โทรศัพท์ 1358
กสอ. โชว์ผลสำเร็จ ปั้นผู้ประกอบการ “เถ้าแก่ใหม่วัยเก๋า”
กสอ. โชว์ผลสำเร็จ ปั้นผู้ประกอบการ “เถ้าแก่ใหม่วัยเก๋า”
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรบัตรและกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมสร้างผู้ประกอบการใหม่วัยเก๋า หลักสูตร "The Power of Aging เถ้าแก่ใหม่วัยเก๋า" จำนวน 33 ราย โดยมี นางสาวนิจรินทร์ โอภาเสถียร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ณ ห้อง Prime Hall A โรงแรม เดอ ไพรม์ แอท รางน้ำ ราชเทวี กิจกรรมสร้างผู้ประกอบการใหม่วัยเก๋า หลักสูตร "The Power of Aging เถ้าแก่ใหม่วัยเก๋า" จัดขึ้น ภายใต้ ภายใต้โครงการ "การสร้างและพัฒนาผู้ ประกอบการใหม่เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดที่เหมาะสม" เพื่อสร้างจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการและสนับสนุนการเกิดวิสาหกิจใหม่ของผู้ประกอบการใหม่วัยเกษียณด้วยการพัฒนาทักษะส่งเสริมศักยภาพ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ การสร้างโมเดลธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และลดความเสี่ยงในธุรกิจสร้างต้นแบบผู้ประกอบการใหม่วัยเกษียณ หรือ "เถ้าแกใหม่วัยเก๋า" รวมถึงเร่งให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจใหม่หรือขยายธุรกิจของผู้ประกอบการใหม่วัยเกษียณ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2564 ซึ่งมีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ และเชี่ยวซาญในการดำเนินธุรกิจร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งเรื่องของการ "ปลุกพลัง สร้างแนวคิด ปั้นผลิตภัณฑ์" การเขียนแบบจำลองธุรกิจเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งธุรกิจ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจกลยุทธ์การทำตลาดออนไลน์ การพัฒนาบุคลิกภาพและเทคนิคในการนำเสนอ การเงินและบัญชี การให้คำปรึกษาแนะนำและวิพากษ์แผนธุรกิจ ตลอดจนการศึกษาตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจ ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้น จำนวน 33 ราย โดยแบ่งเป็นประเภทธุรกิจภาคการผลิตและภาคบริการ PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 มี.ค. 2021
กสอ. ชู MDICP หนุนผู้ประกอบการเพิ่มผลิตภาพผ่านแผนธุรกิจ หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่ม 9 ลบ.
กสอ. ชู MDICP หนุนผู้ประกอบการเพิ่มผลิตภาพผ่านแผนธุรกิจ หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่ม 9 ลบ.
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันด้วยดิจิทัล (Digital MDICP) และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และ ผู้ประกอบการ โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. กล่าวรายงาน ณ โรงแรม วี กรุงเทพฯ เอ็มแกลเลอรี โฮเทล คอลเลคชั่น ราชเทวี การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการบริหารจัดการธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีความสามารถในการแข่งขันด้วยดิจิทัล เพื่อให้มีแผนธุรกิจและแผนบริหารความต่อเนื่องในการประกอบกิจการและใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการด้านองค์กรความสุขในการเพิ่มคุณภาพชีวิตพนักงานขององค์กร ซึ่งตั้งเป้าในการพัฒนา SMEs เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 20 กิจการ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 2. การสร้างความสุขในองค์กร (Happy Day) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการความสุขและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่พนักงานองค์กร 3. การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และ 4. การประเมินสถานะทางธุรกิจและการปรึกษาแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 20 ราย และได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกตามแผนงานต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น แผนงานการจัดการกลยุทธ์และการตลาด 10 กิจการ แผนงานการบริหารการเงินและการลงทุน 4 กิจการ แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต 3 กิจการ แผนงานการพัฒนาทรัพยากรบุคลากร 2 กิจการ แผนงานการบริหารด้านมาตรฐานสากล 1 กิจการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 9 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 มี.ค. 2021
“อธิบดีณัฐพล” นำพลพรรค กสอ. บวรสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำบุญ ครบรอบ 79 ปี กช.กสอ.
“อธิบดีณัฐพล” นำพลพรรค กสอ. บวรสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำบุญ ครบรอบ 79 ปี กช.กสอ.
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานพิธีบวงสรวงองค์พระนารายณ์ ไหว้ศาลพระภูมิประจำ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กช.กสอ.) พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 79 ปี กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วมพิธีดังกล่าว นอกจากนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังได้มอบนโยบายการดำเนินงานการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการแก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กสอ. อีกด้วย ณ อาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. ถนนพระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท คลองเตย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ. : ภาพข่าว / รายงาน)
09 มี.ค. 2021
กสอ. ผนึกกำลัง ก.ยุติธรรม สทบ. ลุยเมืองเก่าฯ สุโขทัย  เดินหน้าถอดรหัสอัตลักษณ์ ปั้น 20 “ผลิตภัณฑ์แห่งการให้โอกาส” ตั้งเป้ากระตุ้นรายได้ชุมชนกว่า 10 ล้านบาท
กสอ. ผนึกกำลัง ก.ยุติธรรม สทบ. ลุยเมืองเก่าฯ สุโขทัย เดินหน้าถอดรหัสอัตลักษณ์ ปั้น 20 “ผลิตภัณฑ์แห่งการให้โอกาส” ตั้งเป้ากระตุ้นรายได้ชุมชนกว่า 10 ล้านบาท
จ.สุโขทัย 6 มีนาคม 2564 - นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดงานกิจกรรม “ถอดรหัส อัตลักษณ์ วิถีถิ่น สุโขทัย” ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่ ร่วมด้วย นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดสุโขทัย นางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสหกรรม นายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้แทนรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) คณะผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ คณะผู้บริหารสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) คณะผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยมี นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวต้อนรับ นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง สทบ. และ กสอ. นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ลานดงตาล อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง การจัดงานดังกล่าว เป็นความร่วมมือของไตรภาคี ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ช่วยเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวกลับมาโดยเร็วหลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการถอดรหัสอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งส่งเสริมวิชาชีพผู้ต้องขัง ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ดึงอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ ขยายผลต่อเนื่องจากจังหวัดชัยนาท มายังจังหวัดสุโขทัย เพราะจังหวัดสุโขทัย ถือเป็นเมืองมรดกโลก มีต้นทุนทางวัฒนธรรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในระยะนำร่องของการถอดรหัสอัตลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย กสอ. ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย 1. การจับจุดเด่นเป็นจุดขาย ผ่านกระบวนการถ่ายทอดอัตลักษณ์ในรูปแบบที่ง่ายต่อการจดจำ เพื่อให้เป็นตัวแทน หรือ มาสคอตในการสื่อสารความเป็นตัวตน 2. การจับจุดใหม่โดยใช้จุดเดิม ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม โดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้ามามีส่วนในการผลิต เพื่อให้เกิดสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการถอดรหัสอัตลักษณ์ จะถูกถ่ายทอดทักษะในกระบวนการผลิตไปยังผู้ต้องขังในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการฝึกฝนทักษะอาชีพโดย กสอ. ได้มีโอกาสสร้างรายได้ในรั้วเรือนจำที่จะสามารถต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพสุจริต เมื่อพ้นโทษสู่โลกภายนอก ถือเป็น “ผลิตภัณฑ์แห่งการให้โอกาส” ที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในไทยได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน ยังมีวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยเข้าร่วม จำนวน 20 กลุ่ม เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ ให้พร้อมรับการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาท และจะสามารถต่อยอดโมเดลการดึงอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อถ่ายทอดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ผ่านผลิตภัณฑ์สินค้าของฝาก เพื่อยกระดับภาคการท่องเที่ยวยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการรักษาการจ้างงานกว่า 200 คน ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอคีรีมาศ อำเภอศรีสัชนาลัย และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเมื่อสถานการณ์ COVID-19 ผ่อนคลายขึ้น คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาในพื้นที่ ประมาณ 600,000 คนต่อปี ก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย การพักแรม การรับประทานอาหาร การซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยว โดยจะมีมูลค่าหมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 1,800 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 มี.ค. 2021
กสอ. เดินหน้ารุกเสริมเติมแกร่งผู้ประกอบการภาคใต้ เน้นสร้างเทคนิคเพิ่มยอดขายผ่านตลาดออนไลน์แบบเชิงลึก
กสอ. เดินหน้ารุกเสริมเติมแกร่งผู้ประกอบการภาคใต้ เน้นสร้างเทคนิคเพิ่มยอดขายผ่านตลาดออนไลน์แบบเชิงลึก
จ.สงขลา 6 มีนาคม 2564 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวรายงานในพิธีเปิดโครงการสร้างการรับรู้ “ก้าวทันการตลาด ฉลาดกับออนไลน์” ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 นายธนบูรณ์ เซ่งง่าย อุตสาหรรมจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วม โดยมี นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดดังกล่าว ณ โรงแรมสยามออเรียนทัล อำเภอหาดใหญ่ การจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับองค์ความรู้ เทคนิค แนวคิด และกระบวนการใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจบนโลกออนไลน์ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นรูปแบบในการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้จากเพจเฟสบุ๊คชื่อดังอย่าง เพจอีจัน รวมทั้ง เทคนิคการค้าขายในตลาดออนไลน์จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้ได้ง่าย มีประสิทธิภาพ นำไปปรับใช้ได้จริง และสามารถเพิ่มรายได้จากช่องทางการตลาดใหม่ ๆ สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจในต้นทุนที่ไม่มากนัก เกิดการขยายธุรกิจให้เข้มแข็งและเติบโตได้ ซึ่งการจัดอบรมในครั้งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในพื้นที่สมัครและเข้าร่วมการอบรมกว่า 300 ราย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 มี.ค. 2021
รสอ.เจตนิพิฐ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้
รสอ.เจตนิพิฐ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้
จ.สงขลา 5 มีนาคม 2564 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.11 กสอ.) โดยมี นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการ ศภ.11 กสอ. และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ณ ห้องกระจูด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 อ.หาดใหญ่ การประชุมฯ ครั้งนี้ เป็นการรับฟังข้อมูลการดำเนินงานของ ศภ.11.กสอ. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ตลอดจนโครงการ/กิจกรรมการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พร้อมทั้ง รับฟังเรื่องเร่งด่วนของ ศภ.11 กสอ. อาทิ การปรับปรุงพื้นที่ให้บริการของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐาน และสามารถกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้ การปรับปรุงอาคารบ้านพักราชการ และการสำรวจการก่อสร้างอาคารที่พักหลังใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ รสอ.เจตนิพิฐ ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ศภ.11 กสอ. โดยเน้นย้ำเรื่องการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ตามความต้องการจากผลสำรวจการขอรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการตลาดออนไลน์และการสร้างนักขายมืออาชีพ
08 มี.ค. 2021
กสอ. ผนึกกำลัง AOTS ติดอาวุธเทคโนโลยีดิจัลอุตสาหกรรมไทย หวังยกระดับศักยภาพการแข่งขันสู่สากล
กสอ. ผนึกกำลัง AOTS ติดอาวุธเทคโนโลยีดิจัลอุตสาหกรรมไทย หวังยกระดับศักยภาพการแข่งขันสู่สากล
กรุงเทพฯ 5 มีนาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ นายยูเฮ วาดะ หัวหน้าผู้แทน สมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเชียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (ประเทศไทย) (The Association for Overseas Technical Scholarship; AOTS) ให้เกียรติเปิดงานสัมมนา “Lean IoT Management Seminar” on Smart and Effective IoT Introduction towards Thailand 4.0 ร่วมด้วย ดร. ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อํานวยการกลุ่มโครงการพิเศษและ ศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะผู้บริหารหน่วยงานภาคีเครือข่าย และผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ณ โรงแรมแมริออท กรุงเทพฯ สุขุมวิท งานสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรสาขาวิศวกรรมโดยนำระบบ IoT มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์กว่าครึ่งศตวรรษที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นได้สั่งสมมา ประกอบกับความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิตและเทคโนโลยีดิจิทัลของไทยและญี่ปุ่น มาร่วมพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตที่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อย (MSME) เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถลงทุนนำระบบ IoT ไปใช้ปรับตัวได้จริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานให้สามารถแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมระดับสากลได้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2021
2 ขุนพล กสอ. ร่วมพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรม Lean IoT Plant Management Execution (LIPE)
2 ขุนพล กสอ. ร่วมพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรม Lean IoT Plant Management Execution (LIPE)
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรม Lean IoT Plant management and Execution (LIPE) โดยมี นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอัตสึชิ อิการาชิ รองประธาน องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization; JETRO Bangkok) และนายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ กลุ่มโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิตัลและนวัดกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเปิดงาน และนายยูเฮ วาดะ หัวหน้าผู้แทน สมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเชียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (ประเทศไทย) (The Association for Overseas Technical Scholarship; AOTS) กล่าวรายงาน ณ ห้องสัมมนา 101 ชั้น 1 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 คลองเตย ศูนย์ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมในการนำระบบ IoT มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างรากฐานที่สำคัญสำหรับการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประเทศให้ก้าวสู่ Industry 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม (METI) เพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้กรอบโครงการ “Connected Industry” ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 มี.ค. 2021
กสอ. หารือ กระทรวงยุติธรรม กองทุนหมู่บ้านฯ เดินหน้าถอดรหัสอัตลักษณ์ จ. สุโขทัย
กสอ. หารือ กระทรวงยุติธรรม กองทุนหมู่บ้านฯ เดินหน้าถอดรหัสอัตลักษณ์ จ. สุโขทัย
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ในกิจกรรม "ถอดรหัส อัตลักษณ์ วิถีถิ่น สุโขทัย" ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) คณะผู้แทนจากกรมราชทัณฑ์ และ คณะผู้แทนจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ร่วมประชุมหารือกำหนดแนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่เป้าหมาย ครั้งที่ 3/2564 ณ ห้องประชุมทางไกล ชั้น 2 อาคาร กสอ. กสอ. ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในกิจกรรมดังกล่าว ที่จะจัดขึ้นใน จ.สุโขทัย ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านของพื้นที่ อีกทั้งยังมีต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะได้รับการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก โดย กสอ. มีเป้าหมายเข้าช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับชุมชน อีกทั้งยังได้การสนับสนุนจากกระทรวงยุติธรรมในส่วนของแรงงานฝีมือดีจากผู้ต้องขังในเรือนจำในพื้นที่จังหวัด ได้ฝึกฝนทักษะอาชีพเพื่อต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 มี.ค. 2021
กสอ. ยกระดับมืออาชีพ “สมาร์ทโฟร์ฟู้ดทรัค” พร้อมปรับตัวยุค New Normal
กสอ. ยกระดับมืออาชีพ “สมาร์ทโฟร์ฟู้ดทรัค” พร้อมปรับตัวยุค New Normal
กรุงเทพฯ 2 มีนาคม 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการสู่การจัดตั้งหรือขยายธุรกิจ รุ่นที่ 1 ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถานบันอาหาร และผู้ประกอบการ โดยมี นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวต้อนรับ และ นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม อมรินทร์ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร บางพลัด การฝึกอบรมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการสู่ความเป็นมืออาชีพ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ที่จำเป็นให้แก่ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจฟู้คทรัค (Food Truck) รวมทั้งผู้ที่เริ่มประกอบธุรกิจให้สามารถจัดตั้ง ขยาย และปรับตัวได้ โดยตั้งเป้าผู้เข้าอบรมไม่ต่ำกว่า 80 ราย ซึ่งการอบรมครั้งนี้ผู้ประกอบการจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆในการประกอบธุรกิจฟู้ดทรัค อาทิ การจัดการและตกแต่งร้าน สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร สุขาภิบาลการจัดการร้านอาหาร ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ตลอดจนการวางแผนธุรกิจของตัวเองให้สอดคล้องกับสภาวะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงที มีความรู้และทักษะตามมาตรฐาน “สมาร์ทโฟร์ฟู้ดทรัค” ได้แก่ มาตรฐานคนทำอาหารบนรถฟู้ดทรัค 2 มาตรฐานของครัวบนรถฟู้ดทรัค 3 มาตรฐานของตัวรถฟู้ดทรัค และ 4 มาตรฐานตลาด พร้อมปรับตัวในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการการทำงานผ่านความร่วมมือภายใต้ข้อตกลง MOU ร่วมกับกรมอนามัยต่อการพัฒนาผู้ประกอบการฟู้ดทรัค และผู้ประกอบการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้าอบรมได้รับการรับรองการเป็นผู้ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบกิจการจากกรมอนามัย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการยื่นขอรับใบอนุญาตขายอาหาร เพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจของผู้ประกอบการให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น และสร้างความน่าเชื่อถือด้านความความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกยังจะได้รับโอกาสในการให้คำปรึกษา แนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และวางแผนธุรกิจให้มีศักยภาพต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์
02 มี.ค. 2021