Category
"รสอ.สุชาดา" นำขุนพลเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568”
กรุงเทพฯ 27 มิถุนายน 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม เตรียมความพร้อมสำหรับเข้าร่วมประชุมการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” ของ สศช. โดยมี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ชั้น 4 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจร่วมกันถึงการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเชื่อมโยงภารกิจ หน้าที่ และพันธกิจของดีพร้อม และสรุปความเกี่ยวข้องของโครงการกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) Final Value Chain Thailand และปัจจัยกล่องแดงประจำปีงบประมาณ 2568 ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มิ.ย. 2023
“รสอ.วาที” หารือโครงการ SHAP เฟส 4
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2566 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือการดำเนิน โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (โครงการ SHAP เฟส 4)โดยมี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข ระยะที่ 4 เป้าหมายและผลผลิต พร้อมทั้ง การสร้างองค์ความรู้และสำรวจความพึงพอใจคณะทำงาน SHAP Agents กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงได้จัดตั้ง Happy Workplace Center เป็นศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรในสถานประกอบการด้วยมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (มอส.) ด้วย 12 เมนูสร้างสุข เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทุกภาคส่วนมีความเห็นพ้องในด้านความร่วมมือในพัฒนาการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มิ.ย. 2023
“รสอ.วัชรุน” ระดมความคิดเห็น ป.ย.ป เร่งบูรณาการสร้าง Soft Power
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อ "การใช้ Soft Power เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการ Workation และการยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ" ภายใต้หลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมกระจูด ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการบูรณาการนวัตกรรมเชิงนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” สู่ความสำเร็จ 4 มิติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานรากให้มีศักยภาพและเติบโต ชูศักยภาพ Soft Power ด้านอาหาร ตลอดจนด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในการผลักดัน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) ผ่านมรดกทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ได้แก่ (1) อาหาร (Food) (2) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) (3) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) (4) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ (5) เทศกาลประเพณีไทย (Festival) เพื่อผลักดันให้ 5F เป็นพลังในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจประเทศและเชื่อมโยงวัฒนธรรมไทยสู่สากลต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มิ.ย. 2023
“รสอ.วาที” มอบนโยบายกองโลจิสติกส์
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2566 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมรับมอบนโยบายของกองโลจิสติกส์ โดยมี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอพันธกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างและอัตรากำลัง ผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายในภาพรวมของ กล.กสอ. นอกจากนี้ รสอ.วาที มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้การพัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 มิ.ย. 2023
ดีพร้อม เยือนบ้านถั่วลิสง เดินหมากเสริมแกร่งด้านการผลิตและเชื่อมโยงเครือข่าย
จ.น่าน 25 มิถุนายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชม บริษัท บ้านถั่วลิสง จำกัด โดยมี คุณอารีย์ เพ็ชรรัตน์ ผู้บริหารบริษัทฯ ให้การต้อนรับพร้อมสรุปภาพรวมการทำงาน ณ อำเภอเมืองน่าน บริษัท บ้านถั่วลิสง จำกัด คือ ผู้ผลิตสินค้าแปรรูปถั่วลิสงครบวงจร ปลูกโดยเครือข่ายเกษตรในท้องถิ่น ต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบท้องถิ่น ด้วยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาวงการเกษตรกรรมของไทยได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยการสร้างเป็นศูนย์กระจายสินค้าของฝากชื่อดังจังหวัดน่าน โดยมีผลิตภัณฑ์หลากหลายกว่า 20 แบบ อาทิ น้ำนมถั่วลิสงแบบ 100% น้ำมันถั่วลิสง คุกกี้ถั่วลิสง ทั้งนี้ อธิบดีใบน้อยฯ ได้สั่งการให้ทีมดีพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การให้ชุมชนมีเข้มแข็งมากขึ้น การใช้ระบบออโตเมชั่นเสริมด้านการผลิตแปรรูปถั่วลิสง และต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ธุรกิจของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งการเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 มิ.ย. 2023
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมเครื่องประดับเงิน เมืองปู่ม่านย่าม่าน
จ.น่าน 25 มิถุนายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์เครื่องเงินดอยซิลเวอร์ แฟคทอรี่ DOI SILVER FACTORY โดยมี นายสมชาย รุ่งรชตะวานิช กรรมการผู้จัดการให้การต้อนรับ ณ ตำบลสถาน อำเภอปัว ดอยซิลเวอร์ แฟคทอรี่ เป็นศูนย์หัตถกรรมเครื่องประดับเงิน มากด้วยประสบการณ์ด้านเครื่องประดับเงินกว่า 70 ปี มีช่างฝีมือที่มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับเงินมากกว่า 200 คน มีการทำตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเคยได้รับการสนับสนุนด้านสินเชื่อผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และเสริมแก่งในการทำงาน ช่วยให้สามารถมีกำลังผลิตชิ้นงานคุณภาพและส่งมอบสินค้าได้ตรงตามเวลา จนให้ศูนย์หัตถกรรมฯ เป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ศูนย์ดังกล่าวยังมีส่วนในการสร้างอาชีพให้กับชุมชน และร่วมมือกับสถาบันการศึกษาฝึกวิชาชีพให้กับเยาวชนโดยทุนให้เปล่าปีละ 10 คน และต่อยอดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสำหรับเด็กและเยาวชน โดยทางดีพร้อมจะเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์เป็นที่รู้จักและดึงดูดการท่องเที่ยวชุมชนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 มิ.ย. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ลุยเหมืองแม่เมาะ ต้นแบบเมืองน่าอยู่เชิงนิเวศ มุ่งสู่เมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
จ.ลำปาง 24 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยมี นายประจวบ ดอนคำมูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ. แม่เมาะ และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ประกอบกิจการใน 2 ส่วน ประกอบด้วย โรงงานไฟฟ้า และเหมืองถ่านหินลิกไนต์และเหมืองหินปูน ซึ่งนับเป็นเหมืองลิกไนต์เปิดที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ มีภารกิจหลักในการจัดหาถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตามความต้องการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งใช้ถ่านหินเฉลี่ยวันละ 45,000 ตัน หรือคิดเป็น 16 ล้านตันต่อปี สำหรับด้านมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง เหมืองแม่เมาะได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงาน EIA ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และยังคงดำเนินการตามระบบมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา พบว่าเหมืองแม่เมาะสามารถควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านที่สำคัญ ได้แก่ ฝุ่น เสียง แรงสั่นสะเทือน และคุณภาพน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือดีกว่ามาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จากการดำเนินงานการทำเหมืองตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนทำให้เหมืองแม่เมาะได้รับรางวัล Thailand Coal Awards 2017 รางวัล ASEAN Coal Awards 2017 และรางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award) ประจำปี 2560 ที่ยืนยันการเป็นสถานประกอบการที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ดำเนินงานตามนโยบายอุตสาหกรรมสู่วิถีใหม่ 4 มิติ ภายใต้ ชื่อ Green Mae Moh Model ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ต้องการจะพลิกโฉม อําเภอแม่เมาะให้กลายเป็นเมืองน่าอยู่เชิงนิเวศ โดยขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่แม่เมาะเพื่อมุ่งสู่เมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สอดรับกับนโยบาย Carbon Neutrality ซึ่งประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะบรรลุ Net Zero ให้ได้ในปี ค.ศ. 2065 ประกอบกับในพื้นที่มีศักยภาพหลัก 4 ด้าน (Driving Force) ได้แก่ ด้านที่ 1 ศักยภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) สูงสุด ประมาณ 5,405 MW บนพื้นที่ราว 152 ตารางกิโลเมตร ด้วยโครงการ Solar Farm 2,405 MW โครงการใช้ชีวมวลอัดเม็ด (Biomass Pellet) มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า 1,800 MW และโครงการใช้พลังน้ำแบบสูบกลับ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Pumped Storage) 1,200 MW ซึ่งสามารถผลิตพลังงานสีเขียวรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ในอนาคต ด้านที่ 2 พื้นที่อําเภอแม่เมาะ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางบก เพราะอยู่ระหว่างเส้นทางของรางรถไฟ รางเดียวสาย เด่นชัย-เชียงใหม่ และ รถไฟรางคู่สาย เด่นชัย–ไปถึงประเทศจีน (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ซึ่งเป็นโอกาสในการขนส่งลําเลียงเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ ตลอดจนส่งออกผลผลิตทางการเกษตรไปยังต่างประเทศได้ ด้านที่ 3 ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีของชุมชนที่ยอมรับ และสนับสนุน พร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่อย่างเต็มที่ และด้านที่ 4 คือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สายส่งไฟฟ้า พื้นที่ในการดำเนินงาน ถนน แหล่งน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้น ปลัดฯ ณัฐพล กล่าวว่า ตามนโยบาย 4 มิติ ของกระทรวง ฯ ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีครบทั้ง 4 มิติ ต้องสำเร็จควบคู่ไปกับชุมชน ซึ่งหมายถึงต้องอยู่กับชุมชนได้ สร้างการกระจายรายได้ให้กับชุมชน ไม่ใช่แค่คำนึงถึง GDP สูง เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึง GDP รายได้ของประชาชนในชุมชนรอบ ๆ ด้วย ดังนั้นกระทรวงฯ จึงมุ่งส่งเสริมให้โรงงานหรือผู้ประกอบการสร้างความยั่งยืนให้ครบทั้ง 4 มิติ เพราะขาดมิติใดมิติหนึ่งไปไม่ได้ ต้องทำให้ชุมชนรักโรงงาน รักผู้ประกอบการ ทำอย่างไรให้ชุมชนรัก ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ได้ชื่นชมโครงการ Smart City คือการนำโครงการต่าง ๆ มาพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีการพัฒนาระบบใหม่ ๆ ของ กฟผ. แม่เมาะ อาทิ มาตรฐานสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้า ที่ต้องการปรับให้เป็น Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 โครงการ ไม่เผา เราซื้อ ซึ่งเป็นนโยบายรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกและซังข้าวโพด เพื่อศึกษาการนำชีวมวลเผาไหม้ร่วมกับถ่านหิน และโครงการ Smart Bus รถไฟฟ้ารับส่งพนักงานในพื้นที่เมืองลำปาง เป็นต้น ด้านรองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ถือเป็นจุดศูนย์กลางของภาคเหนือ มีการเชื่อมโยงในหลายด้าน อาทิ การเชื่อมโยงคมนาคม การขนส่งทางบก มีการเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ด้านพลังงาน มีการกระจายพลังงานไฟฟ้า ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ มีภาคอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตเมื่อการทำเหมืองไฟฟ้าต้องปิดตัวลงไป จะมีมาตรการรองรับในภาคอุตสาหกรรมจะเป็นไปในทิศทางใด ตลอดจนชุมชนและประชาชนโดยรอบบริเวณเหมือง จะมีแผนการดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ได้เมื่อการทำเหมืองไฟฟ้า จึงอยากฝากถึงแนวทางการนำนโยบาย 4 มิติ ของกระทรวงมาดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไปในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
26 มิ.ย. 2023
ดีพร้อม เยี่ยมชม cacoa valley ต้นแบบ “โมเดลชุมชนดีพร้อม”
จ.น่าน 25 มิถุนายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชม บริษัท โกโก้ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด โดยมี นายมนูญ ทนะวัง และ นางจารุวรรณ จิณเสน เจ้าของกิจการ ให้การต้อนรับพร้อมพาเยี่ยมชมการทำงาน ณ บริษัท โกโก้ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด อำเภอปัว บริษัท โกโก้ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด คือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านการปลูกและแปรรูปโกโก้แบบครบวงจรในจังหวัดน่าน มีผลิตภัณฑ์แปรรูปโกโก้ที่หลากหลาย มีแหล่งที่พักและเรียนรู้วิถีโกโก้เต็มรูปแบบ พร้อมร่วมมือกับคนในพื้นที่ปลูกโกโก้เพื่อสร้างธุรกิจเกษตรยั่งยืนโดยดีพร้อมได้นำแนวนโยบายโมเดลชุมชนดีพร้อม ขับเคลื่อนผู้ประกอบการสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจ หรือ “ดีพร้อมฮีโร่” ด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพการเป็นผู้สานประโยชน์กับกลุ่มชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ การจ้างงานและสร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 7 ชุมชน ได้แก่ 1. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ มีรายได้จากการขายผลโกโก้สดให้โกโก้วัลเล่ย์ 2. กลุ่มผ้าทอไทลื้อ สร้างอาชีพและมีรายได้จากการขายผ้าทอย้อมสีโกโก้ 3. กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน สร้างอาชีพและมีรายได้จากการร่วมแปรรูปขั้นต้น 4. กลุ่มแรงงานในชุมชน สร้างอาชีพและมีรายได้จากการดูแลสวนโกโก้ 5. กลุ่มน่านโมเดล มีรายได้จากการทำปุ๋ยอินทรีย์ 6. กลุ่มขนมไทยพื้นเมือง สร้างอาชีพและมีรายได้จากการขายขนมไทยโกโก้ 7. กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ สร้างอาชีพและมีรายได้จากผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมโกโก้ รวมถึง การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอุตสาหกรรม สร้างอาชีพและมีรายได้รายได้ท่องเที่ยวสวนโกโก้ รวมประมาณ 350 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 28 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทาง บริษัท โกโก้ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด ได้เข้าร่วมโครงการของดีพร้อม มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเข้าร่วมกิจกรรมการยกระดับมาตรฐานเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการขอการรับรองระบบมาตรฐาน GHPs และ HACCP เพื่อรองรับการส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดต่างประเทศ และมีแผนจะขอการรับรองระบบมาตรฐานสากลอื่น ๆ ต่อไปอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 มิ.ย. 2023
"รสอ.วัชรุน" ตรวจเยี่ยมดีพร้อมเซ็นเตอร์เมืองนครพิงค์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการภายในพื้นที่
จ.เชียงใหม่ 25 มิถุนายน 2566 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและหารือแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาคธุรกิจอุตสาหรรมให้แก่ผู้ประกอบการภายในพื้นที่ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 อำเภอเมือง โดยคณะผู้บริหารได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่บริเวณโดยรอบของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานและแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบ พร้อมเน้นย้ำการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่สำหรับการให้บริการให้มีความเหมาะสม คุ้มค่า พร้อมปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน เร่งรัดการเตรียมพร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการโดยให้สอดคล้องกับภารกิจของดีพร้อม เพื่อยกระดับการส่งเสริมและให้บริการผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจรต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 มิ.ย. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล ประชุมด่วน! ติดตามความคืบหน้าการรายงานข้อมูลกลางผ่านระบบ i-SingleForm กำชับให้ทุกหน่วยงานของ อก. เร่งรัดสถานประกอบการทั่วประเทศที่อยู่ในการกำกับรายงานข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบ 100% ภายใน 30 มิถุนายนนี้
จ.ลำปาง 23 มิถุนายน 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (อรอ.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูง อุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงานในสังกัด อก. ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 และผ่านระบบ Zoom Meeting ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ติดตามการรายงานข้อมูลต่อ อก. ผ่านขั้นตอนระบบการลงทะเบียนลูกค้า อก. (i-Industry) และระบบการรายงานข้อมูลกลาง (i-SingleForm) โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานกำชับสถานประกอบการทั่วประเทศที่อยู่ในการกำกับของแต่ละหน่วยงาน ดำเนินการรายงานข้อมูลในระบบรายงานข้อมูลกลางของ อก. (i-SingleForm) ให้ถูกต้องครบถ้วน ตามข้อกำหนดของข้อมูลและภายในกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของการรายงานข้อมูลกลางในเรื่องการรายงานการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในบริเวณโรงงาน การรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในบริเวณโรงงาน การรายงานการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกไปจัดการนอกบริเวณโรงงานนั้น ที่ต้องดำเนินการรายงานข้อมูลให้ครบถ้วนภายใน 30 มิถุนายนนี้ ได้กำชับทุกหน่วยงานเข้าไปชี้แจง แนะนำ พร้อมสร้างความเข้าใจกับทางผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามและรายงานข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน ส่วนการรองรับปริมาณการเข้าระบบเพื่อรายงานข้อมูลที่มีจำนวนมาก ให้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าไปดูแลระบบอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการรายงานข้อมูล รองปลัดฯ ณัฏฐิญา ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การรายงานข้อมูลกลาง (i-SingleForm) ถือเป็นภารกิจที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานสื่อสารให้กับผู้ประกอบการรับทราบว่า การรายงานข้อมูลในระบบฯ เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและเป็นข้อกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติจะถือว่าเป็นความผิด ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 มิ.ย. 2023