Category
"ดีพร้อม" ปั้นทีม Agent ดีพร้อม Upskill / Reskill เสริมทักษะเติมทุนมนุษย์ในสถานประกอบการ SMEs ปั้นนักส่งเสริมมาตรฐานองค์กรผลิตภาพ สร้างความเสมอภาคให้ SMEs ตามที่ รมต.เอกนัฏ สั่งเซฟอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 29 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิด “การส่งเสริมมาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพ สร้างความสุขในสถานประกอบการให้ดีพร้อม (DIPROM)” ภายใต้การส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace) โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เซฟอุตสาหกรรมไทย โดย ดีพร้อม ได้บูรณาการกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการส่งเสริมมาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพ สร้างความสุขในสถานประกอบการให้ดีพร้อม (DIPROM) ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมาจนถึงระยะที่ 4 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการระหว่าง เดือนสิงหาคม 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2569 งบประมาณสนับสนุนจาก สสส. จำนวน 16.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารของสถานประกอบการมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเพิ่มผลิตภาพในองค์กร โดยเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคลากรในองค์กรด้วยแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) และเพื่อผลักดันให้มาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพถูกนำไปใช้ในงานส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ นอกจากนี้ รปอ.รก.อสอ. ณัฏฐิญา ยังมีความยินดี และเชื่อมั่นในหน่วยงานของดีพร้อมว่ามีบุคลากรที่มีความพร้อมในการเรียนรู้ Upskill / Reskill เสริมทักษะเติมทุนมนุษย์ในสถานประกอบการ SMEs สามารถประเมิน และรับรองสถานประกอบการสู่การรับรองมาตรฐานองค์กรผลิตภาพได้ พร้อมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ดีพร้อมมีความตระหนักในประโยชน์ของการนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นองค์กรผลิตภาพสร้างความเสมอภาคให้ SMEs และต่อยอดสู่ระดับนโยบายของดีพร้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความสุขของคนทำงานในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ รูปแบบการฝึกอบรมเป็นการบรรยายและ Workshop ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2567 และมีเจ้าหน้าที่ดีพร้อมจากทั้งในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมกว่า 200 คน
01 พ.ย. 2024
"ซอฟต์พาวเวอร์อย่างไร ให้ดีพร้อม" รับโจทย์ "รมต.เอกนัฏ" ตีแผ่แผนบูรณาการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นและอาหารไทย ปั้นกระแส เผยแพร่ โน้มน้าว
กรุงเทพฯ 29 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ Soft Power ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดคล้องกับนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ Soft Power ในระดับสากล เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย โดยแนวทางการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่ง “สร้างสรรค์ และต่อยอด” ให้เกิดเสน่ห์คุณค่าและเพิ่มมูลค่า แตกต่างด้วยอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรม เพิ่มทักษะ เทคนิคเชิงสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า “โน้มน้าว” ให้เกิดการยอมรับเปิดใจ สร้างการยอมรับผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งไทยและสากล ชักจูงให้เปิดใจผ่านการสร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระตุ้นความต้องการผ่านการถ่ายทอดของผู้ที่มีชื่อเสียง และ “เผยแพร่” ให้เป็นที่รู้จักผ่านการจัดอีเวนท์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานเทศกาลประจำปีของไทย ตลอดจนสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น Social Media ในปีงบประมาณ 2568 ดีพร้อมได้วางแผนการดำเนินการทั้งสิ้น 7 โครงการ โดยโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ประกอบด้วย 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ส่วนโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล และ 3) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ
01 พ.ย. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร เมื่อหมดไฟ (burnout) ในการทำงาน
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตร สร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร เมื่อหมดไฟ (burnout) ในการทำงาน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันอังคารที่ 26 พ.ย. 2567 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี รับสมัครสถานประกอบการ 5 กิจการ กิจการละ 8 คนเท่านั้น เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 22 พ.ย. 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางฐิติมา ทองเจริญ (08 9251 2516) นางสาวปัทมา โพธิ์ศรี (06 2683 2992)
01 พ.ย. 2024
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม ดีพร้อมพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ดีพร้อมพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญชวน : บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 90 ชั่วโมง Data Engineer : หลักสูตรอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในสถานประกอบการเพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัลผู้เข้าร่วมสามารถประเมินความพร้อมขององค์กรและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา การบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัลตามตัวชี้วัด Thailand i4.0 Index เข้าช่วยเพิ่มผลิตภาพในสถานประกอบการ และได้รับการสนับสนุนต่อยอดสู่การรับรองสมรรถนะสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) สิ่งที่จะได้รับ ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 90 ชั่วโมง ใบประกาศจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและใบรับรองคุณวุฒิของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการให้มีความรู้และความเข้าใจการบูรณาการระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกษิดิส เลาหะจินดา 08 1245 4724 0 2430 6071 ต่อ 4
01 พ.ย. 2024
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม บูรณาการระบบและข้อมูลการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคการผลิตเข้าร่วมกิจกรรม บูรณาการระบบและข้อมูลการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Data Integration) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสถานประกอบการให้มีศักยภาพสูงขึ้นด้วยการบูรณาการใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลำดับชั้นภายในองค์กร หรือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร /อุปกรณ์/เครื่องมือในกระบวนการผลิตพร้อมยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Thailand i4.0 Index) สิ่งที่ท่านจะได้รับ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการจำนวน 4 ครั้ง หรือ 24 ชั่วโมง/กิจการ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (Improvement) ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ การเก็บ / วิเคราะห์ / การดำเนินการตัดสินใจมีความยืดหยุ่นสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างทันท่วงที (Real time) โดยการติดตั้งโปรแกรมและการอบรมการใช้งาน จำนวน 1 Set/กิจการ รับจำนวนจำกัด ฟรี ตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกษิดิส เลาหะจินดา 08 1245 4724 0 2430 6071 ต่อ 4
01 พ.ย. 2024
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน
กองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ SME เข้าร่วมโครง การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SME ในการปรับปรุงการผลิต/การบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย อุตสาหกรรม S-Curve อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณนัยนา 02 6195 5000 ต่อ 104 naiyana@ftpi.or.th
30 ต.ค. 2024
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรม วางแผนจำลองธุรกิจมืออาชีพและข้อกฎหมายสินค้า-บรรจุภัณฑ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ จากศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (บิสคลับ) สุราษฎร์ธานี เชิญอบรมวางแผนจำลองธุรกิจมืออาชีพและข้อกฎหมายสินค้า-บรรจุภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 7 - 8 พฤศจิกายน 2567 ณ สำนักงานพาณิชย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน-นิติบุคคล และผู้สนใจทั่วไป หัวข้ออบรมสำคัญ Story Telling สร้างคุณค่าท้องถิ่นสู่สากลยั่งยืน แผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์การวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมาย แผนปกป้อง เพื่อป้องกันสินค้าเชิงกลยุทธ์ แผนธุรกิจมืออาชีพ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ใบรับรองมาตรฐาน รองรับตลาดการค้าไทย-เทศ ข้อกฏหมายฉบับมาตราใหม่กับผลกระทบธุรกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจเข้าสู่ Modern Trade ทั้งภายในประเทศและเตรียมพร้อมสู่การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดย Biz Club สุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณยุ้ย ประธานบิสคลับ สุราษฎร์ธานี 09 5456 2964
30 ต.ค. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมโครงการ Biz Level Up From CREATOR TO CHARACTER (CxC)
ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการ Biz Level Up From CREATOR TO CHARACTER (CxC) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรม : พัฒนาศักยภาพนักสร้างสรรค์และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในกลุ่มคาแรคเตอร์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) กิจกรรมโครงการ WORKSHOP : เรียนรู้เทคนิคและแนวคิดจากวิทยากรชั้นนำของประเทศไทย CONSULT : รับคำปรึกษาเชิงลึกเพื่อพัฒนาศักยภาพของคุณ MATCHING : จับคู่ระหว่าง SMEs และ Creator เพื่อรังสรรค์ผลงานสื่อ PROTOTYPE : สร้าง/รับผลิตภัณฑ์ต้นแบบคาแรคเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา PITCHING : ชิงรางวัลประกวดผลงานชนะเลิศ มูลค่ารวมกว่า 120,000 บาท !! คุณสมบัติของผู้สมัคร โครงการรับสมัครจำนวนจำกัด เพียง 30 ท่าน เท่านั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มผู้เข้าร่วม กลุ่มที่ 1️ CREATOR (นักสร้างสรรค์) เป็นนักสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ (Character Creators) อาทิ Graphic Designer, Illustrator, Artists, Product Designer, Photographer ที่มีความสามารถ ประสบการณ์ ด้านการออกแบบคาแรคเตอร์ หรือ เป็นนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creators) อาทิ Media Creator, Tiktoker, Influencers, Youtuber, Instagrammer ที่มีความสามารถ ประสบการณ์ ด้านการออกคอนเทนต์ หรือ สื่อมัลติมีเดีย เคยมีผลงานการออกแบบคอนเทนต์ หรือ ออกแบบคาแรคเตอร์ อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน หรือ ลำปาง รับเพียง 20 ท่าน เท่านั้น สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ CREATOR กลุ่มที่ 2️ SMEs ที่ต้องการสร้างคาแรคเตอร์ (Character) จดทะเบียนนิติบุคคล หรือ ทะเบียนพาณิชย์ ประกอบกิจการในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน หรือ ลำปาง มีผลิตภัณฑ์ (สินค้า/บริการ) เชิงพาณิชย์ ต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มีแนวคิดต้องการพัฒนาคาแรคเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์ อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รับเพียง 10 กิจการเท่านั้น สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาโครงการ 5 พฤศจิกายน 2567 - 20 เมษายน 2568 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 ตุลาคม 2567 นี้เท่านั้น ทุกกิจกรรมจัดที่โรงแรมชั้นนำในตัวเมืองเชียงใหม่ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียดช่วงเวลาโครงการโดยสังเขปดังนี้ WORKSHOP - ทุกวัน อังคาร และ พุธ ในเดือน พ.ย. 67 CONSULT - 3-6 ครั้ง ระหว่าง ธ.ค. 67 - ก.พ. 68 MATCHING - 18, 19, 20 มี.ค. 68 PITCHING - 25 มี.ค. 68 SHOWCASE - 19, 20 เม.ย. 68 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 09 5631 3331 08 6918 5553 08 0124 7099 08 3760 1306
29 ต.ค. 2024
"เอกนัฏ" ลุยตรวจพื้นที่อยุธยา ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ลั่นเอาผิดผู้ลักลอบและเพิ่มโทษทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด!
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : 25 ตุลาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจราชการ อำเภอภาชีและอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมใน 2 พื้นที่ คือ 1) โกดังเก็บของเสียและวัตถุอันตราย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมประมาณ 4,000 ตัน ถูกเททิ้งอยู่โดยรอบอาคารโกดังเก็บของเสียอันตรายจำนวน 5 โกดัง และมีการลอบวางเพลิงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ทำให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของมลพิษ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดทำคันดินป้องกันการรั่วซึมและการชะล้างสารเคมีในช่วงฤดูฝน และได้ว่าจ้างบริษัทผู้รับกำจัดเข้าทำการบำบัดกำจัดกากของเสียและสารอันตรายในระยะเร่งด่วน ด้วยงบประมาณ 6.9 ล้านบาท โดยได้เริ่มเข้าดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2567 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในเบื้องต้น 2) บริษัท เอกอุทัย จำกัด อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบการเททิ้งของเสียบริเวณหน้าพื้นที่โรงงาน มีร่องรอยการเททิ้งของเหลวที่เป็นวัตถุอันตรายที่มีสภาพเป็นกรดเข้มข้นเต็มพื้นที่บริเวณโรงงาน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน พร้อมดำเนินคดี และสั่งการให้บริษัทฯ นำกากของเสียและสารอันตรายไปกำจัดและบำบัดให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน จึงได้จัดทำคันดินป้องกันการรั่วซึมและการชะล้างสารเคมีในช่วงฤดูฝน และได้ว่าจ้างบริษัทผู้รับกำจัดเข้าทำการบำบัดกำจัดกากของเสียและสารอันตรายในระยะเร่งด่วน ด้วยงบประมาณ 4 ล้านบาท โดยได้เริ่มเข้าดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2567 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในเบื้องต้น “กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รัดกุม และครอบคลุมถึงการบรรเทาเยียวผู้ที่ได้รับผลกระทบตลอดจนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกำลังเร่งดำเนินการยกร่าง กฎหมายเพื่อการจัดการกากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำการตรวจสอบกำกับดูแล เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาลักลอบทิ้งกากของเสียจากภาคอุตสาหกรรมเชิงรุกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตรวจกำกับ สั่งการ เพิกถอนใบอนุญาต และขอยืนยันว่าจะมีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำความผิดจนถึงที่สุด” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย
28 ต.ค. 2024
"เอกนัฏ" ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอยุธยา ย้ำพื้นที่เศรษฐกิจปลอดภัย พร้อมรับมือน้ำหลากเต็มพิกัด
25 ตุลาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธนกฤต โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นายสุโชติ ศิริยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และ นางสาวกรชวัล สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วม เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประเทศ “การลงพื้นที่วันนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ทางนิคมฯ เขตประกอบการฯ สวนอุตสหากรรม และโรงงานต่าง ๆ มีการเตรียมความพร้อมที่ดีและเพียงพอต่อการรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยที่มีแนวโน้มว่าจะค่อนข้างรุนแรงกว่าปีก่อน แม้ว่าขณะนี้พื้นที่โดยรอบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ้างแล้ว แต่พื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหรรม ตั้งอยู่ยังไม่ได้รับผลกระทบ และขอให้เชื่อมั่นว่าเราได้เตรียมการรับมืออย่างเต็มกำลัง มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน ด้วย 8 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.จัดการระบบระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 2.เสริมคันกั้นน้ำ 3.ระบบสูบน้ำพร้อมใช้ 4.อุปกรณ์ครบพร้อมช่วยเหลือ 5.ติดตามสถานการณ์ 24 ชั่วโมง 6.เฝ้าระวังประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง 7.ซ้อมแผนรับมือเป็นประจำ และ 8.สื่อสารแจ้งเตือนผ่านทุกช่องทาง“ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
28 ต.ค. 2024