โทรศัพท์ 1358
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัด“ชุมพร” เยี่ยมชมและให้กำลังใจ พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ ผลักดันสู่เป้าหมายตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัด“ชุมพร” เยี่ยมชมและให้กำลังใจ พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ ผลักดันสู่เป้าหมายตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ และ และตรวจเยี่ยมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 โดยการลงพื้นที่จังหวัดชุมพรครั้งนี้ จุดแรกได้ไปตรวจเยี่ยม บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จังหวัดชุมพร ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ ประกอบกิจการสกัดน้ำมันปาล์ม กลั่นและแยกไข บรรจุน้ำมันพืช ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และผลิตปุ๋ยจากตะกอนน้ำเสีย ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจรอย่างยั่งยืน พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มมูลค่า by product จากการสกัดและแยกไขสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล (Oleochemical) สนับสนุนเงินทุนหรือขยายเวลาเรื่องการติดตั้งระบบ CEMs และระบบดักฝุ่น (ESP) ของหม้อน้ำ จากนั้นได้เดินทางไปยังจุดที่ 2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสาธารณสุข อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และได้เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (OPOAI -C) ประจำปีงบประมาณ 2566 ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกอมกาแฟ มูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 23,600 บาทต่อปี ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะเข้าไปให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนฯ ในด้านต่างๆ อาทิ พัฒนากระบวนการผลิต เช่น การปรับปรุงอาคารล้าง การขยายขนาดเครื่องอบร้อน เป็นต้น หรือการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งเสริมการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ลูกอมกาแฟ และส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์“ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับและการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามการร้องขอของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันในส่วนของปัญหา อุปสรรคต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ได้ร้องขอมานั้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องบางฉบับไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วยังถูกมองว่าเป็นขยะ ผู้ประกอบการขาดแหล่งเงินทุนหมุนเวียน และระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการในพื้นที่ จะขอรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการให้เรียบร้อย และแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ หรือเกิดการสะดุดในระหว่างประกอบกิจการได้”นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว โดยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมที่ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ประกอบด้วยนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ม.ค. 2024
"รองอธิบดีดวงดาว " ร่วมกิจกรรมสร้างการรับรู้เครื่อง​หมายคุณภาพ​ผลิตภัณฑ์​สิ่งทอไทย
"รองอธิบดีดวงดาว " ร่วมกิจกรรมสร้างการรับรู้เครื่อง​หมายคุณภาพ​ผลิตภัณฑ์​สิ่งทอไทย
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรมสร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักเครื่องหมายคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ร่วมด้วย นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าโลตัส ผู้ประกอบการที่ได้รับฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (เครือข่ายห้างสรรพสินค้าโลตัส) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาสุขุมวิท 50 อ่อนนุช กิจกรรมดังกล่าว เป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) และมีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รวมถึงมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิด BCG Model อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ม.ค. 2024
"อธิบดีภาสกร" บูรณาการสถาบันการเงิน ยกระดับเนื้อโคฮาลาล จ.ชุมพร
"อธิบดีภาสกร" บูรณาการสถาบันการเงิน ยกระดับเนื้อโคฮาลาล จ.ชุมพร
จ.ชุมพร 21 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรรมการ บอร์ดธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand หรือ EXIM Bank) เยี่ยมชมและรับฟังแนวคิดการทำธุรกิจของ บริษัท ดี แอนด์ แซด คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมี ดร.อดุลย์ กำไลทอง กรรมการผู้จัดการ บริหารภาคการผลิตและการตลาด ให้การต้อนรับ ณ ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร การลงพื้นที่ดังกล่าว ทั้ง 3 หน่วยงานได้รับฟังแนวคิดธุรกิจและความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจของบริษัท พร้อมชมกระบวนการผลิตเนื้อโคฮาลาลคุณภาพสูง เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก มีศักยภาพและกำลังการผลิตสูงสุดในอาเซียน ทั้งนี้ สถาบันการเงินดังกล่าวได้ให้ข้อเสนอแนะในการบริหารเงินทุน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับพิจารณาขอรับเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาแนะนำการเตรียมความพร้อมในการขอรับสินเชื่อหรือการลงทุนในอนาคตอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
อธิบดีภาสกร นำทีมเยี่ยมชม “โรงงานแปรรูปโคฮาลาล” ระดับอาเซียน หวังยกระดับการส่งออก
อธิบดีภาสกร นำทีมเยี่ยมชม “โรงงานแปรรูปโคฮาลาล” ระดับอาเซียน หวังยกระดับการส่งออก
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมดีพร้อมเยี่ยมชม บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด (โรงงานแปรรูปโคกระบือ) พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี ดร.อดุลย์ กำไลทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โรงงานดังกล่าว เป็นโรงงานชั้นนำในการผลิตและแปรรูปเนื้อโคฮาลาล มาตรฐานสากลแบบครบวงจร ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพโคต้นน้ำ การแปรรูปโคกลางน้ำและการส่งขายเนื้อโคสู่ตลาดปลายน้ำ เป็นผู้ได้สัมปทานโรงงานแปรรูปโคฮาลาล โคศรีวิชัย เพื่อการส่งออกจังหวัดชุมพร ซึ่งได้สิทธิ 30 ปี จากกรมธนารักษ์ จึงมีการสร้างโรงงานแห่งนี้ขึ้น ด้วยออกแบบและจัดสร้างตามมาตรฐานสากลโดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งได้ใช้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 50 ไร่ ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมโคเนื้อแบบครบวงจร มีกำลังการผลิตและแปรรูปเนื้อโควันละ 200 ตัว มีศักยภาพและกำลังการผลิตสูงสุดในอาเซียน ทั้งนี้ ภายหลังจากเยี่ยมชมและรับฟังแนวคิดการพัฒนาธุรกิจ ได้ให้คำแนะนำในการส่งเสริม 3 ข้อ ดังนี้ 1) การผลักดันโรงงานแปรรูปโคฮาลาล รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้มาตรฐานฮาลาลของภาคใต้ พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือในมาตรฐานฮาลาล และส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ขยายตลาดการค้าอุตสาหกรรมฮาลาลทั้งในและต่างประเทศ 2) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่ง ดีพร้อม จะมีสินเชื่อที่ให้การส่งเสริมฯ วงเงิน 5 ล้านบาท ที่จะประกาศในช่วงปลายเดือนนี้ 3) การเชื่อมโยงของผู้ประกอบการโคในภาคใต้ ที่สามารถจะเชื่อมโยงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพในพื้นที่ได้ และการสร้างแบรนด์เนื้อโคคุณภาพของภาคใต้ อาทิ ชุมพร และนครศรีธรรมราช ให้แพร่หลาย นอกจากนี้ อธิบดีภาสกร ยังได้กล่าวถึงแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต" เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Megatrends) ภายใต้ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชุมพร เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และ สอจ.ชุมพร ในการผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าถึงโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โดย สอจ.ชุมพร เร่งให้เกิดการส่งต่อความต้องการของผู้ประกอบการให้ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายและพร้อมประสานความร่วมมือในการส่งต่อความต้องการเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการร่วมกันในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
จ.ชุมพร 19 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหาร เข้าร่วม ณ อาคารอเนกประสงค์วัดหินแก้ว อำเภอท่าแซะ และอาคารตลาดกลาง เทศบาลวังใหม่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ภายใต้การนำของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและเป็นระบบด้วยนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ของประเทศ ให้มีความเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบธุรกิจ โดยการส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดัน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในระดับประเทศสู่ระดับภาคและท้องถิ่นตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ ของ รัฐบาลการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวนโยบายข้างต้น จะถูกขับเคลื่อนควบคู่ ไปกับการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเติบโต คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนพร้อม ๆ ไปกับการเติบโตสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพรวมถึงให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมการพัฒนาทักษะ อาชีพเสริมเพื่อการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน การผนวกวิชาการอุตสาหกรรมเข้ากับวิถีชุมชนเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันตลาดสมุนไพรไทย ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น และมีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2565 การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 52,104.3 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสำหรับใช้ในการรักษา บำบัดร่างกายและดูแลสุขภาพในเชิงการแพทย์ อาทิ เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์จากสมุนไพรเป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการให้เกิดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับตลาดการทองเที่ยวเชิงสุขภาพ ต่อไป สำหรับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" ในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ตลาดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสต่อยอดสู่การเป็น ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” ชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE ปรับ 3 ด้าน รับเทรนด์โลก ตอกย้ำผู้ประกอบการ “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
“อธิบดีภาสกร” ชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE ปรับ 3 ด้าน รับเทรนด์โลก ตอกย้ำผู้ประกอบการ “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงนโยบายทิศทางการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 พร้อมชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่าน Facebook Live : https://fb.watch/pES_F5JsTw/?mibextid=Nif5oz อธิบดีดีพร้อม เปิดเผยว่า ในปี 2567 ดีพร้อมมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” กับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาสินค้าและบริการด้านเชิงสุขภาพ สนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและ การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG 2. ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ผ่านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทานให้กับสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายของแต่ละพื้นที่ รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามแนวคิด “ชุมชนเปลี่ยน” 3. ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังขยายเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2567 ดีพร้อมตั้งเป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนายกระดับผู้ประกอบการกว่า 18,400 ราย ภายใต้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2024
“ดีพร้อม” กางแผนหารือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร แฟชั่น
“ดีพร้อม” กางแผนหารือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร แฟชั่น
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการระดมความเห็นโครงการซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมความเห็นเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น ประกอบด้วย สาขาแฟชั่น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล โครงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ และสาขาอาหาร 4 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน โครงการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม ยกระดับ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่น อาหารไทย และอีก 3 โครงการจะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ โครงการจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์ม Cross Border E-Commerce (CBEC) โครงการ Thai Food / Thai Cuisine / Documentary / Series on Netflix และ โครงการ Best Thai Guide ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อเสนอเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการ และจัดส่งข้อมูลต่อ ให้สำนักงบประมาณพิจารณากรอบวงเงินตามขั้นตอนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2024
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กองทุน และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในวันนี้ เป็นการรายงานโครงสร้างและแผนการดำเนินงานระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้นใน สกสว. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2024
"อธิบดีภาสกร" นั่งหัวโต๊ะประชุมทีมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่  86 - 3/ 2567
"อธิบดีภาสกร" นั่งหัวโต๊ะประชุมทีมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่ 86 - 3/ 2567
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 86 - 3/2567 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันพิจารณาในประเด็น 1) ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (DIPROM Pay for BCG)” เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในสินทรัพย์ถาวรที่สนับสนุนการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตสินค้าภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG กลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่อง Supply Chain ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่มีความประสงค์ในการปรับปรุงเครื่องจักร และกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีวงเงินให้กู้ระยะยาวสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (84 งวด) โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบขั้นบันได เริ่มต้นร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 ปี และปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี 2) แผนเงินทุนหมุนเวียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 ม.ค. 2024