Category
กสอ. ยิงจรวด 3 ขั้น นำดิจิทัลปั้นอุตสาหกรรมไทยให้แข็งแกร่ง
กรุงเทพฯ 13 พฤศจิกายน 2563 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมการส่งเสริม SMEs เข้าสู่ระบบการผลิตด้วยจรวดสามลูก ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ห้องแกรนด์บอลรูม กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “Connected Industries” ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้เพิ่มศักยภาพและสร้างธุรกิจเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจนสามารถเป็นต้นแบบจำนวน 12 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านกระบวนการลดของเสียในภาคการผลิต การลดต้นทุนด้านแรงงานและเครื่องจักร และการเพิ่มขึ้นของยอดขาย คิดเป็นจำนวนเงิน 373.7 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการให้เห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างให้เกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนาสถานประกอบการให้ประสบความสำเร็จ โดยในปี 2564 กสอ. ตั้งเป้าหมายในการผลักดันผู้ประกอบการด้วยแนวคิดจรวด 3 ลูกเพิ่มเติมอีก 60 กิจการทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีศักยภาพในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2020
"อธิบดีณัฐพล" ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการด้านการแพทย์ถิ่นลำพูน
จ.ลำพูน 12 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และกิจกรรมยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ภายใต้ มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทยดีพร้อมทันที 90 วัน อสอ. และคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชม บจก. เอส.เจ. อีควิปเมนท์ แอนด์ แคร์ ซึ่งมี นายเสกสรร คชพรม เจ้าของกิจการ ให้การต้อนรับ โดย บริษัทฯ ดังกล่าว เป็นสถานประกอบการที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ หน้ากากอนามัย โต๊ะวางเครื่องมือแพทย์ และ รถเข็นวีลแชร์ เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการกับ กสอ. ผ่านกิจกรรมยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนสามารถได้มาตรฐานโครงสร้างอาคาร การจัดวางเครื่องจักรให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนการจัดทำมาตรฐานในการผลิตเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในภายภาคหน้า และในเวลาต่อมาได้เข้าเยี่ยมชม หจก. ธวัชแมชชีนเทค โดยมี นายธวัช ธนันชัย เจ้าของกิจการ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องจักรกล ซึ่งต่อมาทางผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จึงได้ปรับตัว ดำเนินการสร้างเครื่องจักรเพื่อผลิตหน้ากากอนามัย และพัฒนาจนปัจจุบันสามารถผลิตได้ 300,000 ชิ้นต่อวัน และเข้าร่วมโครงการฯ กับ กสอ. จนนำไปสู่การพัฒนาผลิตต้นแบบรถอีวี (รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า )สำหรับผู้พิการและต้นแบบเครื่องพยุงสำหรับฝึกเดิน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังได้มีความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเวียนกับ กสอ. เพื่อนำเงินทุนที่ได้มาใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2020
ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs เกษตรแปรรูปและอาหารแปรรูปเข้ารวมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อขายสินค้าใน Trend ปัจจุบัน"
ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหารแปรรูป เข้าร่วมฝึกอบรม ฟรี กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 (Ready to SME 4.0 Program) โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระยะเวลา 1 วัน ตั้งแต่เวลา 9.00 -17.30 น. ณ โรงแรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (1 ท่านเลือกเข้าร่วมได้เพียง 1 หัวข้อเท่านั้น) ครั้งที่ 1 "เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อขายสินค้าใน Trend ปัจจุบัน" โดย อ.ปารณ ตรีวิวัฒน์ (วันที่ 25 พ.ย.63) ปิดรับสมัครวันที่ 22 พ.ย.63 ครั้งที่ 2 "ออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างไรในยุค New Normal" โดย อ.นลินี ทองแท้ (วันที่ 16 ธ.ค.63) ปิดรับสมัครวันที่ 13 ธ.ค.63 ** หากท่านได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมฝึกอบรมดังกล่าว ** ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมแจ้งกำหนดการและสถานที่ให้ท่านทราบก่อนวันงานทาง E-mail ที่ท่านสมัคร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 022024493 (ตามวันและเวลาราชการ)
12 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” บินตรงเมืองรถม้า ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่บุคลากร ศว.กสอ. พร้อมเน้นย้ำการปรับกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
จ.ลำปาง 12 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศว.กสอ.) จ.ลำปาง ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กสอ. นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. โดยมี นายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ศว.กสอ. ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับฟังผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ และการให้บริการของ ศว.กสอ. ที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางการดำเนินงานและการให้บริการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ ท่านอธิบดีณัฐพลยังได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ศว.กสอ. โดยเน้นย้ำการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างตรงจุด ตลอดจนมุ่งเน้นการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามความต้องการในเชิงพื้นที่มากขึ้น ขณะเดียวกันยังได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ ศูนย์ ITC 4.0 จ.ลำปาง ซึ่งเน้นการยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 พ.ย. 2020
สัมมนาเผยแพร่ผลลัพธ์โครงการจัดตั้งทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจฉริยะของประเทศไทย (Smart Monozukuri) ประจำปี พ.ศ. 2563
กสอ. ร่วมกับ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) ประจำประเทศไทย และ Japan Thailand Economic Cooperation Society (JTECS) จัดงาน “สัมมนาเผยแพร่ผลลัพธ์โครงการจัดตั้งทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจฉริยะของประเทศไทย (Smart Monozukuri) ประจำปี พ.ศ. 2563” ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 - 16.10 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม ติดต่อสอบถาม เกวลี ล่อใจ 02-202-4592
11 พ.ย. 2020
กสอ. โชว์ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมปั้นต้นแบบรุ่นแรกของไทย เสริมแกร่งสู่ตลาดระดับโลก
กรุงเทพฯ 10 พฤศจิกายน 2563 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านหลักสูตร GA The Creation ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 ตึก Pegasus ทรู ดิจิทัล พาร์ค โครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ หรือ จีเนียส เดอะ ครีเอชั่น เป็น 1 ในหลักสูตรของ Genius Academy โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะที่เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม โดยการยกระดับธุรกิจเกษตรวิถีใหม่และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่ SME เกษตรอุตสาหกรรมในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามารถเป็นต้นแบบของ SME เกษตรอุตสาหกรรม ด้วยการเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวและชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจผ่านการผสมผสานของพลังความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์ด้านการออกแบบ และนำไปสู่การขยายผลทางธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ ตามศักยภาพ อัตลักษณ์ และคุณค่าของพื้นถิ่นนั้นๆ ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสในการเติบโตสู่ตลาดการแข่งขันในระดับโลกได้ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 200 กิจการ ผ่านการคัดเลือกบ่มเพาะ วินิจฉัย และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกและคัดเหลือเข้ารอบสุดท้าย 10 กิจการ ซึ่งได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และจัดทำสื่อสำหรับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านโซเชียลมีเดีย ให้เป็นที่รู้จักและขยายผลความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และในโอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังได้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 พ.ย. 2020
ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME (คพอ.) ปีงบประมาณ 2564
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจแบบมืออาชีพ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการยกระดับธุรกิจ ด้านการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านการผลิต แผนการตลาด การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมองค์กร การจัดการทรัพยากรบุคคล ยุค 4.0 การเงินธุรกิจสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ การสร้างนวัตกรรม การวางแผนภาษี Design Thinking คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หุ้นส่วนหรือทายาท หรือผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจในธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตร/เกษตรแปรรูป และต้องดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
10 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” ลงพื้นที่ตรวจราชการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น
จ.ชลบุรี 6 พฤศจิกายน 2563 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจราชการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ร่วมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายสมชาย โกกนุทาภรณ์ ประธานกลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น อ.หนองใหญ่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น เป็น Bio-Circular Green Complex แห่งแรกของเอเชีย ภายในประกอบด้วยโรงงานเกษตรแปรรูป ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพลังงานทดแทน พร้อมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศตั้งให้เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมลำดับที่ 26 ของประเทศ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ถือเป็นความสำเร็จที่ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันผลักดันเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลหลายด้าน ที่เน้นแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชั้นนำแห่งเอเซีย Asia Leading Bio Circular Green Complex (BCG Complex) มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการที่เกื้อกูลกัน เสริมความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการให้สามารถประกอบกิจการร่วมกันได้ พัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสีย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม (Transform Zero Wasted to Waste to Value) ด้วยระบบนิเวศน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน (Eco Industrial Estate & Network) และในโอกาสนี้ รมว.สุริยะ นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วยคณะผู้บริหารไทยอีสเทิร์นร่วมปลูกไม้มงคลต้นกันเกราอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” ประชุมใหญ่สามัญเพื่อเกษตรภาคตะวันออก พร้อมมอบเครื่องสางใบอ้อยให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย จ.ชลบุรี
จ.ชลบุรี 6 พฤศจิกายน 2563 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 สมาคม เพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก พร้อมทั้งมอบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยแก่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก และเครื่องสางใบอ้อยให้แก่เกษตรชาวไร่อ้อย จำนวน 2 เครื่อง ร่วมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ ณ หอประชุมใหญ่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง การประชุมครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ในฤดูการผลิต 2563/2564 ด้วย 3 มาตรการ คือ 1. ลดอ้อยไฟไหม้เหลือร้อยละ 20 ด้วยมาตรการส่งเสริมให้ราคาอ้อยสดสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ 2. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้จัดหาเครื่องสางใบอ้อย ให้กับชาวไร่อ้อยสมาชิกกลุ่มเรียนรู้พัฒนาด้านอ้อยยืม จำนวน 112 เครื่อง 3. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติให้ความเห็นชอบหักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ในอัตราตันละ 30 บาท จ่ายคืนให้กับชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีทุกรายเต็มจำนวนโดยคิดแยกเป็นรายโรง และมีนโยบายที่จะผลักดันโครงการเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด ลดฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดมีรายได้รวมมากกว่าชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยไฟไหม้ เป็นการจูงใจให้ชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน พร้อมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะฯ ได้มอบเครื่องสางใบอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อจะช่วยให้คนงานตัดอ้อยสดได้รวดเร็วขึ้น โดยเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวไร่อ้อย ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกอ้อยต่อไป และเป็นการสนับสนุนและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถลดพื้นที่การเผาอ้อยได้ 1.2 ล้านไร่ ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562 - 2564 วงเงินปีละ 2,000 ล้าน บาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 พ.ย. 2020