Category
ดีพร้อม ชี้แจงการทำงานใน ปี 66 พร้อมผลักดัน ผปก.กว่า 1 หมื่นราย
จ.เพชรบุรี 7 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) จากส่วนกลางและภูมิภาคร่วมฟังการชี้แจงการบันทึกแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ งบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงแนวทางการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาอาชีพ เสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” และแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี กองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นหน่วยงานในการชี้แจงในครั้งนี้ ณ ห้อง เพชรบุรีแกรนด์ฮอลล์ โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท โดยทางกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการบันทึกแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ งบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อความถูกต้อง ซึ่งให้ทุกหน่วยงานดำเนินการบันทึกแผนการปฏิบัติงานฯ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ขณะเดียวกัน ยังได้ชี้แจงรายละเอียดแนวทางการติดตามและขั้นตอนการรายงานผลการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาอาชีพ เสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” พร้อมทั้งตอบข้อซักถามจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่ง ดีพร้อม มีเป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 10,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 7 พันล้านบาท ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ส.ค 2022
ดีพร้อม ประชุม คกก. บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ กสอ. ครั้งที่ 1/2565
จ.เพชรบุรี 6 สิงหาคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประธานคณะกรรมการฯ พร้อมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้อง พริ้มพรี โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท การประชุมในครั้งนี้ เพื่อรายงานผลการตรวจจับและวิเคราะห์ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ การรายงานการใช้อินเตอร์เน็ตและโปรแกรม Zoom Meeting ของแต่ละหน่วยงาน และพิจารณาร่างประกาศ กสอ. เรื่องแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของ กสอ. ปี 2565 - 2566 ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ส.ค 2022
ดีพร้อม กางแผน โครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” สร้างกลไกลดรายจ่ายเพิ่มรายได้แก่ชุมชน
จ.เพชรบุรี 6 สิงหาคม 2565 – นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟัง แนวทางการดําเนินงานงบประมาณกลางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านโครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” ร่วมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้อง เพชรบุรีแกรนด์ฮอลล์ โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท คณะผู้บริหารดีพร้อม โดย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 (DIPROM CENTER 2) นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 (DIPROM CENTER 5) และนายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ได้ร่วมกันถ่ายทอดแนวทางการดําเนินงานงบประมาณกลางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านโครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และทักษะอาชีพพื้นฐานที่จำเป็น ด้านการผลิตและการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ เป้าหมายการพัฒนา 700,000 คน สร้างกลไกเข้าถึงการสร้างมูลค่าในวัสดุท้องถิ่นเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนในพื้นที่ ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ส.ค 2022
อธิบดีณัฐพล มอบนโยบายฯ ประจำปีงบฯ 66 แก่บุคลากรดีพร้อม
จ.เพชรบุรี 6 สิงหาคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวมอบนโยบายการดําเนินงานของ กสอ. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้อง เพชรบุรีแกรนด์ฮอลล์ โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท โดยอธิบดีณัฐพลได้เน้นย้ำถึงการสร้างทิศทางการทำงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน แก้ไขจุดบกพร่องการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม/โครงการต่าง ๆ การจ้างที่ปรึกษา ตลอดจนโลโก้ของแต่ละกิจกรรม/โครงการ ที่ทับซ้อนและมากมายเกินความจำเป็นส่งผลให้ภาพลักษณ์ของดีพร้อมเป็นที่จดจำได้ยากขึ้น สู่การทำงานที่มีความชัดเจนมากขึ้นทั้งการใช้โลโก้ และการใช้ชื่อของกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ส.ค 2022
กลยุทธ์พื้นฐานกับ Marketing Funnel ที่ควรรู้
กลยุทธ์พื้นฐานกับ Marketing Funnel ที่ควรรู้ การทำการตลาดไม่ใช่เพียงแค่การทำโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้ามีความสนใจแบรนด์ของเรามากยิ่งขึ้นด้วยการทำกลยุทธ์ Marketing Funnel ที่เราสามารถมองเห็นภาพรวมของแผนการตลาดจึงทำให้วางแผนได้ง่ายขึ้น Marketing Funnel คืออะไร การทำกลยุทธ์ Marketing Funnel เป็นการวางแผนการตลาด ที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจในโครงสร้างแบบกรวย Marketing Funnel แต่ละระดับมีอะไรบ้าง Awareness stage คือ ขั้นตอนการรับรู้แบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้จักเรามากขึ้น Interest stage คือ ขั้นที่ลูกค้าเริ่มสนใจ เริ่มเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม Consideration stage คือ ขั้นที่เริ่มคิดถึงแบรนด์ เริ่มทำการเปรียบเทียบ Purchase, Decision คือ ขั้นที่ลูกค้าทำการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า Retention คือ ขั้นที่เราจะสื่อสารกับลูกค้าเก่าต่างๆเพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม Marketing Funnel สำหรับนักการตลาดมือใหม่ Awareness การโปรโมตแบรนด์ในช่องทางต่างๆ เช่น Google Ads, YouTube, Facebook Page หรือ Influencer Interest การทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจและมีคุณภาพ สร้างสรรค์ความบันเทิง เพื่อรักษาผู้ติดตามและเพิ่มยอดผู้ติดตาม Consideration สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ โดยการนำจุดเด่นของแบรนด์ออกมาโน้มน้าวลูกค้าให้เลือกแบรนด์ของเรา ที่มา : เว็บไซต์ NerdOptimize, เว็บไซต์ COTACTIC, เว็บไซต์ DIGITAL MIND HUB
04 ส.ค 2022
การวางระบบบัญชีคืออะไร
การวางระบบบัญชีคืออะไร การวางระบบบัญชีคือการที่องค์กรกำหนดนโยบายทางธุรกิจ เพื่อกำกับรูปแบบการทำงานของฝ่ายบัญชี ให้ตรงกับกิจกรรมและกลยุทธ์ขององค์กร ข้อดีของการวางระบบบัญชี ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน สามารถตรวจสอบรายการบันทึกบัญชีย้อนหลังได้ ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความซ้ำซ้อน และประหยัดเวลาในการทำงาน สามารถเชื่อมต่อกับระบบหรือโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ไม่ต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลใหม่ ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาตรวจสอบบัญชี จัดเก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัย และเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านอินเตอร์เน็ต องค์ประกอบของการวางระบบบัญชี หลักฐานทางบัญชี บันทึกหรือเอกสารที่ใช้ในการลงบัญชี สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก จัดทำโดยฝ่ายบัญชี เพื่อให้กลุ่มคนภายนอก จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบัญชี เพื่อใช้ในกิจการของตน นโยบายธุรกิจและนโยบายบัญชี นโยบายธุรกิจคือแนวทางที่บุคลาการในองค์กรทุกคนยึดมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร ส่วนนโยบายบัญชีคือมาตรฐานการรายงานทางบัญชีเพื่อที่จะตรวจสอบฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานขององค์กร วิธีปฏิบัติงานทางบัญชี ขั้นตอนการทำงานที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ใช้กับการบันทึกกิจกรรมของธุรกิจ โดยวิธีปฏิบัติงานทางบัญชี ประกอบไปด้วยคู่มือการปฏิบัติงานตามระบบบัญชี เอกสารแบบฟอร์มทางบัญชี (ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน) แผนผังทางเดินของเอกสาร (Flowchart) และวิธีการบันทึกบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการทำงานบัญชี ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมทางบัญชี อินเตอร์เน็ต เป็นต้น บุคลากร คนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบบัญชี ได้แก่ ฝ่ายบริหาร นักพัฒนาและวิธีเคราะห์ระบบ การควบคุมภายในของระบบบัญชี การนำหลักการควบคุมภายในมาใช้ในการวางระบบบัญชี เพื่อให้ระบบบัญชีมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามนโยบายของกิจการ รวมถึงเป็นระเบียบข้อบังคับตามกฎหมายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพสามิต สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น ที่มา : เว็บไซต์ Nanosoft, เว็บไซต์ Peakaccount, เว็บไซต์ P2Paccounting
04 ส.ค 2022
"อธิบดีณัฐพล" เดินหน้าสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการผลิตผลไม้ไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 3 สิงหาคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการหารือแนวทางการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการผลิตผลไม้ไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร. อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด วิศวกรชำนาญการพิเศษ รักษาการวิศวกรเชี่ยวชาญ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) พร้อมด้วย นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร และคณะ เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาวัตถุดิบการเกษตรล้นตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำประจำซ้ำซาก ด้วยการยกระดับการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเป็นจุดเปลี่ยน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลไม้ที่ตกมาตรฐาน หรือ มีมากเกินความต้องการ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดความสูญเสีย และมีโอกาสทางการตลาดใหม่ของฝรั่ง อะโวคาโด มะม่วง และผลไม้อื่น ๆ ภายใต้แนวคิด ลดการสูญเสียของอาหาร (Food Loss & Food Waste) ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางรายได้ เพิ่มทางเลือกด้านอาหารสุขภาพ และช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ดีพร้อม เน้นการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจ โดยการเพิ่มศักยภาพการผลิต ถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะการแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่ผู้ประกอบการ และพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มผลไม้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาไปทดลองจำหน่ายในงานแสดงสินค้า พร้อมทั้งขยายผลให้วิสาหกิจสามารถเข้าถึง OEM ได้มากขึ้นต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการผลักดันการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานผลไม้ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ เกษตรกร จนถึงปลายน้ำ คือ ผู้แปรรูป และผู้บริโภค ให้เกิดความเข้มแข็ง ลดความเสี่ยงด้วยการบริหารจัดการ รวมถึงช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรและวิสาหกิจแปรรูป ซึ่งคาดว่าวัตถุดิบเกษตรที่ได้รับการพัฒนาสู่เกษตรอุตสาหกรรมจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 16 ล้านบาท ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 ส.ค 2022
ครม. อนุมัติงบกลางให้ 'ดีพร้อม'! เร่งพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ผ่านกลไก “7 วิธี ปั้นชุมชนดีพร้อม”
กรุงเทพฯ 2 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เข้าร่วมชี้แจงการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อดําเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล การเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ และอนุมัติงบประมาณ ในการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม เพื่อดำเนินการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายหลังวิกฤตโควิด-19 โดยมีเป้าหมายการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการดําเนินโครงการ หรือกิจกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงการสร้างการเข้าถึงช่องทางการตลาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพและมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับท้องถิ่นและชุมชนให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืนและรองรับภาวะปกติใหม่ ภายใต้กรอบวงเงิน 1,249,296,000 บาท ดีพร้อม ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคนในชุมชนที่ถูกเลิกจ้างงานและกลับคืนถิ่นฐาน ตลอดจนประชาชนที่สนใจเพิ่มทักษะองค์ความรู้ ให้ตนเองกว่า 700,000 คน ใน 400 พื้นที่ทั่วประเทศให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และทักษะอาชีพพื้นฐานที่จำเป็น ด้านการผลิตและการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ การบริหารจัดการเงินในภาคครัวเรือน/ภาคธุรกิจ การจัดทำ แผนธุรกิจ การบัญชี การตลาด ฯลฯ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดการสร้างงาน การสร้างรายได้ และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน โดยสามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 12,490,000,000 บาท ทั้งนี้ กลไก “7 วิธี ปั้นชุมชนดีพร้อม” ประกอบด้วย แผนชุมชนดีพร้อม คนชุมชนดีพร้อม แบรนด์ชุมชนดีพร้อม ผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม เครื่องจักรชุมชนดีพร้อม ตลาดชุมชนดีพร้อม และเงินหมุนเวียนดีพร้อม ซึ่ง 1 ใน 7 วิธี คือ “คนชุมชนดีพร้อม” ได้ดําเนินงานนำร่องผ่านโครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” เพื่อเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจ พึ่งพาตัวเองและมีอาชีพใหม่ สร้างโอกาส ในการเพิ่มรายได้กลับคืนสู่ชุมชนใน 7 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิจิตร จังหวัด นครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดยะลา ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
03 ส.ค 2022
“อธิบดีณัฐพล” เปิดมหกรรม “ดีพร้อมแฟร์ 2022 - ชิม ช้อป แชร์ CARE ผู้บริโภค” หวังช่วย ผปก. เพิ่มช่องทางจำหน่าย-จับคู่ธุรกิจ คาดเงินสะพัดภายในงานกว่า 2 ลบ.
กรุงเทพฯ 1 สิงหาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเปิดงาน “DIPROM FAIR 2022 - ชิม ช้อป แชร์ CARE ผู้บริโภค” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารดีพร้อม (DIPROM) นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย ประธานฟู้ดทรัคคลับ (ประเทศไทย) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ต่าง ๆ และผู้ประกอบการเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณหน้าห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) DIPROM FAIR 2022 - ชิม ช้อป แชร์ CARE ผู้บริโภค จัดขึ้น เพื่อจัดแสดงผลงานและศักยภาพของผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจาก ดีพร้อม (DIPROM) รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนได้จําหน่ายสินค้า ทดสอบตลาดเชิงประสบการณ์ (Experiential Marketing) และสร้างการรับรู้ในแบรนด์สินค้า เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการเปรียบเทียบสินค้ากับคู่แข่ง และเปิดโอกาส ให้ผู้บริโภคพิจารณาคัดเลือกจับจ่ายใช้สอยสินค้าได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ที่เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค และนําไปปรับปรุงสินค้าและบริการ ตลอดจนการกําหนดกลยุทธ์ การตลาดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป สำหรับงานดังกล่าว มีผู้ประกอบการจากทั่วประเทศที่ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนจาก ดีพร้อม อาทิ โครงการ คพอ. MDICP Cluster และ Food Truck จำนวนกว่า 100 ร้านค้า ประกอบด้วยสินค้าต่าง ๆ มากมาย เช่น เครื่องหนัง รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า เกษตรแปรรูป อาหารและเครื่องดื่มเลิศรส เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบูธเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมอ. และสินค้าจากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กสอ. เข้าร่วมจําหน่ายสินค้าในราคาพิเศษ ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคมนี้ และคาดว่าตลอดการจัดงาน 5 วัน จะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 ส.ค 2022
ขอเชิญเข้าร่วม สัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Metaverse”
สัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Metaverse” กิจกรรมที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับสิทธิพิเศษสำหรับผู้รับชม LIVE ยุคนี้เป็นยุคที่เกิด Disruption ต่าง ๆ ขึ้นมากมายในโลกธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือ Metaverse มันคืออะไร ? สามารถส่งผลต่อธุรกิจของคุณได้อย่างไร ? ร่วมมาหาคำตอบกันได้ในกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Metaverse” โดยคุณเพ็ชร ประภากิตติกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโคโนมี่ โกลบอล จำกัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการเร่งขีดความสามารถธุรกิจดิจิทัล ที่จะมาชี้แนะแนวทางให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับตัวเข้าให้เข้ากับยุค Metaverse ได้ หัวข้อการบรรยาย ทำความรู้จักกับ Metaverse และเทรนด์ในปัจจุบัน Metaverse มีผลกระทบต่อโลกธุรกิจอย่างไร วิธีปรับตัวสำหรับ SMEs ในยุค Metaverse ร่วมผจญภัยในโลก Metaverse ไปด้วยกัน วันที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 13:30-15:45 น. ผ่าน Facebook Live YouTube Live ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดตามลิงก์การเข้าร่วมอบรมได้ที่ Facebook Fanpage : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - DIProm YouTube Live : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถ้าไม่อยากพลาดกิจกรรมดีดีอย่าลืมกดติดตามช่องทางของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
01 ส.ค 2022