โทรศัพท์ 1358

“รสอ.สุชาดา” นำทีมดีพร้อมพิจารณารูปแบบภายในเล่มหนังสือรายงานประจำปี 2565
กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานจัดทำหนังสือรายงานประจำปี 2565 โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมหารือ และแสดงความความคิดเห็นในการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี 2565 โดยร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบภายในเล่มหนังสือรายงานประจำปี 2565 ในส่วนของเนื้อหาและข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานต่าง ๆ จัดลงในรูปเล่มให้สวยงาม เพื่อให้การจัดทำหนังสือรายงานประจำปี 2565 มีรูปแบบการนำเสนอที่มีความเหมาะสมต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 มี.ค. 2023
รสอ.สุชาดา ติดตามเร่งรัดผลการปฏิบัติงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566
กรุงเทพฯ 28 มีนาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือติดตามเร่งรัดผลการปฏิบัติงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ร่วมด้วย คณะผู้บริหารดีพร้อม (DIPROM) และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันหารือติดตามเร่งรัดผลการปฏิบัติงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 รวมถึงแนวทางการจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในไตรมาสที่ 3-4 เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 มี.ค. 2023
ก.อุตฯ (MIND) นัดหารือ ก.พ.ร. ร่วมกำหนดแนวทางบูรณาการการพัฒนาระบบราชการสู่ Digital และ Open Government
กรุงเทพฯ 27 มีนาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นประธานร่วมการประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ และสร้างความเข้าใจให้เกิดความชัดเจนในแนวทางต่าง ๆ เช่น การแบ่งส่วนราชการภายในกรม ระบบการประเมินผลส่วนราชการ การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 เน้นการพัฒนาระบบราชการสู่เป้าหมาย ภายใต้แนวทาง รัฐที่ล้ำหน้า (Digital Government) และรัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) ทั้งนี้ ปลัดฯ ได้นำเสนอบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่ในการส่งเสริมคนให้เป็นผู้ประกอบการ และการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามข้อกำหนด การดูแลออกใบอนุญาตและการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ เช่น ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ และการทำให้ผู้ประกอบการเติบโตและแข่งขันได้ผ่านแนวทาง SPRING ทั้งในด้านการส่งเสริมมาตรฐาน การเพิ่มผลิตภาพ และการพัฒนานวัตกรรม นอกจากนี้ยังได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม MIND ใช้ "หัว"และ "ใจ" ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน โดยการยกระดับภารกิจระดับกรม ปรับการดำเนินการสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่วิถีใหม่ใน 4 มิติ อย่างสมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และการกระจายรายได้ให้กับประชาชน และการสื่อสารนโยบายไปยังบุคลากร อก. และผู้ประกอบการทุกระดับ การบูรณาการ พ.ร.บ. 15 ฉบับ และ 20 หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำข้อกฎหมายเข้ามาบังคับใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การจัดการกับอ้อยที่ถูกลักลอบเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะ PM 2.5 การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่มุ่งเน้นเศรษฐกิจในอนาคต เช่น เกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม MICE อุตสาหกรรมยานยนต์ การพลิกฟื้นภารกิจที่จำเป็นจากปัญหาการปรับโครงสร้างหน่วยงาน การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งบริหาร โดยพิจารณาจากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสมของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ อก. ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาระบบราชการด้วยการได้รับรางวัลเลิศรัฐในปีที่ผ่านมา และมีความมุ่งมั่นในการสมัครรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นที่ขอรับการสนับสนุนและการผลักดันการดำเนินของกรมต่าง ๆ อาทิ การปรับโครงสร้างหน่วยงานภายในของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว ครอบคลุมทั้งในด้านการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับอุตสาหกรรมรายสาขา ในการนี้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ให้คำแนะนำการปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม และการขับเคลื่อนกิจกรรม หรือ Agenda สำคัญของกระทรวง พร้อมจัดคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการพัฒนาระบบราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีหลักในการพิจารณา คือ ความจำเป็นในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างระดับกอง บทบาทการดำเนินงาน และการจัดสรรกำลังคน โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดี รองอธิบดี ผู้บริหารจากกรมต่าง ๆ และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เข้าร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
28 มี.ค. 2023
“อธิบดีใบน้อย” ติดตามความคืบหน้าการจัดงาน DIPROM RUN MINI MARATHON 2023
กรุงเทพฯ 27 มีนาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดหารายได้เข้ากองทุนสวัสดิการ กสอ. ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารดีพร้อม (DIPROM) คณะทำงานฯ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 ราชเทวี และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดเตรียมกิจกรรม DIPROM RUN MINI MARATHON 2023 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566 ณ สวนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการจัดหารายได้เข้ากองทุนสวัสดิการ กสอ. เพื่อจะนำไปดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ดีพร้อม และสนับสนุนกิจกรรมการกุศลและสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 มี.ค. 2023
ดีพร้อม ผลักดัน ผปก. เตรียมพร้อมสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์
กรุงเทพฯ 26 มีนาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเตรียมความพร้อมระดมทุนสู่การเติบโตทางธุรกิจ (DIPROM Capital Market) โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ เข้าร่วม ณ Super Trader Republic ชั้น 4 ตึกธนาคารกรุงเทพ DIPROM Capital Market เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ เพื่อเป็นส่วนกลางในการพัฒนาความรู้ด้านการระดมทุน และเชื่อมโยงพร้อมสร้างโอกาสในการเข้าถึงนักลงทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตและไปต่อได้ในตลาดโลก นอกจากนี้ มีผู้แทนจากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์รวมถึงองค์ความรู้เพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ 1. การระดมทุนเพื่อเข้าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกลไกตลาดทุน Capital Market Mechanism 2. การกำกับดูแลกิจการ และการควบคุมภายใน 3. การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions) ###PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มี.ค. 2023
“ดีพร้อม” จับมือ “SMRJ” แท็คทีม ผปก. ไทย-ญี่ปุ่น เดินหน้าเชื่อมโยงเครือข่ายการค้าผ่าน J-GoodTech
กรุงเทพฯ 24 มีนาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชื่อมโยงคู่ค้าและสร้างเครือข่ายธุรกิจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น (Thailand-Japan New Business Gateway) ร่วมด้วย นายเท็ตสึโอะ โคซากะ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) นายอิโนะอุเอะ เท็ตซึยะ ผู้เชี่ยวชาญจาก SMRJ นางสาวภูคณิศา ธนัชปิติโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดดิจิทัล ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ โดยมี นางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญจากดีพร้อม (DIPROM) กล่าวรายงาน ณ โรงแรม คาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Webinar งานสัมมนาเชื่อมโยงคู่ค้าและสร้างเครือข่ายธุรกิจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในความร่วมมือระหว่างดีพร้อม (DIPROM) และองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) เพื่อขยายช่องทางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และ SMEs ไทยสู่เวทีสากล รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นผ่านการใช้งานแพลตฟอร์มเจรจาจับคู่ธุรกิจ J-GoodTech สำหรับรูปแบบการสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เป็นแบบผสมผสาน หรือ Hybrid ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมในรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Online ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Webinar รวมทั้งสิ้นจำนวนกว่า 70 สถานประกอบการ โดยผู้ประกอบการจะได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์ม J-GoodTech กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) จากการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นผ่านแพลตฟอร์ม J-GoodTech และการให้บริการของดีพร้อม (DIPROM) ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนการสร้างเว็บไซต์และสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creation) เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและจับคู่ธุรกิจอีกด้วย ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการต่อยอดและขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและ SMEs ของประเทศไทยและญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่น ตลอดจนร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตควบคู่กันไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มี.ค. 2023
ดีพร้อม ร่วมแสดงความยินดีครบรอบ 54 ปี สมอ.
กรุงเทพฯ 24 มีนาคม 2562 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารดีพร้อม ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 54 ปี สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ ณ บริเวณชั้น 2 อาคาร สมอ. ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 มี.ค. 2023
รสอ.สุชาดา หารือคณะทำงาน เตรียมสรุปผลโครงการอาชีพดีพร้อม
กรุงเทพฯ 23 มีนาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือการจัดทำข้อมูลการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม (งบกลางประจำปี 2565) ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้ร่วมกันหารือเพื่อพิจารณาข้อมูลของโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม (งบกลางประจำปี 2565) หรือ อาชีพดีพร้อม ในส่วนของการดำเนินโครงการฯ และปัญหาอุปสรรค เพื่อจัดทำรายงานผล และปิดโครงการฯ ที่กำลังจะสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม (งบกลางประจำปี 2565) ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาคนในชุมชนให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนกว่า 700,000 คน และมีชุมชนอย่างน้อย 400 พื้นที่ทั่วประเทศที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการดังกล่าว ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 มี.ค. 2023
“รัฐมนตรีอนุชา” เข้ากระทรวงอุตฯ วันแรก เร่งสานต่องานเดิม หนุนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พร้อมนำนโยบายเงินบาทแรกของแผ่นดิน ช่วยเกษตรหลุดพ้นความยากจน สร้างรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อหมุนเงินเข้าระบบ
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 - นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์อุตสาหกรรมของประเทศ ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม และการปฏิรูปการทำงานตามแนวคิด "MIND" ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน เพื่อมุ่งยกระดับภาคอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมาตรการเร่งด่วน 9 มาตรการหลัก คือ 1.การปรับปรุงกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) 2. มาตรการแก้ปัญหาอ้อยที่ถูกลักลอบเผา 3.การจัดการกากอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 4.การผลักดันมาตรฐานการปล่อยมลพิษตามมาตรฐานยูโร 6 ให้เร็วขึ้น 5.การเดินหน้าส่งเสริมมาตรการยานยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย 6.มาตรการทางการเงินให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิเคราะห์เจาะลึกถึงปัญหาของผู้ประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด 7.การบูรณาการกองทุนหมู่บ้าน และเกษตรอุตสาหกรรมระดับจังหวัดต้นแบบ โดยจะนำนโยบายเงินบาทแรกของแผ่นดิน ช่วยเกษตรหลุดพ้นความยากจน 8.เดินหน้านโยบายแบบฟอร์มดิจิทัลเดียว (I-Single Form) และ 9.การชี้เป้ายุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกระทรวงอุตฯ และบูรณาการเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “กระทรวงอุตสาหกรรม มีศักยภาพและความพร้อม มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ สามารถผลักดันภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ให้เดินรุดหน้าได้ตามแผนในหลายโครงการ อาทิ การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีความเป็นห่วงในเรื่อง SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ซึ่งถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ต้องการโอกาสในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการหาสาเหตุ “กำลังซื้อของประเทศไทยอยู่ตรงไหน” เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด โดยขอฝากให้ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปช่วยกันหาเหตุผล รวมทั้งสร้างจิตวิทยาในการลงทุนเพื่อส่งต่อไปยังกลุ่ม SMEs เพื่อให้กลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคต” นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ปัญหาความยากจนยังคงมีอยู่ โดยสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต คือ การที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหลุดพ้นจากความยากจน โดยเน้นให้ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่เป็นเศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจชุมชน ผ่านองค์ความรู้ในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแบบครบวงจร รวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ให้เกิดปัญหาน้อยลง และกรณีซีเซียม -137 ที่หลุดจากโรงไฟฟ้า ได้กำชับให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งดำเนินการแก้ไข พร้อมกำชับ ตรวจสอบ โรงงานที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าและผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีทุกกรม ผู้ว่าการ กนอ. กรรมการผู้จัดการ ธพว. ผู้อำนวยการสถาบันเครือข่ายทั้ง 11 สถาบัน และอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
23 มี.ค. 2023
ดีพร้อม ประชุมเตรียมความพร้อมการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ปี 66 ดันผลงานคนไทยสู่เวทีโลก
กรุงเทพฯ 21 มีนาคม 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 นำประชุมชี้แจงแนวทางการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ และ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ประธานและคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นแนวทางการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทผลงาน จากผู้เข้าประกวดกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา และ กลุ่มผู้ประกอบการ-บริษัท โดยจะแยกการตัดสินออกเป็นสองรอบ รอบแรก เป็นการพิจารณาผลงานบรรจุภัณฑ์จริงร่วมกับข้อมูลประกอบ ได้แก่ วัสดุ แนวคิด และประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เข้ารอบ 20 ผลงาน และ รอบที่สอง เป็นการคัดเลือกผลงานที่ชนะการประกวดในแต่ละประเภท โดยใช้เกณฑ์ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. Innovation 2. Functionality/ Convenience 3. Graphic Appeal 4. Appropriateness Efficiency & Commercial 5. Environmental Performance และ 6. Overall Impression ซึ่งผู้ชนะทั้งหมดจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าประกวดในระดับเอเชีย (AsiaStar Awards) และระดับโลก (WorldStar Awards) ต่อไป นอกจากนี้ ประชุมได้กำหนดการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 ในวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (DIPROM Thai-IDC) กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระราม 4 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 มี.ค. 2023