“อธิบดีภาสกร” หารือความร่วมมือศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) หารือแนวทางความร่วมมือกับ Japan Material Flow Institute (JMFI) หรือศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่นโดยมี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ Mr. Hiroaki Matsukawa ประธานศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น Japan Material Flow Institute (JMFI) คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ Tokyo Ryutsu Center (TRC) กรุงโตเกียว ศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น มีเป้าหมายการดำเนินงานในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Supply Chain & Logistics) สร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันการศึกษา มีภารกิจในการวิจัย ศึกษา และฝึกอบรมหลักสูตรด้านโลจิสิตกส์ เผยแพร่องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนธันวาคม 2558 ณ Palace Minami Ikebukuro ชั้น 2 กรุงโตเกียว ปัจจุบันมีสมาชิก 140 กิจการ ดีพร้อม ได้หารือแนวทางความร่วมมือกับศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจ การจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในสาขาโลจิสติกส์อุตสาหกรรม การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ผ่านการอบรม สัมมนา การศึกษาวิจัยด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นวิทยากรให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทย
20 พ.ค. 2024
“อธิบดีภาสกร” นำผู้ประกอบการไทยเยือนญี่ปุ่น ร่วมงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมพิธีเปิดงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 พร้อมด้วย Mr. Jun Suzuki, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. Mr. Takeshi Nakano, Ministry of Economy, Trade, and Industry. Mr. Yoshihiro Kuraya, Ministry of Agriculture, Forestry & Fisheries. Mr. Katsuichi Iwakami, Independent Administrative Institution Japan External Trade Organization. และคณะ เข้าร่วม โดยมี Mr. Hiroaki Matsukawa ประธานศูนย์วิจัยการไหลของวัสดุของญี่ปุ่น Japan Material Flow Institute (JMFI) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ณ Tokyo Ryutsu Center (TRC) กรุงโตเกียว งาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Logistics Innovation – The Good Neighbor Logistics in Asia เชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันกับประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และอาเซียน ภายในงานมีกิจกรรมสัมมนาและการอภิปราย การออกบูธนิทรรศการ 200 บูธ โดยดีพร้อมได้นำผู้ประกอบการต้นแบบร่วมออกบูธ 4 กิจการ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (LSP) 2 กิจการ คือ บริษัท ปลาวาฬโลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์ทรานส์ จำกัด กิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 1 กิจการ คือ บริษัท ซีเจ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กิจการบริการทำความสะอาดระบบขนส่งทางท่อ 1 กิจการ คือ บริษัท เคชั่น พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยได้สร้างโอกาสทางธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ได้คู่ค้าและกลุ่มลูกค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยงาน Asia Seamless Logistics Forum 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2024 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 20,000 คน
20 พ.ค. 2024
"รสอ.วัชรุน" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 เมืองสองแคว
จ.พิษณุโลก 16 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 โดยมี นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมการะเวก ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก การประชุมดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 พร้อมยังกำชับให้มีการเร่งดำเนินการในงบประมาณ ปี พ.ศ.2567 (ส่วนที่เหลือ) โดยเร็ว พร้อมการรายงานแผนและผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่าย รวมทั้งหารือประเด็นแนวทางการพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้นำนโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” มาเชื่อมโยงสู่ภาคการปฏิบัติและสร้างสรรค์งานตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและสอดรับกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน
20 พ.ค. 2024
ที่ปรึกษาฯ ดนัยณัฏฐ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน”
จ.ระนอง 15 พฤษภาคม 2567นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นายโดม ถนอนบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายวัฒนา แก้วประจุ ผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางสาวอุรัชญา เมธานันท์ เลขานุการ นายก อบจ. นายสุมิตร รักษา เลขานุการ นายก อบจ.ระนอง นายพรเทพ ผ่องศรี ที่ปรึกษานายก อบจ.ระนอง นายวรชัย แก้วแสงทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารสํวนจังหวัดเขตอําเภอกะเปอร์ นายอมรพันธ์ ศรีรักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอกะเปอร์ นายสถาพร สิงห์แก้ว กำนันตำบลบ้านนา นายสวัสดิ์ สุดใจใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-8 ตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-7 ตำบลเชี่ยวเหลียง ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่ 6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ลงพื้นที่ดังกล่าว ดีพร้อมได้กำหนดหลักสูตร “การทำขนมโดนัท” รวมทั้งรวมกิจกรรมการทำโดนัท ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสสิ้น 150 คน โดยทำขนมโดนัท 2 รูปแบบ ได้แก่ โดนัทนมสด (คลุกน้ำตาล) และขนมโดนัทเค้ก (โดนัทลูกเกด/โดนัทฝอยทอง/โดนัทส้ม) โดยกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของสังคม และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย สร้างอาชีพให้ประชาชนที่สนใจ ตามแนวทางนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการ ยกระดับความสามารถสร้างการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน คาดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนได้กว่า 3 ล้านบาทต่อปี
19 พ.ค. 2024
ดีพร้อม ผนึกกำลัง กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ผลักดันผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกสู่เชิงพาณิชย์ หวังตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คาดสร้างโอกาสธุรกิจเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ
จ.เชียงใหม่ 15 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ภายใต้ โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) พร้อมด้วย นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ สตอรี่ปิงริเวอร์ (STORIES PING RIVER) กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม ได้ผนึกกำลังกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เดินหน้ายกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) สู่เชิงพาณิชย์ 15 ผลิตภัณฑ์/กิจการ ตอบโจทย์เทรนด์บริโภคของคนรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม คาดสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป ภายใต้แนวคิด “การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหาร” หวังยกระดับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่สู่การขับเคลื่อนและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือในอนาคต
19 พ.ค. 2024
“รสอ.วัชรุน” ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ เร่งพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล
กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมและบูรณาการอุตสาหกรรมและนวัตกรรมใหม่ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ในประเด็นเรื่อง “การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล” พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้แทนการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสถาบันอาหาร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ประธานอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 310 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา การประชุมดังกล่าว คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การผลักดันการเพิ่มหน่วยงานในการรับรองมาตรฐานฮาลาล 2) การดำเนินการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาการรับรองเครื่องหมายฮาลาล 3) การส่งเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจในตลาดที่ส่งออก 4) หารือแนวทางในการเพิ่มความเชื่อถือให้แก่ต่างชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า และติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งกรมฮาลาล 5) การดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อลดการใช้ LPG ในกระบวนการผลิตน้ำมันจากไม้กฤษณาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้กฤษณาบ้านตะคร้อใต้ ตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
19 พ.ค. 2024
“รสอ.วาที” ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน”
จ.ระนอง 14 พฤษภาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” จำนวน 3 หลักสูตร ในพื้นที่ อำเภอกระบุรี อำเภอเมือง และอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โดยมี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และนายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นหน่วยร่วมดำเนินการ ให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามการเตรียมความพร้อม การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” จำนวน 3 หลักสูตร โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 2567 หลักสูตรที่ 1 “การทำขนมโดนัท” ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง หลักสูตรที่ 2 “การทำผ้ามัดย้อม (ย้อมเย็น)” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และหลักสูตรที่ 3 “การทำผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม” ณ อาคารอเนกประสงค์ (สระน้ำหนองใหญ่) หมู่ที่ 7 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง นอกจากนี้ รสอ.วาทีฯ ได้ให้กำลังใจแก่ทีมเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM CENTER 10) ที่ได้ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
19 พ.ค. 2024
“อสอ.ภาสกร” ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมผลักดันโกโก้ไทยสู่โกโก้ฮับ
จ.เชียงใหม่ 15 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายธนา คุณารักษ์วงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดีพร้อม ได้รับฟังปัญหาของ บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ อาทิ ปัญหาการปลูกกระจัดกระจาย ปัญหาราคาซื้อผลโกโก้ ปัญหาผังเมือง ปัญหาการขาดเครื่องมือ และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการแปรรูป พร้อมขอสนับสนุนงบประมาณในการส่งตรวจการยื่นขอรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) ตลอดจนการส่งเสริมการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมโกโก้ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมโกโก้ไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในระดับสากล บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลต โดยเน้นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ใช้ผลผลิตจากต้นโกโก้ที่ปลูกในไทย ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เริ่มปลูกต้นโกโก้เมื่อหลายปีก่อน โดยมีความตั้งใจว่าอยากผลิตช็อกโกแลตไทยที่มีคุณภาพในระดับโลก จึงได้ศึกษา คันคว้า ทดลอง จนสุดท้ายสามารถค้นพบรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผลผลิตในประเทศไทย จนเป็นที่มาเรียกผลลัพธ์นี้ว่า รสชาติและคุณภาพช็อกโกแลตในแบบของ “กานเวลา” ที่เริ่มต้นจากมาตรฐานการดูแลต้นโกโก้ ทั้งในสวนของกานเวลาและเกษตรกรผู้ปลูกที่ส่งผลผลิตให้ และเมื่อได้ผลผลิตมาแล้ว จึงออกแบบกระบวนการหมักเพื่อดึงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จนผลิตออกมาเป็นช็อกโกแลตด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน คุณภาพของสินค้าได้รับการยืนยันผ่านรางวัลในระดับนานาชาติ อาทิ International Rising Star Award ปี 2021 จาก Academy of Chocolate ประเทศอังกฤษ Quality Produce นอกจากนี้ อธิบดีภาสกรฯ ยังได้มอบแนวทางในการพัฒนาให้ความรู้ผู้ประกอบการโกโก้ โดยมุ่งเน้นพัฒนาเจรจาความร่วมมือกับจีนในการส่งออกเมล็ดโกโก้ พัฒนากระบวนการผลิต อีกทั้ง ยังมีการส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ และสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการผลักดันอุตสาหกรรมโกโก้ต่อไปในอนาคต
19 พ.ค. 2024
"ดีพร้อม" เตรียมความพร้อมการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมชี้แจงกิจกรรมการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือถึงการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งสมรรถนะร่วมสำหรับที่ปรึกษาอุตสาหกรรม คือ คุณสมบัติที่ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมทุกคนควรมีเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบการจะได้รับคำปรึกษาแนะนำและบริการที่มีคุณภาพ โดยขอความร่วมมือหน่วยงานภายใต้สังกัดดีพร้อม ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เชิญชวนที่ปรึกษาสมัครเข้ารับการประเมินดังกล่าวฯ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้เข้ารับการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม จะได้รับสิทธิ์เป็นผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาแนะนำออนไลน์แก่ผู้ประกอบการผ่านระบบให้บริการของดีพร้อม (DIPROM Service) ซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับการสะสมผลงาน สร้างการรับรู้ เป็นที่รู้จัก อีกทั้ง ยังเพิ่มโอกาสในการได้รับการคัดเลือกรับงานของดีพร้อม หน่วยงานเครือข่าย และผู้ประกอบการอีกด้วย
19 พ.ค. 2024
ดีพร้อม ร่วมกับ เมติ สรุปผลสำเร็จโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT
กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสรุปผลสำเร็จโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) และ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ เมติ (METI) ประเทศญี่ปุ่น โดยมี Ms.Kayo Matsumoto, Director of Techical Cooperation Division พร้อมคณะ ผู้แทนจากกระทรวงเมติประเทศญี่ปุ่น และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการสรุปผลความสำเร็จจากการที่กระทรวงเมติให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation และโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT ผ่านการอบรมหลักสูตร SMST ,LASI และ LIPE ซึ่งทางดีพร้อมมีแผนในการต่อยอดโครงการดังกล่าวในปี 2568 ต่อไป
19 พ.ค. 2024