Category
การส่งเสริมความโปร่งใส (o22 ถึง o25)
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
13 ก.พ. 2024
การบริหารงานและงบประมาณ (o7 ถึง o13)
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ การปฏิบัติงาน การให้บริการและการติดต่อประสานงาน
13 ก.พ. 2024
ข้อมูลพื้นฐาน (o1 ถึง o6)
ข้อมูลพื้นฐาน การประชาสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
13 ก.พ. 2024
ITA ปี 2567
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมิน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลพื้นฐาน การประชาสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล แผนการดำเนินงานและงบประมาณ การปฏิบัติงาน การให้บริการและการติดต่อประสานงาน การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม นโยบาย No Gift Policy การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต แผนป้องกันการทุจริต มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
13 ก.พ. 2024
ดีพร้อม เดินหน้าคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ปี 66
กรุงเทพฯ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2566 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และทางออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM Meeting การประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ร่วมพิจารณา รับทราบขั้นตอนเกณฑ์การคัดเลือกคนดี ศรี กสอ. โดยจะพิจารณาผลลงคะแนนโหวตเพื่อให้ได้คนดี ศรี กสอ. จำนวน 10 คน แล้วจึงจะพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 จากผู้ได้รับเลือกเป็นคนดี ศรี กสอ. ให้ได้จำนวน 2 คน (เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ) โดยพิจารณาจากการครองตน ครองคน ครองงาน การปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม และผลงานดีเด่น เพื่อแจ้งรายชื่อให้กระทรวงศึกษาธิการต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ก.พ. 2024
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 เชิดชูเกียรติ 44 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศ ย้ำสนับสนุนผู้ประกอบการ ยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมแข่งขันในเวทีโลก
กรุงเทพฯ 12 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว ในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister's Industry Award 2023) โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธี เพื่อเชิดชูเกียรติ 44 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” สร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ยกระดับขีดความสามารถในแข่งขัน และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมเป็นเกียรติ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมและรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทั้ง 44 องค์กร พร้อมขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้จัดการมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมและรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งนับว่าเป็นการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการที่จะพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีมาตรฐานและสามารถแข่งขันในเวทีโลกต่อไปได้ ซึ่งรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นแหล่งการจ้างงานและที่สำคัญเป็นภาคเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ เทคโนโลยีให้ก้าวหน้าและกระจายไปสู่เศรษฐกิจภาคอื่น ๆ การสะสมประสบการณ์และความชำนาญของผู้ประกอบการไทย ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยไม่เป็นรองใคร โดยรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) รวมจำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) จำนวน 1 รางวัล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (The Prime Minister’s Industry Award) แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 8) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น (The Prime Minister’s Small and Medium Industry Award) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ก.พ. 2024
"ดีพร้อม" ต้อนรับคณะจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น หารือแนวทางความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ นายมัทสึชิมะ ไดสึเกะ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคานาซาวะ (Kanazawa University) คณะผู้แทนจากจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การพบกันครั้งนี้ ได้มีการแนะนำผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่นและนักศึกษาญี่ปุ่นที่มาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งสองฝ่ายและได้หารือถึงความร่วมมือในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินงานที่สอดรับกับแนวนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการของทั้ง 2 ประเทศ ตั้งแต่ การปรับตัวธุรกิจให้ก้าวทันกับเศรษฐกิจยุคใหม่ การพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมที่มีความสนใจร่วมกัน โดยทั้งสองหน่วยงานยังได้เห็นพ้องถึงการต่อยอดความสัมพันธ์สู่การร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU กับจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของกันและกันต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงาน OTAGAI Forum ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ ประเทศญี่ปุ่น อีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ก.พ. 2024
"รวอ.พิมพ์ภัทรา" ร่วมประชุมองค์กรส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAHADEP) ผลักดันฮาลาลไทยสู่ระดับโลก
ประเทศญี่ปุ่น 9 กุมภาพันธ์ 2567 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุมกับองค์กรส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAHADEP) โดยมีนายโอซามุ อุราเบะ ประธานองค์กรฯ ให้การต้อนรับ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การประชุมในวันนี้ เป็นการหารือแนวทางการพัฒนาและต่อยอดอุตสาหกรรมฮาลาลของไทย ตามนโยบายของรัฐบาล และได้มีการเชิญชวนให้บริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ภายใต้เครือข่ายของ JAHADEP ประมาณ 800 กิจการ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรของไทย ในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลไปยังตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น ตะวันออกกลางและอาเซียนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 ก.พ. 2024