Category
เชิญชวน เข้าร่วมอบรม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล E-commerce 4.0
เชิญชวน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการที่มีการดำเนินการผ่านช่องทาง e-Commerce ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ภายใต้โครงการ : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล E-commerce 4.0 รับสมัครตั้งเเต่วันนี้ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ.2566 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถนำเทคโนโลยีทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจในตลาดออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและเพิ่มยอดขาย หรือลดต้นทุนหรือลดการสูญเสียได้ กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการ สิ่งที่จะได้รับ สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมียอดขายเพิ่มขึ้น ของเสียลดลงหรือต้นทุนลดลง ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10% ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ที่อยู่เลขที่ 399 หมู่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี 41330 คุณปราณี อัดโดดดร (ปุ๋ม) 06 1423 9462 คุณสุปรียา อันทะปัญญา (เปรียว) 06 3784 8588
06 พ.ย. 2023
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ลุยเหนือ ดัน ซอฟส์พาวเวอร์ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
จ.เชียงใหม่ 2 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เชียงใหม่ หารือร่วมเอกชน ถึงแนวทางขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมนารายณ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1,066 โรง 73 ราย มีจำนวนการจ้างงาน 35,277 คน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มการผลิตอื่น ๆ เช่น ขุดดิน ดูดทราย ผลิตไฟฟ้า คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 214 โรงงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น สีข้าว อบพืชผลทางการเกษตร คัดแยกขนาดผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 185 โรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตน้ำแข็ง เครื่องดื่ม แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 172 โรงงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์อโลหะ เช่น ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ อิฐ เซรามิค จำนวน 120 โรงงาน และกลุ่มผลิตยานพาหนะ และอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ จำนวน 96 โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีประทานบัตรเปิดการทำเหมือง จำนวน 11 ประทานบัตร สำหรับผลงานสำคัญในปีงบประมาณ ที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมพื้นที่อุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับโรงงานในพื้นที่ การบูรณาการข้อมูลสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสัดส่วนพื้นที่สีเขียว กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่รับผิดชอบ สนับสนุนให้โรงงานในพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตลาดชุมชน เพื่อสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยืน อีกทั้งยังผลักดันให้โรงงานในพื้นที่จัดกิจกรรม CSR และการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เพื่อสร้างเครือข่ายดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงใหม่ (Chiang Mai Startup Driven Economy) บ่มเพาะ Startup ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 ราย โครงการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค ระยะที่ 2 บ่มเพาะผู้ประกอบการ และเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 40 ราย โครงการส่งเสริมตลาดเชิงรุกผลิตภัณฑ์เมืองเชียงใหม่ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสินค้าสร้างสรรค์จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชน รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยมีโยบายในการส่งเสริมการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ด้วยการสร้าง ซอฟส์พาวเวอร์ ให้มีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งขอบคุณสภาอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนกระทรวงฯ เพราะการจะทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเติบโตได้ จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาคผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การจัดมหกรรมแสดงสินค้า และอุตสาหกรรมแฟร์ ทั้งนี้ ปลัดฯ ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองท่องเที่ยว ดังนั้น ซอฟส์พาวเวอร์ ที่ดีที่สุดของเชียงใหม่ ต้องเน้นไปในเรื่องของการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย NEC (ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ) ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ เขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ ซีรีส์ เป็นต้น 2. อุตสาหกรรมดิจิทัล เช่นกิจกรรมพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ซอฟส์แวร์ ดีไซส์ ตามโจทย์ที่ว่าอยู่ที่ไหนในโลกก็สามารถ ทำงานได้ 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4. อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ด้วยการส่งเสริมอาหารที่เป็นต้นทุนสำคัญของประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน
06 พ.ย. 2023
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม หัวข้อ “ปรับธุรกิจอาหารให้รุ่ง ปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค NEXT NORMAL
กระแสเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ปรับตัวธุรกิจให้ทันสมัย หัวข้อ “ปรับธุรกิจอาหารให้รุ่ง ปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค NEXT NORMAL (Season.2)” ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรียนรู้การปรับธุรกิจจากกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้าน การทำมาตรฐานร้านอาหาร (SOP) เพื่อยกระดับร้านเตรียมความพร้อมสู่ Franchise และขยายสาขา ถอดเคล็ดลับการจัดการธุรกิจอาหารร้านดัง ทำร้านให้ปัง! แบบใช้งบน้อย (จากแบรนด์ที่มีสาขามากกว่า 200 สาขา!) การตลาดดิจิทัลด้วย Chatbot /Ai ! พลิกโฉมวงการตลาด ด้วยการใช้เครื่องมืออัตโนมัติ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงผู้สมัครเต็มจำนวน ฟรี จำกัดจำนวน 40 ท่านเท่านั้น อบรมระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2566 (3 วัน) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 08 9759 3628 (คุณตูน)
06 พ.ย. 2023
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ขึ้นเหนือ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
จ.ลำพูน 2 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ลำพูน หารือร่วมเอกชน ถึงแนวทางขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน สำหรับในพื้นที่จังหวัดลำพูน มีผู้ประกอบกิจการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 73 ราย แบ่งเป็น ญี่ปุ่น 35 ราย ไทย 19 ราย ยุโรป 11 ราย เกาหลี 3 ราย ไต้หวัน 2 ราย สหรัฐอเมริกา 1 ราย สิงคโปร์ 1 ราย และอินเดีย 1 ราย มีจำนวนการจ้างงาน 35,000 คน โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม แบ่งเป็นด้าน ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 27 โรงงาน อุตสาหกรรมเหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ 8 โรงงาน อุตสาหกรรมน้ำมัน และพลังงาน 7 โรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม 5 โรงงาน อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ 5 โรงงาน และอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ เช่น อัญมณี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ 21 โรงงาน โดยการประชุมหารือในครั้งนี้ ได้นำเสนอในประเด็นต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่กับ SMEs ลำพูน (Lamphun Supply Chain) : เพื่อเปิดโอกาสแสดงศักยภาพ และสร้างโอกาสเจรจาธุรกิจร่วมกัน ,โครงการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และสถานี Container Yard : เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมภายในประเทศไทยและขนส่งออกไปต่างประเทศ, การปรับปรุงผังเมือง เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าและอุตสาหกรรมลำพูน NEC ,การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับเศรษฐกิจ และ อุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มมูลค่าสูง (Lamphun Superfoods Valley) อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดลำพูน จากข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2564 ต่อหัว ลำพูน เป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ ลำดับที่ 14 ของประเทศ และจังหวัดลำพูน มีประเด็นการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม หัตถกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ให้สอดรับกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Northern Economic Corridor) หรือ NEC ซึ่งรัฐบาลหวังพัฒนาภาคเหนือในส่วนของ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และลำพูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลำพูน ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูนในปี 2570 ต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดึงดูดนักลงทุน ในส่วนภาคอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการสนับสนุนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก พร้อมกับมีโยบายในการส่งเสริมการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้กำลังใจพี่น้องประชาชน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจ และเน้นย้ำให้การนิคมฯ ดูแลในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้กระทบต่อภาคการเกษตรของประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงสถานการณ์น้ำแล้งเป็นอย่างมาก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการร่วมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
ขอเชิญผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาการร่วมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์สมุนไพรและสปา จ.อุดรธานี) ภายใต้โครงการ : พัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM CENTER 4) เพื่อส่งเสริม การรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป ให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่าย ตลอดจนเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด มาตรฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น คุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบการที่มี ทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หรือเลขนิติบุคคล ผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป สถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จ.อุดรธานี มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคลัสเตอร์สมุนไพรและสปา ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. 66 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศิวะพร วรรณรัตน์ 08 1564 5141
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป จ.เลย)
ขอเชิญชวน สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป จ.เลย ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ภายใต้โครงการ : พัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อส่งเสริม การรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่าย ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตลอดจนเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด มาตรฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. พ.ศ. 2566 คุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบการที่มี ทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หรือเลขนิติบุคคล ผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จ.เลย มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคลัสเตอร์เกษตรแปรรูป วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้เกิดความร่วมมือ และเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จนเกิดเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจของกลุ่มเกษตรแปรรูป เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด มาตรฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นางสาวปิยดา ตรีทศ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ 08 9823 6620 นางสาวศิวะพร วรรณรัตน์ นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ 08 1564 5141 paepiyada
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจ ต้องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) สมัครเข้าร่วมกิจกรรมการยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Packaging Design) ภายใต้โครงการ : การสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM CENTER 4) ส่งเสริม พัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ อยู่ในสาขา แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ หรือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ให้ได้รับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างสร้างสรรค์ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณศิวะพร (08 1564 5141) คุณพรรณิการ์ (08 6639 1109)
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญชวนที่ปรึกษา เข้ารับการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม (Industrial Consultant's Common Competency: I3C) ประจำปี พ.ศ. 2567
ขอเชิญชวนที่ปรึกษา เข้ารับการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม (Industrial Consultant's Common Competency: I3C) ประจำปี พ.ศ. 2567 ดำเนินการโดย : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) เปิดรับสมัครทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 66 - 22 ธ.ค. พ.ศ. 2566 รอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 67 - 27 มี.ค. พ.ศ. 2567 รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 67 - 14 มิ.ย. พ.ศ. 2567 คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้ารับการประเมินฯ มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี เป็นสมาชิก thaisp.org และ i.industry.go.th ผ่านการสอบข้อเขียน I3C ที่มีอายุผลการสอบไม่เกิน 3 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร ท่านสอบผ่านข้อเขียน I3C ท่านสามารถเข้าไปเช็คได้ที่ https://www.thaisp.org/ ประโยชน์ที่ได้รับหลังผ่านการประเมิน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการ ในการเลือกใช้บริการที่ปรึกษาที่ผ่านการประเมินฯ ได้สิทธิ์เข้าร่วมและประชาสัมพันธ์ผ่านระบบฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Ecosystem) เพิ่มโอกาสในการได้รับการคัดเลือกรับงานของกรมฯ ได้รับการพิจารณาเข้าร่วมโครงการพัฒนาที่ปรึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ และกิจกรรมกลใกตลาดที่ปรึกษาของกรมฯ ท่านที่สนใจเข้ารับฟังการชี้แจงการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ในวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ID: 984 3604 5880 Password: 749518 สมัครเข้ารับการประเมิน ดาวน์โหลดเอกสารการสมัคร หมายเหตุ : การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อท่านส่งเอกสารการสมัคร "ฉบับเต็ม" มาที่ อีเมล : i3c.diprom@gmail.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณตรัยพร คุณนวลพรรณ 0 2430 6869 ต่อ 1256 i3c.diprom@gmail.com
06 พ.ย. 2023
"อธิบดีภาสกร" บินตรงเมืองล้านนา มอบนโยบายบุคลากรดีพร้อม เน้นขับเคลื่อนอุตฯ เชิงพื้นที่ทุกมิติ
จ.เชียงใหม่ 3 พฤศจิกายน 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 (DIPROM CENTER 1 : DC1) พร้อมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ห้องประชุม หิรัญญิการ์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อำเภอเมืองเชียงใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ได้รับฟังผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ และการให้บริการของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ และอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน อสอ. ยังได้มอบนโยบายการทำงานที่มุ่งเน้นการดำเนินงานในโครงการที่มีลักษณะ Quick Win การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารที่เป็น Soft Power การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดด้วย Digital Transformation การสร้างการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงการบริหารจัดการชุมชน การบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ตลอดจนเน้นย้ำให้ DC1 ขับเคลื่อนการทำงานตามยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ด้วยการขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกลุ่มจังหวัด งบจังหวัด และหน่วยงานอื่นได้ด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม หลักสูตร “ถอดรหัส BCG model สู่การยกระดับธุรกิจ SMEs”
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ทายาท และพนักงานของ SMEs สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม หลักสูตร “ถอดรหัส BCG model สู่การยกระดับธุรกิจ SMEs” ดำเนินการโดย : ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงผู้สมัครเต็มจำนวน อบรมระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ โรงแรมเอเซีย ลำปาง บรรยายและฝึกปฏิบัติ Workshop โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.อุไรวรรณ อินต๊ะถา ผศ.ดร.ณัฐยา ต๊ะวิไชย ดร.สมนึก ศิริสุนทร ที่ปรึกษาโรงงานแปซิฟิกไพพ์ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ ทายาทและพนักงานของ SMEs สาขาอุตหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หัวข้อการอบรม อาทิ BCG กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและห่วงโซ่คุณด่าขององค์กร การประเมินวัฏจักรชีวิตและคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์และองค์กร การจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนวทางการขอรับรองมาตรฐานฉลากคาร์บอน และ การลดก๊าซเรือนกระจก สมัครออนไลน์ รับจำนวนจำกัด 50 คน ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณกิ่งกาญจน์ 08 5709 5866 0 5428 1884 ต่อ 113
06 พ.ย. 2023