทำงานให้แก่ทีมดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6
จ.นครราชสีมา 24 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร. อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ห้องประชุม ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 อ.สูงเนิน ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 ได้ชี้แจงภาพรวมผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และการให้บริการต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมสถานประกอบการ 115 กิจการ พัฒนา 41 ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการรวมกลุ่มไม่ต่ำกว่า 3 กลุ่ม ผ่านการให้บริการของศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) ที่ให้บริการปรึกษาธุรกิจแบบครบวงจร โดยการวินิจฉัยโดยการวินิจฉัยสถานประกอบการ วิเคราะห์ปัญหา พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข โดยมีประชาชนเข้าขอรับบริการในด้านออกแบบตราสินค้า ด้านการเงินและสินเชื่อ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ตามลำดับ 2. ศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) 3. ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีพร้อม (DIPROM Thai-IDC ที่เป็นจุดให้บริการแก่ผู้ประกอบการภายใต้กิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเชื่อมโยงตลาดท่องเที่ยววิถีใหม่ กิจกรรมการให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ให้รองรับการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการเพื่อความยั่งยืนผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม กิจกรรมการส่งเสริม SMEs ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาตั้งแต่ การเพิ่มผลผลิต การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการลดต้นทุนด้านการผลิต อธิบดีณัฐพล และ รสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้รับฟังการนำเสนอฯ พร้อมกล่าวชื่นชมทั้งในส่วนของกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ตลอดจนสภาพภูมิทัศน์ของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 อีกทั้งยังมอบแนวทางการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ ในด้านของการพัฒนาศักยภาพ การสร้างมุมมองใหม่ๆในการทำงาน หาจุดแข็งเพื่อสร้างกลไกในการพัฒนาพื้นที่และปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ### PR@DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มิ.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ลงพื้นที่ขอนแก่น ตรวจเยี่ยมและมอบแนวทางการปฏิบัติงานแก่บุคลากรดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5
จ.ขอนแก่น 23 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 (DIPROM CENTER 5) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.อริยาพร อํานรรฆสรเดช ผู้อํานวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 (DIPROM CENTER 5) ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 อ.เมืองขอนแก่น ทีมดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 ได้นำเสนอภาพรวมผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และการให้บริการต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการ 135 กิจการ พัฒนา 41 ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการรวมกลุ่มไม่ต่ำกว่า 3 กลุ่ม และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ มะม่วงน้ำดอกไม้ผง (Mango Powder) ภายใต้โครงการ SMART PROJECT BY DIPROM CENTER 5 เพื่อต่อยอดให้มะม่วงตกเกรด กลับมาสร้างมูลค่าได้อีกครั้ง ซึ่งนอกจากเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรแล้วยังเป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ITC ได้อีกทางหนึ่ง โดยอธิบดีณัฐพล และ รสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้รับฟังการนำเสนอฯ พร้อมกล่าวชื่นชมการทำงานพร้อมมอบแนวทางการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 พร้อมกันนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีพร้อม หรือ ศูนย์ DIPROM Thai-IDC ห้องนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ บรรจุภัณฑ์ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ ศูนย์ DIPROM ITC ซึ่งมีบริการเครื่องจักรแปรรูปรองรับผู้ใช้บริการจำนวน 21 เครื่อง ตั้งแต่ปี 2561 - 2565 มีผู้มาใช้บริการไปแล้วเกือบ 2,000 ราย ซึ่งเครื่องจักรที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องอบแห้งระบบปั๊มความร้อน เครื่องบดสมุนไพร และ เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 มิ.ย. 2022
ดีพร้อม นำทีมผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรม
จ.ขอนแก่น 23 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ศ.ดร. ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. มหิศร ว่องผาติ กรรมการ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ นายประวิทย์ ธงชัยระวีวัฒน์ กรรมการ บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด ให้เกียรติขึ้นแถลงผลสำเร็จของ Spearhead ด้านเศรษฐกิจ “การวิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย” ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร. อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 (DIPROM CENTER 5) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเรือข่ายภาครัฐ-เอกชน กลุ่มชาวเกษตรกร และ สื่อมวลชน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ. เมืองขอนแก่น การวิจัยดังกล่าวเป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด ด้วยการวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรของไทยให้เป็น Smart Farmer เพื่อใช้ในการกำหนดรูปแบบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตการเกษตร อาทิ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและการระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศจากแผนที่ผลผลิต ระบบผสมสารและบรรจุลงถังบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสารแบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรน ชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง และระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษา เก็บเกี่ยว และเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัด รวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฏิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพืชอ้อย ส่งผลให้สามารถกำหนดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยที่น้ำหนักและความหวานสูงสุด มีการใช้งานเครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้จำนวนเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลดลง ลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ รวมทั้งลดจำนวนวันที่เปิดหีบ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลต่อตันได้ และสามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือพลังงานชีวมวลได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน พร้อมกันนี้ อธิบดีดีพร้อม ได้นำผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าว กลุ่มเกษตรกร และ คณะสื่อมวลชน เดินทางไปยังไร่สาธิต หมวดพืชไร่ แปลง A11 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อชมการสาธิตนวัตกรรมใหม่ เครื่องผสมสารอัตโนมัติ โดรนฉีดพ่นอัจฉริยะ ชุดติดตามการทำงานของเครื่องจักรเกษตร พร้อมเห็นภาพการทำงานที่ได้จากการวิเคราะห์แปลงผ่านระบบ FPS ตั้งแต่การสร้างเส้นทางการทำงานของเครื่องจักร การทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ตลอดจนการบันทึกขั้นตอนการทำงานเพื่อการทำงานในวันถัดไป นอกจากนี้ ยังได้นำคณะเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเข้าเยี่ยมชมการวิจัยระบบต่าง ๆ รวมทั้งห้องสำหรับประมวลผลและควบคุมการบินของโดรนจากภาพถ่าย ณ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 มิ.ย. 2022
อธิบดีณัฐพล ดันงานวิจัยขึ้นห้าง ตอบโจทย์ S-Curve ต้องตา WD เชื่อมั่นโลจิสติกส์ระบบ ASRS ของคนไทย
กรุงเทพฯ 20 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ พร้อมด้วย ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธาน บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์(ประเทศไทย) จำกัด รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นางสาวรุ่งรัตน์ ศิริรัตนาพานิชย์กรรมการผู้จัดการ บริษัท แม่น้ำเมคคานิกา จำกัด ให้เกียรติขึ้นแถลงผลสำเร็จความร่วมมือของพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาอาคารคลังสินค้าอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และ กลุ่มผู้ประกอบการ โดยมี Mr. Sam Loke กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอสวี โซลูชั่นส์ จำกัด ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมอาคารคลังสินค้า 11 ชั้น 2 บริษัท อจิลิตี้ จำกัด ลาดกระบัง งานวิจัยของ Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ มีเป้าหมายเพื่อการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ซึ่งสอดรับกับนโยบาย DIPROM CARE ของดีพร้อม ที่มุ่งขับเคลื่อนและผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของคนไทยมาปรับใช้กับโลจิสติกส์อุตสาหกรรม เพื่อลดข้อผิดพลาดและลดพื้นที่ในการจัดเก็บ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ นำไปสู่การพัฒนางานวิจัย “ระบบอาคารคลังสินค้าอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ Auto Storage and Retrieval System : ASRS” เพื่อสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถนำระบบ ASRS มาใช้งานได้ภายใต้งบประมาณและสถานที่ที่จำกัด โดยระบบ ASRS สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้กับ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมาใช้ระบบ ASRS จากฝีมือคนไทย โดยระบบดังกล่าวช่วยลดต้นทุน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งลดการนำเข้าระบบ ASRS จากต่างประเทศ ซึ่งระบบ ASRS เป็นการนำวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้กับระบบอาคารคลังสินค้าแบบครบวงจร ได้แก่ เครนยกสินค้าในแนวสูง ชั้นวางสินค้า (Stacker Crane) ชั้นวางสินค้า (Storage Rack) และโปรแกรมบริหารงานคลังสินค้า (Warehouse Management System) ที่พัฒนาโดยคนไทย สามารถปรับประยุกต์ มาใช้งานได้ภายใต้งบประมาณและสถานที่ที่จำกัด ให้เกิดการบริหารคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ในเรื่องต้นทุน ศักยภาพในการให้บริการในการจัดเก็บวัตถุดิบ และสินค้าอย่างถูกต้อง รวดเร็วที่ธุรกิจในอนาคตต้องการ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการนำผลงานจากโครงการฯ ไปขยายผลทางธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแล้ว อย่างน้อย 3 ราย และหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ดีเอสวี โซลูชั่นส์ จำกัด พร้อมที่จะขยายผลเปิดให้บริการต่อภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มผลิตภาพในส่วนของห่วงโซ่อุปทานในสถานประกอบการ และลดการนำเข้าระบบจากต่างประเทศได้ โดยคาดว่าภายใน 5 ปี จะมีมูลค่าความต้องการระบบ ASRS เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 มิ.ย. 2022
ดีพร้อม ติวเข้มบุคลากร พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พร้อมขานรับ พรบ.PDPA
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดฝึกอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 (Personal Data Protection Act: PDPA) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 300 คน โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชัน Zoom meeting การฝึกอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 (Personal Data Protection Act: PDPA) จัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นให้กับบุคลากรของดีพร้อมเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลให้สามารถปฏิบัติราชการที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงป้องกันข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลจากการปฏิบัติราชการ อันจะส่งผลให้บุคลากรของดีพร้อมสามารถดำเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์กรได้ต่อไป ทั้งนี้ พรบ. PDPA เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนที่มี หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการกําหนดกรอบ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จําเป็นและไม่ให้กระทบสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดย พรบ. PDPA เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 มิ.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ประชุมเหล่าขุนพลดีพร้อม วางแผนการทำงาน ปี 65 อย่างเต็มสูบ
กรุงเทพฯ 15 มิถุนายน 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหาร ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น 6 โซนบี อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญแจ้งในที่ประชุมให้ทราบ ประกอบด้วย 1. การติดตามผลการดำเนินงานงานปีงบประมาณ 2565 และการบูรณาการความร่วมมือระดับจังหวัดในส่วนภูมิภาค โดยเน้นย้ำให้นำกลไก 7 วิธี ปั้นชุมชนดีพร้อมไปปรับใช้ในการดำเนินงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชุมชนนำร่อง เพื่อเตรียมการขยายการดำเนินงานไปทั่วประเทศ 2. การจัดเตรียมข้อมูลโครงการ/กิจกรรม และผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากส่งเสริมและพัฒนาจากดีพร้อม สำหรับเพื่อชี้แจงคำของบประมาณประจำปี 2566 ต่อกรรมาธิการในเร็ว ๆ นี้ 3. การติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของศูนย์ ITC และ Thai-IDC ในการกระจายการให้บริการไปยังดีพร้อมเซ็นเตอร์ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำในการเร่งสร้างและพัฒนามูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นขอให้มีการเตรียมนำร่องในพื้นที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์และเตรียม kick-off เพื่อให้ครอบคลุมทุกดีพร้อมเซ็นเตอร์ เพื่อยกระดับการพัฒนาชุมชนให้ดีพร้อมมากขึ้น 4. การเร่งการจัดทำเอกสารข่าวแจก ที่ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดทำข่าวโครงการ/กิจกรรมละ 1 ข่าว ส่งมายัง สล.กสอ. เพื่อการเผยแพร่ไปยังสื่อมวลชนต่อไป และยังมอบให้ สล.กสอ. จัดทำหลักสูตรเบื้องในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรของดีพร้อม 5. การเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานส่งเสริม พัฒนา และสนับนผู้ประกอบการผ่านกลไกและเครื่องมือต่าง ๆ ของดีพร้อมให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และ 6. การปรับเปลี่ยนป้ายชื่อศูนย์ภาคฯ เป็น DIPROM CENTER โดยให้ สล.กสอ. ออกแบบให้มีความสวยงาม เพื่อให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาคนำไปใช้ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน อันจะเป็นการสร้างความจดจำในการปรับเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานดีพร้อมได้อย่างดี ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 มิ.ย. 2022
ดีพร้อม เดินหน้า “DIPROM Regional Academy” ปีที่ 2 ปรับบทบาทดีพร้อมเซ็นเตอร์สู่การเป็นหน่วยงานวิชาการ
กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีปิดการอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง “การพัฒนาบุคลากรดีพร้อมระดับภูมิภาคสู่การเป็นหน่วยงานวิชาการ ปีที่ 2” หรือ “DIPROM Regional Academy #2” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting การอบรม “DIPROM Regional Academy” เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อปรับบทบาทภารกิจของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค หรือ DIPROM CENTER ทั้ง 12 หน่วยงาน ให้เป็นหน่วยงานวิชาการ ในการเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนพัฒนา ส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจระดับภูมิภาค ผ่านการประสานงานกับภาครัฐ-เอกชน ทั้งหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานส่วนกลาง สถาบันการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ให้ได้มาซึ่งแนวทางการพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาฯ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ต่าง ๆ จนเกิดสมรรถนะ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. นโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนาภาค และการประเมินศักยภาพวิสาหกิจอุตสาหกรรม 2. การวางแผนกลยุทธ์ด้วย Foresight การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่อกำหนดภาพในอนาคต และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ 3. การพัฒนาทักษะในการจัดทำแผนพัฒนา ส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจระดับภูมิภาคทั้งในเชิงทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ จนนำมาสู่การนำเสนอ (ร่าง) แผนพัฒนา ส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 - 2570 ของทั้ง 5 ภูมิภาค ซึ่งเป็นกิจกรรมสุดท้ายของการอบรมในครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง เกิดการสร้างสรรค์กิจกรรม/โครงการที่สอดรับกับความต้องการของพื้นที่ การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และการกระจายการพัฒนาไปในพื้นที่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 มิ.ย. 2022
ดีพร้อม ปั้นบุคลากรนักตลาดออนไลน์ รุ่นที่ 2 เสริมศักยภาพพร้อมรับการให้บริการ ผปก.ไทย ยุคดิจิทัล
กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากร กสอ. สู่การเป็นนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (DIProm Online Marketeer) รุ่นที่ 2” พร้อมทั้งประกาศผลรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting การฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวฯ ได้จัดต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรของดีพร้อมมีทักษะในด้านการส่งเสริมการตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการเป็น “นักส่งเสริมการตลาดออนไลน์” เพื่อขับเคลื่อนและเป็นพลังช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนด้านการตลาด พร้อมทั้งสนับสนุนการจำหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการนำสินค้าของผู้ประกอบการมาดำเนินการส่งเสริมการตลาดผ่านระบบออนไลน์และสื่อโซเชียล โดยมีเจ้าหน้าที่ดีพร้อมจากส่วนภูมิภาคทั้ง 12 หน่วยงาน เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 61 คน เพื่อเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริงตลอดหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องการตลาด การสร้าง Content การถ่ายภาพ และจัดทำ VDO ตลอดจนถึงการ LIVE สด ผ่าน Facebook LIVE เพื่อทดสอบตลาดโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผลจากการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรของดีพร้อมดังกล่าว ส่งผลให้มีจำนวนยอดผู้เข้าถึงใน Facebook Page : DIPROM Station ของดีพร้อม จากเดิมร้อยละ 450.3 จำนวนยอดขายของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมหลักสูตรเพิ่มขึ้น 673,503 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน และเกิดความคุ่มค่าของหลักสูตรคิดเป็น 5.2 เท่า เมื่อเทียบกับงบประมาณของการดำเนินโครงการ รวมถึงบุคลากรของดีพร้อมที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้มีความรู้ด้านการตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 37.6 ตลอดจนเกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภายในดีพร้อม รวมทั้งประชาสัมพันธ์ DIPROM CENTER สามารถสร้างการรับรู้ให้บุคคลภายนอกได้เข้าถึงกิจกรรมของดีพร้อมมากขึ้นอีกด้วย และในโอกาสนี้ อธิบดีดีพร้อม ได้ให้เกียรติกล่าวปิดและแสดงความยินดีแก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อม พร้อมทั้งประกาศผลรางวัลต่าง ๆ ประกอบด้วย รางวัล Best Sales แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านเปอร์เซ็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 1.2 ด้านมูลค่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 รางวัล Poppular Vote ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 รางวัล TOP VIEWER ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 และ 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 และ 5. รางวัลพิเศษ สุดยอดกลุ่มนักเรียนดีเด่น ได้แก่ 1)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 2)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 3)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 4)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 และ 5)ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 มิ.ย. 2022
รสอ.ณัฏฐิญาฯ นำทีมคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ จับมือ Basecamp24 ร่วมกับ STeP บ่มเพาะสตาร์ทอัพ
จ.เชียงใหม่ 10 มิถุนายน 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ ร่วมหารือความร่วมมือการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ Basecamp24 ร่วมกับ STeP โดยมี นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นางชุติมา หาญเผชิญ รองเลขาธิการ ก.พ. พร้อมผู้บริหารส่วนราชการกว่า 40 หน่วยงาน เข้าร่วมและเยี่ยมชมพร้อมรับฟังการบรรยายสรุป ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 (DIPROM CENTER 1) นางเกษสุดา ดอนเมือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม DIPROM (ดีพร้อม) ร่วมลงพื้นที่ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP : Science and Technology Park) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการหารือความร่วมมือในส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นสะพานแห่งการสร้างนวัตกรรม (Bridge for Innovation) ก้าวข้ามความท้าทาย (Valley of Challenge) และทำให้เกิดการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานนวัตกรรม (Innovation-based Economy) ของภาคเหนือ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในการนี้ รสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้นำคณะที่ปรึกษาฯ ร่วมหารือกับ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการ STeP ซึ่ง DIPROM ได้ตอบรับในการให้ความร่วมมือระหว่าง Basecamp24 กับ STeP กล่าวคือ การสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมผลักดันผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีพี่เลี้ยงนำทางในทุกเส้นทางการเติบโตแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดอย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนการบ่มเพาะ พัฒนาศักยภาพ ทำให้เหล่านักธุรกิจได้ลงมือทำจริง ผ่านการอบรมสร้างองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ การจับคู่กับแหล่งทุน สร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยจัดแบ่ง Basecamp ดังนี้ Ground camp : Wonderer จะเน้นเรื่องการสร้างแรงจูงใจและสร้างความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการ Camp 1 : Bootstrapper เน้นให้องค์ความรู้เพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) Camp 2 : Explorer เน้นกระบวนการลงมือทำเพื่อเรียนรู้การทำธุรกิจตามวิถีของ Startup เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการให้สามารถขายได้จริง Camp 3 : Challenger เน้นเรื่องการขยายตลาด (Scale up) หลังจากพิสูจน์แล้วใน Camp 2 โดยจะเน้นกระบวนการวางแผนธุรกิจและกลยุทธ์ Camp 4 : Survivor ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการหานักลงทุน การเจรจาร่วมลงทุน (Partner) กับบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ที่จะสามารถสนับสนุนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง DIPROM ซึ่งได้เชื่อมโยงและผสานการทำงานระหว่าง STeP กับภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนสังคม บนพื้นฐานของการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย คือ ผลงานวิจัย นักวิจัย และเครื่องมือวิจัย ในความร่วมมือต่างๆ ได้แก่ 1. การใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าในรูปแบบของการผลักดันองค์ความรู้/งานวิจัยให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ (Research Commercialization) 2. การสร้างธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ (Tech Startup) 3. การส่งเสริมธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) การทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในองค์รวม (Total Value Creation) 4. การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนโดยการบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีของ STeP ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือได้ตั้งเป้าในการเป็นหน่วยบ่มเพาะแนวหน้ามีศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการ Startup ผ่านกระบวนการการเชื่อมโยงโอกาสต่าง ๆ ไปพร้อมกับการสร้างระบบนิเวศ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อให้ผู้ประกอบการ Startup ในพื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ในระบบได้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพและยั่งยืน โดยนำองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่การสร้างผู้ประกอบการที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 มิ.ย. 2022
รสอ.ณัฏฐิญาฯ ลงพื้นที่ DIPROM CIV ชุมชนออนใต้ พร้อมคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ
จ.เชียงใหม่ 10 มิถุนายน 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการลงพื้นที่ ประกอบด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นางชุติมา หาญเผชิญ รองเลขาธิการ ก.พ. พร้อมผู้บริหารส่วนราชการกว่า 40 หน่วยงาน เข้าเยี่ยมชม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดีพร้อม (DIPROM CIV) ชุมชนออนใต้ พร้อมรับฟังการบรรยายสรุป โดยมีนายภิญโญ วิสัย และนางสาวฉัตรรุ่ง ประกอบไวทยกิจ ผู้นำชุมชน พร้อมทั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลออนใต้ และกำนันตำบลออนใต้ ให้การต้อนรับ ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 (DIPROM CENTER 1) นางเกษสุดา ดอนเมือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม DIPROM (ดีพร้อม) ร่วมลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดีพร้อม (DIPROM CIV) ชุมชนออนใต้ อ.สันกำแพง ดีพร้อม ได้ดำเนินการโครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ดีพร้อม (DIPROM Creative Industry Village : DIPROM CIV) ภายใต้แนวคิดในการดำเนินงาน คือ การน้อมนำแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องการมุ่งเน้นพัฒนาคน มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชนให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้โครงการดังกล่าว ดีพร้อม จึงได้ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เพื่อให้สอดคล้องตรงกับความต้องการของชุมชนและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเป็นชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเติมเต็มให้กับชุมชน ผ่านกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานส่วนกลาง โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และ DIPROM CENTER 1 อาทิ พัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดีพร้อม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสินค้าและบริการของชุมชน ดึงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นสิ่งดึงดูดในการท่องเที่ยว เตรียมความพร้อมการบริหารจัดการกลุ่มทั้งแผนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เตรียมความพร้อมด้านที่พักโฮมเสตย์ของชุมชนให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว พัฒนาผู้ประกอบการร้านค้าให้มีความสะอาด ใช้หลักการรสชาติอาหารนำการท่องเที่ยว พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 11 หมู่บ้าน ป้ายบอกเส้นทาง แผนที่การท่องเที่ยว เมื่อพัฒนาภายในชุมชนแล้ว จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ชุมชนผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ เพจชุมชนออนใต้หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเพื่อเปิดตัวชุมชน โดยการเชิญสื่อมวลชนท้องถิ่นและหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการเยี่ยมชมชุมชน การออกบูธประชาสัมพันธ์ทริปการท่องเที่ยวในงานการท่องเที่ยวไทย ตลอดจนการออกบูธจำหน่ายสินค้าชุมชนล่าสุดในงาน OTOP Midyear 2022 นอกจากการที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาจากดีพร้อมแล้ว และรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนได้รับการรับรองมาตรฐานและรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายรับรองในการพัฒนาชุมชนและผู้ประกอบการ ได้แก่ CIV Five Star โดยดีพร้อม มาตรฐาน มอก.เอส โดย สมอ. มาตรฐาน SHA โดยกระทรวงสาธารณสุข และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาตรฐาน Q Resturant โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ชุมชนต้องเที่ยว โดย ธ.ก.ส. และ COVID free setting กระทรวงสาธารณสุข ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 มิ.ย. 2022