โทรศัพท์ 1358

“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมเร่งเสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมอีกกว่า 13,800 ราย ในพื้นที่ 69 จุด ทั่วประเทศ
จ.อุดรธานี-หนองคาย 3 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ต่อเนื่องอีก 31 จังหวัด 69 จุดทั่วประเทศ โครงการอาชีพดีพร้อม เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ได้แก่ 1) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต 2) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ 3) พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และ 4) พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ ดีพร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ 1. ลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2. เพิ่มรายได้ ได้แก่ การสกรีนกระเป๋าผ้าและการทำเหรียญโปรยทาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริม ตลอดจนเพิ่มความรู้และทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชนอันจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับในวันนี้ ดีพร้อม เร่งเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตให้กับประชนกว่า 13,800 ราย ในพื้นที่ 31 จังหวัด รวม 69 จุด ได้แก่ จ.เชียงราย 3 จุด เชียงใหม่ 1 พะเยา 1 จุด พิจิตร 5 จุด สุโขทัย 6 จุด นครสวรรค์ 2 จุด ชัยนาท 3 จุด ลพบุรี 2 จุด สระบุรี 1 จุด หนองคาย 2 จุด อุดรธานี 2 จุด เลย 4 จุด นครพนม 2 จุด ชัยภูมิ 1 จุด อำนาจเจริญ 2 จุด ศรีสะเกษ 2 จุด ตราด 1 จุด จันทบุรี 1 จุด ชลบุรี 1 จุด จ.สมุทรปราการ 1 จุด กรุงเทพฯ 7 จุด สมุทรสาคร 5 จุด สุพรรณบุรี 1 จุด กาญจนบุรี 1 จุด ราชบุรี 3 จุด เพชรบุรี 2 จุด ประจวบคีรีขันธ์ 1 จุด ระนอง 2 จุด นครศรีธรรมราช 1 จุด ตรัง 2 จุด และภูเก็ต 1 จุด ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ดำเนินการเพิ่มทักษะและสร้างอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องไปแล้วกว่า 79,000 ราย ในพื้นที่ 38 จังหวัด 395 จุดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งโครงการอาชีพดีพร้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.ย. 2022
“ดีพร้อม-ซีพี ออลล์” ปลื้มดัน 22 เอสเอ็มอีไทยบุกโมเดิร์นเทรดเฟสแรก ดันมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 36 ล้านบาท พร้อมลุยขยายตลาดทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 1 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติแถลงผลสำเร็จความร่วมมือดัน 22 กิจการ เข้าสู่ตลาด Modern Trade สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 36 ล้านบาท ภายใต้ กิจกรรม DIPROM Move to Modern Trade ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม(DIPROM) ผู้บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คณะอาจารย์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้อง B 105 ชั้น B1 อาคาร THE TARA บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ กิจกรรมดังกล่าว เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงบูรณาการความร่วมมือพัฒนาการบริการให้สามารถก้าวไปสู่การเข้า Modern Trade ตลอดจนสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ อาทิ การฝึกอบรมด้านกลยุทธ์ทางการตลาด แหล่งเงินทุน การบริหารจัดการด้านการเงินเทรนด์ในการทำธุรกิจ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมถึงการให้คำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มโอกาสและช่องทางการทำตลาดใหม่ ๆ แก่ผู้ประกอบการจนเกิดการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งได้พัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 22 ธุรกิจ และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจภาพรวมได้กว่า 36 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่ายอดขายหน้าร้าน และการส่งออกเพิ่มขึ้นรวมกันกว่า 34 ล้านบาท มูลค่ายอดขายในอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านบาท และการลงทุนของผู้ประกอบการเพิ่มเติม 1.2 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมในกิจกรรมนี้จะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และพัฒนาธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง ตามปณิธานของซีพี ออลล์ที่ว่า “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน” โดยกิจกรรม DIPROM Move to Modern Trade ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ของศูนย์ 7 ที่สนับสนุนเอสเอ็มอีในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งในครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมเอสเอ็มอีเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด โดยสอดคล้องกับความตั้งใจของบริษัทในการสนับสนุนเอสเอ็มอีทั้ง 3 เรื่อง คือ 1.ให้ช่องทางขาย เพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำเสนอสินค้าเพื่อจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และผ่านช่องทางออนไลน์ 2.ให้ความรู้ จัดอบรมสัมมนาแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง และ 3. การเชื่อมโยงเครือข่ายเอสเอ็มอี ทั้งภายในบริษัทและองค์กรความร่วมมือจากภายนอก เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 ก.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ประชุมมาตรการปฏิบัติงานและการป้องกันโควิด-19 ประจำเดือนกันยายน 65
กรุงเทพฯ 31 สิงหาคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงการกำหนดมาตรการปฏิบัติงานและการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำเดือนกันยายน 2565 ร่วมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ ประธานได้แจ้งประเด็นสำคัญพร้อมขอความร่วมมือในการปฏิบัติงานและการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย ให้ทุกหน่วยงานกำหนดให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกคน มาปฏิบัติราชการตามปกติ ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงาน กสอ. โดยให้ทุกหน่วยงานกำหนดวิธีการลงเวลาปฏิบัติราชการด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบวันเวลาการปฏิบัติราชการ และในกรณีที่หน่วยงานมีภารกิจเร่งด่วนตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจาก กสอ. ให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานพิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางการปฏิบัติราชการให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจเร่งด่วนปฏิบัติงาน ณ สถานที่พักอาศัย (Work from home) ตามความเหมาะสมกับบริบทสภาพการณ์การทำงานของแต่ละหน่วยงาน ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานเป็นผู้กำกับดูแลและให้มีการจัดทำรายงานการปฏิบัติราชการอย่างเคร่งครัด และให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการประชุมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อมอบหมาย กำกับดูแล หรือแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องแสดงตนและเข้าร่วมการประชุม อย่างเคร่งครัด การปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work from home) ให้ยึดถือแนวปฏิบัติตามตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด 2.หน่วยงานกำหนดให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด และบุคคลในกำกับดูแล ตรวจคัดกรองในเบื้องต้น ด้วยแบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Kit : ATK) ตามระยะเวลา รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม และถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 2.1 กรณีที่มีผลตรวจคัดกรองด้วย ATK เป็นบวก ให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย ณ สถานพยาบาล หรือสถานที่อื่นตามที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดหรือรับรอง ทั้งนี้ หากได้รับผลการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคฯ ให้เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล หรือสถานที่อื่นตามที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดหรือรับรอง โดยให้ลาป่วยเพื่อรักษาตัวจนกว่าผลการตรวจคัดกรองด้วย ATK เป็นลบ และหลังจากนั้นให้กลับมา ปฏิบัติราชการตามปกติ ณ สถานที่ของหน่วยงาน กสอ. โดยสังเกตอาการตนเองและปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลในข้อ 3. รวมแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 วัน และในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนกระทบต่อการปฏิบัติงานให้หน่วยงานกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อไม่ให้กระทบกับภารกิจและความรับผิดชอบของหน่วยงาน 2.2 กรณีมีอาการที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคฯ ให้ลาป่วยเพื่อรักษาตัว โดยห้ามไม่ให้ผู้นั้นเข้าสถานที่ตั้งของหน่วยงาน กสอ. หรือสถานที่ปฏิบัติงานในภารกิจของ กสอ. จนกว่าจะหายป่วย และผลการตรวจคัดกรองด้วย ATK เป็นลบ หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าไม่เป็นโรคฯ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ต้องตรวจคัดกรองด้วย ATK อีกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติราชการ ณ สถานที่ตั้ง 2.3 กรณีมีความเสี่ยงสูง (high risk contact) ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด ได้แก่ ผู้ที่ไม่สวมหน้ากาก หรือไม่ได้ใส่ ชุด PPE ตามมาตรฐานตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัสและใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจาม รดหน้าจากผู้ป่วยตั้งแต่ 2 - 3 วันก่อนผู้ป่วยเริ่มมีอาการป่วย หรือขณะมีอาการ หรืออยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโควิด-19 นานกว่า 30 นาที ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวให้สังเกตอาการตนเอง แต่ไม่ต้องกักตัว โดยให้ปฏิบัติตนตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกำหนด และให้มาปฏิบัติราชการตามปกติ ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงาน กสอ. แต่ให้แยกพื้นที่กับผู้อื่น งดร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และตรวจคัดกรอง ด้วย ATK ก่อนเข้าปฏิบัติราชการ ณ สถานที่ตั้ง 3.ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล “2U” ได้แก่ Universal Prevention โดยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อมาปฏิบัติงานทั้งในและนอกสถานที่ตั้งของหน่วยงาน กสอ. หรือเมื่อมีการจัดงานสัมมนา หรือเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสถานที่หรือในพื้นที่แออัด หรือเมื่อมีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดี และตรวจ ATK เมื่อมีอาการคล้ายไข้หวัด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อ และเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้เข้าร่วมงาน และ Universal Vaccination เข้ารับวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น เพื่อช่วยลดอาการป่วยหนัก ให้ทุกหน่วยงานกำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ และข่าวสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ปฏิบัติตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุข ประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรการที่ กสอ. กำหนด โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ สำหรับอาการที่เข้าหลักเกณฑ์การสอบสวนโรคฯ การตรวจคัดกรองโรคฯ หลักเกณฑ์การปฏิบัติตนตามแนวทาง D-M-H-T-T การลาป่วย การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรค (cluster) การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ในสังกัด กสอ. และการดำเนินกิจกรรมผ่านระบบทางไกล (Teleconferencing) หรือการใช้รูปแบบออนไลน์อื่น ๆ ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 ก.ย. 2022
"รสอ.ณัฏฐิญา" นำทีม ดีพร้อม ร่วมประชุมเตรียมการ “รายการ คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
กรุงเทพฯ 31 สิงหาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมเตรียมข้อมูลการให้สัมภาษณ์ “รายการ คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” โดยมี นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งที่ประชุมได้การนำเสนอประเด็นโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม มาตรฐาน มอก. มผช. มอก.s สินเชื่อต่าง ๆ ประชาชนได้อะไรจากการทำเหมืองแร่โปรแตช อ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อไปนำเสนอในรายการ "คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี" ในวันที่ 10 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ส.ค 2022
ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จปั้น 70 นักธุรกิจเกษตรโลกใหม่ หวังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 120 ลบ.
กรุงเทพฯ 29 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ DIPROM GENIUS AGRO 360 จำนวน 70 กิจการ ภายใต้แนวคิด เกษตรโลกใหม่ (NEW WORLD) ที่นักธุรกิจเกษตรต้องมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจแบบ 360 องศา พร้อมทั้งมอบรางวัล Best of The Best จำนวน 4 กิจการ ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมวันซ์ ถ.เจริญกรุง สำหรับโครงการ DIPROM GENIUS AGRO 360 ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรหรือแปรรูปอาหารสู่การเป็นสุดยอดอัจฉริยะทางธุรกิจวิถีใหม่ ภายใต้แนวคิด เกษตรโลกใหม่ (NEW WORLD) ที่นักธุรกิจเกษตรต้องมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจแบบ 360 องศา รวมถึงการพัฒนาต่อยอดธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ โดยมีอัจฉริยะโค้ชทางธุรกิจระดับชั้นนำมาร่วมถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกอย่างเข้มข้นตลอด 180 วัน ผ่านกระบวนการตั้งแต่อัจฉริยะโค้ชแบบออฟไลน์ (On Site) 6 วัน ต่อด้วยการเรียนรู้นอกสถานที่ (On Tour) 5 วัน อีกทั้ง ยังมีกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจเชิงลึกและการทำรายงานวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง (Mini Thesis) โดยมีอัจฉริยะโค้ชที่มีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้บนแนวคิด IAID MODEL “นวัตกรรมผสานเทคโนโลยี” ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ และคาดว่าจะสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับธุรกิจกว่า 120 ล้านบาท และในโอกาสนี้ อธิบดีณัฐพล ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงดีแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 70 กิจการ พร้อมทั้งมอบรางวัล Best of The Best จำนวน 4 กิจการ ได้แก่ 1 นายภาคภูมิ วัชรขจร บริษัท เกษตรอัจฉริยะ จำกัด 2 นายภูภูมิ ช่างดวงจิตต์ ห้างหุ้นส่วนจากัด ภูนางนอน กรุ๊ป 3 นายธนกฤต ลี้ไวโรจน์ บริษัท สกลนคร สร้างสุข จำกัด และ4 นางภิรภร เชษฐาวัฒนานุกุล บริษัท ส้มปรีชา-ฝาง 1991 จำกัด โดยอธิบดีณัฐพล ได้กล่าวว่าดีพร้อม มีความตั้งใจที่จะปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมให้ “ดี” ด้วยการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ และให้ “พร้อม” พัฒนาธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้จริง รวมถึงสามารถเข้าสู่ตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการที่ “ดีพร้อม” อย่างแท้จริง เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ส.ค 2022
ดีพร้อม ระดมสตาร์ทอัพสู่ตลาดพาณิชย์ ชูจุดแข็งเครือข่ายพันธมิตรเอกชนไทย ขยายผล Startup Connect ปี 3 คาดปั้นมูลค่าเศรษฐกิจโต 350 ลบ.
กรุงเทพฯ 29 สิงหาคม 2565 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งเงินทุน (Pitching Day) ภายใต้กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (DIPROM Startup Connect) นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากบริษัทร่วมลงทุนภาคเอกชน ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม The society ชั้น 22 อาคารเกษรทาวเวอร์ ราชดำริ งานดังกล่าวเป็นหนึ่งในกระบวนการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ภายใต้ กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (DIPROM Startup Connect) ปีที่ 3 ซึ่งในปีนี้เป็นการมุ่งเน้นการขยาย 4 เครือข่ายคุณภาพ ทั้งเครือข่ายสตาร์ทอัพ เครือข่ายเงินทุน เครือข่ายตลาด และเครือข่ายวิชาการนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเทศโนโลยีเชิงลึก หรือดีพเทค (Deep Technology) สร้างการตลาดใหม่และสามารถเข้าถึงตลาดของภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้ อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการต่อไป ขณะเดียวกัน ยังเป็นการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG) เชื่อมโยงสู่พันธมิตรภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุน มุ่งเน้นยกระดับพัฒนานวัตกรรมร่วม Co-Creation ตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการร่วมทุนและการผลักดันผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไปสู่ระยะเติบโต โดยมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพผ่านการคัดเลือกจำนวน 8 บริษัท เพื่อนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ หรือ Pitching Day ภายใต้โจทย์ BCG Economy ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการเริ่มต้นธุรกิจหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ โดยมีบริษัทร่วมลงทุนภาคเอกชน (VC/CVC) เข้าร่วมฟังการนำเสนอในครั้งนี้ อาทิ บริษัท อีซีจี เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด บริษัท เน็กซเตอร์ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัท แมกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด REAPRA PTE LTD บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และบริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) และพร้อมสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ส.ค 2022
"อธิบดีณัฐพล" นำทีม คกก.เงินทุน อนุมัติแผนเงินทุนหมุนเวียนดีพร้อม
กรุงเทพฯ 29 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและ หัตถกรรมไทย ครั้งที่ 7/2565 พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รองประธานคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ประชุมคณะกรรมการฯ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบการทบทวนแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ ดังนี้ แผนปฏิบัติการเงินทุนหมุนเวียนฯ ระยะยาว พ.ศ. 2566 – 2568 และแผนปฏิบัติการประจำปีบัญชี 2566 แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลเงินทุนหมุนเวียนฯ ระยะยาว พ.ศ. 2566 – 2568 และแผนปฏิบัติ การประจำปีบัญชี 2566 แผนปฏิบัติการดิจิทัลเงินทุนหมุนเวียนฯ ระยะยาว พ.ศ. 2566 – 2568 และแผนปฏิบัติการ ประจำปีบัญชี 2566 แผนบริหารความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 2566 แผนและประมาณการรายรับรายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยภายใต้แผนปฏิบัติการเงินทุนหมุนเวียนฯ ดังกล่าว ได้มีการเร่งดำเนินการในปีบัญชี 2566 ไว้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้วยการสนับสนุนปัจจัยเอื้อ ที่เน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานภายใต้ ดีพร้อม โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อดีพร้อมเปย์ ที่จะรองรับความต้องการในส่วนของการปรับปรุงหรือขยายกิจการ รวมถึงการนำไปเป็นทุนหมุนเวียนภายในกิจการเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ 2) ด้านการบริหารความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการเงินทุนหมุนเวียนฯ โดย จะมุ่งเน้นการบริหารจัดการพอร์ตลูกหนี้ของเงินทุนหมุนเวียนฯ ให้มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิด NPL 3) ด้านการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนฯ เพื่อพัฒนาระบบการบริหาร จัดการให้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และยกระดับทักษะของ บุคลากรให้มีศักยภาพพร้อมสำหรับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการต่างๆ ได้ถูกขับเคลื่อนตามที่กำหนดไว้ ดีพร้อมจึงจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล และแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะยาว พ.ศ. 2566 – 2568 และแผนปฏิบัติการประจำปีบัญชี 2566 รวมถึงการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 2566 ผ่านการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นความเสี่ยง ตลอดจนกำหนดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย โดยคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้มีมติเห็นชอบแผน และประมาณการรายรับรายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรอบวงเงินประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่ายเพื่อจัดสรรในการดำเนินการต่อไป ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ส.ค 2022
อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมเดินหน้าต่อเนื่องเสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมทั่วประเทศ อีก 75 จุด พัฒนาประชาชนในพื้นที่กว่า 15,000 ราย
จ.พิจิตร 28 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ต่อเนื่องอีก 75 จุดทั่วประเทศ โครงการอาชีพดีพร้อม เป็นการพัฒนาอาชีพเสริม เพื่อมุ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ชุมชน ผ่านรูปแบบหลักสูตรการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ๆ ได้แก่ หลักสูตรที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต หลักสูตรที่ 2 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ หลักสูตรที่ 3 กิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และหลักสูตรที่ 4 กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ ดีพร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ หมวดที่ 1 ลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และหมวดที่ 2 เพิ่มรายได้ ได้แก่ การสกรีนกระเป๋าผ้า และ การทำเหรียญโปรยทาน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริมเพิ่มความรู้และทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับในวันนี้ ดีพร้อม ก็ได้เดินหน้าต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตให้กับประชนกว่า 15,000 ราย ทั่วประเทศในพื้นที่ 23 จังหวัด 75 จุด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ 1 จุด จ.พิจิตร 5 จุด จ.สุโขทัย 4 จุด จ.นครสวรรค์ 6 จุด กรุงเทพมหานคร 2 จุด จ. ลพบุรี 2 จุด จ.สมุทรปราการ 2 จุด จ.สมุทรสาคร 5 จุด จ.ชัยภูมิ 3 จุด จ.อุดรธานี 6 จุด จ.บึงกาฬ 2 จุด จ.ศรีสะเกษ 2 จุด จ.อำนาจเจริญ 1 จุด จ.ตราด 1 จุด จ.ระยอง 2 จุด จ.ชลบุรี 8 จุด จ.ราชบุรี 2 จุด จ.เพชรบุรี 1 จุด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1 จุด จ.ตรัง 8 จุด จ.ระนอง 2 จุด จ.ภูเก็ต 2 จุด จ.พัทลุง 7 จุด ทั้งนี้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริมฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าในการพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ส.ค 2022
“ดีพร้อม” ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม 82 จุดทั่วประเทศ
27 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชน เสริมทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อมด้านการผลิต ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ในพื้นที่ทั่วประเทศ การลงพื้นที่ช่วยประชาชนดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ประกอบด้วย 2 หลักสูตร ดังนี้ 1 หลักสูตรลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2 หลักสูตรเพิ่มรายได้ ได้แก่ การทำเหรียญโปรยทาน และการสกรีนกระเป๋าผ้า ซึ่งจะเป็นการลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับชุมชน โดยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรืออาชีพดีพร้อม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับในวันนี้ ดีพร้อม ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ทั้งหมด 82 จุด 22 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ 2 จุด จ.พิจิตร 6 จุด จ.สุโขทัย 5 จุด จ.นครสวรรค์ 2 จุด จ. ลพบุรี 2 จุด กรุงเทพมหานคร 5 จุด จ.สมุทรปราการ 2 จุด จ.สมุทรสาคร 5 จุด จ.ชัยภูมิ 3 จุด จ.อุดรธานี 6 จุด จ.บึงกาฬ 2 จุด จ.ศรีสะเกษ 2 จุด จ.ฉะเชิงเทรา 1 จุด จ.ระยอง 4 จุด จ.ชลบุรี 1 จุด จ.ราชบุรี 2 จุด จ.เพชรบุรี 7 จุด จ. ประจวบคีรีขันธ์ 2 จุด จ.ตรัง 7 จุด จ.ระนอง 2 จุด จ.ภูเก็ต 1 จุด จ.พัทลุง 13 จุด ทั้งนี้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริมฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าในการพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยดำเนินการผ่านรูปแบบหลักสูตรการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ๆ ได้แก่ หลักสูตรที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต หลักสูตรที่ 2 กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ หลักสูตรที่ 3 กิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และหลักสูตรที่ 4 กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ส.ค 2022
อธิบดีณัฐพล นำทีมดีพร้อมโชว์ผลงานเข้าตาทีมผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ชื่นชมผลสำเร็จการดำเนินงาน
กรุงเทพฯ 25 สิงหาคม 2565 - นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมการตรวจราชการส่วนราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัด อก. ของคณะผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้ตรวจราชการในสังกัด อก. คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting ประเด็นการตรวจราชการดังกล่าว เพื่อชี้แจงการดำเนินงานของดีพร้อมในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. ภาพรวมโครงสร้าง การขอจัดตั้งหน่วยงานภายในเพิ่มเติม อาทิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industrial Material) ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Meeting, Industrial Conference and Exhibition Center : DIPROM MICE CENTER) กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม 2. ภารกิจ อัตรากำลัง 3. งบประมาณ และการใช้จ่ายงบประมาณ 4. ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 5. นโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ 1) เกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Agricultural industry) พัฒนาความรู้และสร้างความตระหนักด้านเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการให้องค์ความรู้พื้นฐาน สร้างความเข้าใจ และการพัฒนาตนเองจากเกษตรกรพื้นฐานสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม และความรู้พื้นฐานเรื่องการแปรรูปปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ยกระดับมาตรฐานเกษตรอุตสาหกรรมให้มุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล การเพิ่มผลิตภาพในเกษตรอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Model พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรม รวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย 2) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) พืชกัญชงในเชิงพาณิชย์สู่ Bio Economy ดันงานวิจัยไทยขึ้นห้าง ตอบโจทย์ S-Curve ต้องตา WD เชื่อมั่นโลจิสติกส์ระบบ ASRS ของคนไทย 3) การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 (SME & Factory 4.0) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล เร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการ ยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อาทิ โครงการเร่งรัดการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ลดต้นทุนการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต 7 วิธีปั้นชุมชนดีพร้อม การลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) 4) การยกระดับด้านการให้บริการ (Service Transformation) การสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (Digital to DIPROM Core) นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังมีโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Agenda) อาทิ งานดีพร้อม มอเตอร์ โชว์ 2022 (DIPROM MOTOR SHOW 2022) โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม และการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) คือ โครงการ "ถุงดีพร้อม" ช่วยธุรกิจชุบชีวิตชุมชน ตลอดจนมาตรการ/โครงการที่ดำเนินการร่วมกับ สอจ. ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การขอความร่วมมือดำเนินการจัดฝึกอบรมงบกลาง ขอความร่วมมือในการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับ สอจ. ในการเสนอโครงการที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาภาค เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ขอร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ แนะนำกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการด้านเงินทุนในการประกอบธุรกิจต่อไป ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพ
26 ส.ค 2022