Category
ัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่จังหวัดระนอง เยี่ยมชมสถานประกอบการ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ และเยี่ยมชมท่าเรือระนอง เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รับโครงการแลนด์บริดจ์
จ.ระนอง 22 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ จังหวัดระนอง โดยสถานประกอบการแห่งแรกที่ลงเยี่ยมชม คือ บริษัท สยามชัยอาหารสากล จำกัด ซึ่งได้รับมาตรฐาน BRC , ISO 9000 ปี 2015 ,GMP , HACCP , HALAL เป็นต้น รวมทั้งได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 2 และยังเข้าร่วมโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการติดตั้งระบบ Sensor เพื่อควบคุมค่ามาตรฐานต่าง ๆ ในสถานที่เก็บ เพื่อให้สามารถแสดงค่าของปัจจัยได้ตลอดเวลา ผ่านระบบ loT on Cloud เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบกิจการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 ปี 2565 ด้วย ในการเยี่ยมชม บริษัทฯ ได้ชี้แจงถึงปัญหา อุปสรรคที่พบทั้งค่าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และไม่สามารถคุมราคาขายกับผู้บริโภคได้ ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ ได้เตรียมที่จะส่งเสริมเรื่องการลดใช้พลังงานในโรงงาน อบรมการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมทั้งการจัดการ Logistic เพื่อทำ Cost Cutting เป็นต้น ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม บริษัท มินเนอรัล รีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เหมืองดินขาว MRD) ซึ่งเป็นบริษัทฯ ผลิตแร่ดินขาวได้ปริมาณและคุณภาพที่ดี สามารถผลิตป้อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งแร่ดินขาวให้กลุ่มอุตสาหกรรมภายในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 และส่งออกต่างประเทศ ร้อยละ 20 ได้รับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. 9001-2559 และระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย มอก. 45001-2561 เข้าร่วมโครงการ CSR-DRIM ตั้งแต่ปี 2555 และเข้าร่วมเครือข่าย CSR-DRIM ตั้งแต่ปี 2557 และได้รับมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียวประจำปี 2566 และการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 2 ตั้งแต่ปี 2554 และระดับ 3 ตั้งแต่ปี 2560 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ โดยบริษัทฯ ยังคงมีข้อหารือเพื่อแก้ไขปัญหา และรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ปัญหาการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่ราคาถูก ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาต้นทุนพลังงานสูง ปัญหาความซับซ้อนและใช้เวลานานในการขออนุญาตและประทานบัตร และปัญหาระยะเวลาในการขออนุญาตนำแร่ออกนอกเขตไหล่ทวีป ทั้งนี้ ในปี 2567 กระทรวงฯ จะเข้าไปส่งเสริมการสร้างมาตรการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้ความรู้ภาษาอังกฤษ สนับสนุน/ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ผลักดันให้มีเจ้าหน้าที่ด้านเหมืองแร่ประจำที่จังหวัดระนอง การจ่ายค่าภาคหลวงออนไลน์ที่จังหวัดระนอง เป็นต้น “กระทรวงฯได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนบริษัททั้งสองแห่ง โดยในปี 2567 จะให้การส่งเสริมเรื่องการลดใช้พลังงานในโรงงาน อบรมการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมทั้งการจัดการ Logistic เพื่อทำ Cost Cutting หรือการสร้างมาตรการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ พัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้ความรู้ภาษาอังกฤษ สนับสนุน/ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ผลักดันให้มีเจ้าหน้าที่ด้านเหมืองแร่ประจำที่จังหวัดระนอง การจ่ายค่าภาคหลวงออนไลน์ที่จังหวัดระนอง เป็นต้น เชื่อว่าแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้บริษัททั้งสองแห่ง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว จากนั้นในช่วงเย็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่ท่าเรือระนอง เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่พัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ภายใต้ชื่อ “โครงการแลนด์บริดจ์” เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน (BIMSTEC) เพื่อเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
รัฐมนตรีฯพิมพ์ภัทรา ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน รับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่
จ.ระนอง 22 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กรอ.) ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเตรียมนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการประชุมสอบถามความต้องการขอรับการสนับสนุน ปัญหาและ อุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ นำเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมด้วย ณ ห้องประชุมรัตนรังสรรค์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดระนอง ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง โดยในการประชุมมีการนำเสนอประเด็นและความต้องการขอรับการสนับสนุนในหลายประเด็น ทั้ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ด้วยการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น โครงการพัฒนาและยกระดับ Andaman Wellness and Spa ที่มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากร เพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยการบูรณาการร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยให้จังหวัดระนอง เป็นเจ้าภาพหลัก การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เนื่องจากค่าไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น การแก้ไขควรจัดให้มีการฝึกอบรมเรื่องการลดใช้พลังงาน การสนับสนุนพลังงานทดแทน ปรับปรุงเครื่องจักรที่ทำให้ประหยัดพลังงาน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฮาลาล รวมถึงยกระดับมาตรฐานฮาลาลของไทยเพื่อตอบสนองความต้องการขยายตัวของตลาดโลก โดยการจัดตั้งองค์กรกลางหรือมาตฐานที่เกี่ยวกับฮาลาล ที่นานาชาติยอมรับ เพื่อให้สามารถจำหน่ายในประเทศต่างๆได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม การเพิ่มมูลค่าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล และแปรรูปเกษตรอื่น ๆ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลตามแนวทาง BCG Model ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้กลุ่มอันดามัน โดยต้องเป็นการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม การขาดแคลนฝีมือแรงงาน โดยได้ขอรับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องตามความต้องการของสถานประกอบการ การสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัด ที่ได้ขอให้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับในการเข้าถึงสินเชื่อ นอกจากนี้ มีการนำเสนอประเด็นอื่นๆ อาทิ การเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการโรงงาน โดยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมที่ร่วมประชุมฯประกอบด้วยนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมนายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัด“ชุมพร” เยี่ยมชมและให้กำลังใจ พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ ผลักดันสู่เป้าหมายตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ และ และตรวจเยี่ยมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 โดยการลงพื้นที่จังหวัดชุมพรครั้งนี้ จุดแรกได้ไปตรวจเยี่ยม บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จังหวัดชุมพร ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ ประกอบกิจการสกัดน้ำมันปาล์ม กลั่นและแยกไข บรรจุน้ำมันพืช ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และผลิตปุ๋ยจากตะกอนน้ำเสีย ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจรอย่างยั่งยืน พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มมูลค่า by product จากการสกัดและแยกไขสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล (Oleochemical) สนับสนุนเงินทุนหรือขยายเวลาเรื่องการติดตั้งระบบ CEMs และระบบดักฝุ่น (ESP) ของหม้อน้ำ จากนั้นได้เดินทางไปยังจุดที่ 2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสาธารณสุข อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และได้เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (OPOAI -C) ประจำปีงบประมาณ 2566 ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกอมกาแฟ มูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 23,600 บาทต่อปี ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะเข้าไปให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนฯ ในด้านต่างๆ อาทิ พัฒนากระบวนการผลิต เช่น การปรับปรุงอาคารล้าง การขยายขนาดเครื่องอบร้อน เป็นต้น หรือการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งเสริมการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ลูกอมกาแฟ และส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์“ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับและการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามการร้องขอของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันในส่วนของปัญหา อุปสรรคต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ได้ร้องขอมานั้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องบางฉบับไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วยังถูกมองว่าเป็นขยะ ผู้ประกอบการขาดแหล่งเงินทุนหมุนเวียน และระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการในพื้นที่ จะขอรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการให้เรียบร้อย และแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ หรือเกิดการสะดุดในระหว่างประกอบกิจการได้”นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว โดยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมที่ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ประกอบด้วยนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ม.ค. 2024
"รองอธิบดีดวงดาว " ร่วมกิจกรรมสร้างการรับรู้เครื่อง​หมายคุณภาพ​ผลิตภัณฑ์​สิ่งทอไทย
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรมสร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักเครื่องหมายคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ร่วมด้วย นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าโลตัส ผู้ประกอบการที่ได้รับฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (เครือข่ายห้างสรรพสินค้าโลตัส) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาสุขุมวิท 50 อ่อนนุช กิจกรรมดังกล่าว เป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) และมีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รวมถึงมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิด BCG Model อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ม.ค. 2024
"อธิบดีภาสกร" บูรณาการสถาบันการเงิน ยกระดับเนื้อโคฮาลาล จ.ชุมพร
จ.ชุมพร 21 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรรมการ บอร์ดธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand หรือ EXIM Bank) เยี่ยมชมและรับฟังแนวคิดการทำธุรกิจของ บริษัท ดี แอนด์ แซด คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมี ดร.อดุลย์ กำไลทอง กรรมการผู้จัดการ บริหารภาคการผลิตและการตลาด ให้การต้อนรับ ณ ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร การลงพื้นที่ดังกล่าว ทั้ง 3 หน่วยงานได้รับฟังแนวคิดธุรกิจและความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจของบริษัท พร้อมชมกระบวนการผลิตเนื้อโคฮาลาลคุณภาพสูง เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก มีศักยภาพและกำลังการผลิตสูงสุดในอาเซียน ทั้งนี้ สถาบันการเงินดังกล่าวได้ให้ข้อเสนอแนะในการบริหารเงินทุน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับพิจารณาขอรับเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาแนะนำการเตรียมความพร้อมในการขอรับสินเชื่อหรือการลงทุนในอนาคตอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
อธิบดีภาสกร นำทีมเยี่ยมชม “โรงงานแปรรูปโคฮาลาล” ระดับอาเซียน หวังยกระดับการส่งออก
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมดีพร้อมเยี่ยมชม บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด (โรงงานแปรรูปโคกระบือ) พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี ดร.อดุลย์ กำไลทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โรงงานดังกล่าว เป็นโรงงานชั้นนำในการผลิตและแปรรูปเนื้อโคฮาลาล มาตรฐานสากลแบบครบวงจร ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพโคต้นน้ำ การแปรรูปโคกลางน้ำและการส่งขายเนื้อโคสู่ตลาดปลายน้ำ เป็นผู้ได้สัมปทานโรงงานแปรรูปโคฮาลาล โคศรีวิชัย เพื่อการส่งออกจังหวัดชุมพร ซึ่งได้สิทธิ 30 ปี จากกรมธนารักษ์ จึงมีการสร้างโรงงานแห่งนี้ขึ้น ด้วยออกแบบและจัดสร้างตามมาตรฐานสากลโดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งได้ใช้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 50 ไร่ ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมโคเนื้อแบบครบวงจร มีกำลังการผลิตและแปรรูปเนื้อโควันละ 200 ตัว มีศักยภาพและกำลังการผลิตสูงสุดในอาเซียน ทั้งนี้ ภายหลังจากเยี่ยมชมและรับฟังแนวคิดการพัฒนาธุรกิจ ได้ให้คำแนะนำในการส่งเสริม 3 ข้อ ดังนี้ 1) การผลักดันโรงงานแปรรูปโคฮาลาล รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้มาตรฐานฮาลาลของภาคใต้ พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือในมาตรฐานฮาลาล และส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ขยายตลาดการค้าอุตสาหกรรมฮาลาลทั้งในและต่างประเทศ 2) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่ง ดีพร้อม จะมีสินเชื่อที่ให้การส่งเสริมฯ วงเงิน 5 ล้านบาท ที่จะประกาศในช่วงปลายเดือนนี้ 3) การเชื่อมโยงของผู้ประกอบการโคในภาคใต้ ที่สามารถจะเชื่อมโยงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพในพื้นที่ได้ และการสร้างแบรนด์เนื้อโคคุณภาพของภาคใต้ อาทิ ชุมพร และนครศรีธรรมราช ให้แพร่หลาย นอกจากนี้ อธิบดีภาสกร ยังได้กล่าวถึงแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต" เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Megatrends) ภายใต้ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชุมพร เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และ สอจ.ชุมพร ในการผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าถึงโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โดย สอจ.ชุมพร เร่งให้เกิดการส่งต่อความต้องการของผู้ประกอบการให้ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายและพร้อมประสานความร่วมมือในการส่งต่อความต้องการเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการร่วมกันในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
จ.ชุมพร 19 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหาร เข้าร่วม ณ อาคารอเนกประสงค์วัดหินแก้ว อำเภอท่าแซะ และอาคารตลาดกลาง เทศบาลวังใหม่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ภายใต้การนำของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและเป็นระบบด้วยนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ของประเทศ ให้มีความเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบธุรกิจ โดยการส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดัน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในระดับประเทศสู่ระดับภาคและท้องถิ่นตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ ของ รัฐบาลการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวนโยบายข้างต้น จะถูกขับเคลื่อนควบคู่ ไปกับการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเติบโต คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนพร้อม ๆ ไปกับการเติบโตสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพรวมถึงให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมการพัฒนาทักษะ อาชีพเสริมเพื่อการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน การผนวกวิชาการอุตสาหกรรมเข้ากับวิถีชุมชนเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันตลาดสมุนไพรไทย ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น และมีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2565 การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 52,104.3 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสำหรับใช้ในการรักษา บำบัดร่างกายและดูแลสุขภาพในเชิงการแพทย์ อาทิ เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์จากสมุนไพรเป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการให้เกิดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับตลาดการทองเที่ยวเชิงสุขภาพ ต่อไป สำหรับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" ในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ตลาดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสต่อยอดสู่การเป็น ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
ขอเชิญชวนผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนและเหนือชั้น
ขอเชิญเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ สำหรับผู้บรหาร (Logistics Management for CEO) ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมพิเศษ : เชื่อมโยงเครือข่ายซัพพลายเชน & Business Matching & Executive Dinner talk & ศึกษาดูงาน & รับวุฒิบัตร กิจกรรมพิเศษ กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายซัพพลายเชน & Business Matching Executive Dinner Talk เสวนาในหัวข้อ "บทบาทและทิศทางการค้าและอุตสาหกรรมในฐานะ สมาชิกระบียบเศรษฐกิจภาคเหนือ Northern Economic Corridor (NEC)" รับวุฒิบัตร เมื่อเข้าร่วมอบรมครบหลักสูตร หลักสูตร 3 วัน วันที่ 15-16 ก.พ. 67 เวลา 13.00–19.30 น. วันที่ 17 ก.พ. 67 เวลา 09.00–12.00 น. ณ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มกราคม 2567 จำนวน ท่านเท่านั้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณพินิฐ เหล็กกล้า 09 4132 4641
19 ม.ค. 2024
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ประณีตศิลป์เชิงพาณิชย์
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ประณีตศิลป์เชิงพาณิชย์ (Premium Product) ภายใต้โครงการ : การยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant C ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย และ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก สถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ พะเยา และแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 23 มกราคม 2567 รับจำนวนจำกัด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ปรึกษา : 08 2515 9879 (วรเชษฐ์) เจ้าหน้าที่ : 0 5324 5361 - 2 ต่อ 430 (วราภรณ์)
19 ม.ค. 2024