โทรศัพท์ 1358
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ เปิดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ MIND - PRESS SPORT DAY ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ เปิดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ MIND - PRESS SPORT DAY ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
วันนี้ (21 มิถุนายน 2568) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ MIND - PRESS SPORT DAY ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ณ สนามกีฬาแบดมินตัน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บางซื่อ กรุงเทพฯ โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วยนางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วม และมีนายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ให้การต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เป็นโอกาสอันดีที่คณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาแบดมินตันกับผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี สร้างความรัก ความสามัคคีต่อกันแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ทุกท่าน มีสุขภาพกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และขอขอบคุณบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ด้านสถานที่จัดกิจกรรม รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ เป็นอย่างดี ขอขอบคุณผู้สื่อข่าวทุกท่าน ที่ได้สละเวลาในวันหยุดมาร่วมกิจกรรมกับพวกเราชาวกระทรวงอุตสาหกรรม และขอบคุณคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมกีฬาแบดมินตันจะเป็นการแข่งขันทีมชายคู่ 8 คู่ หญิงคู่ 8 คู่ และคู่ผสม 12 คู่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม คือ ทีมม่วงซ่า ประกอบด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ หน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทีมฟ้าแซ่บ ประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำหรับผลการแข่งขันกีฬาแบดมินตัน ปรากฎว่า ทีมสีฟ้า (นักข่าว) เป็นฝ่ายชนะ ส่วนการประกวดขบวนพาเหรดและกองเชียร์ ทีมสีม่วง (กระทรวงอุตฯ) เป็นฝ่ายชนะ
23 มิ.ย. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ เตรียมความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด รุ่นที่ 1
“อธิบดีณัฏฐิญา” ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ เตรียมความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด รุ่นที่ 1
กรุงเทพฯ 20 มิถุนายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด : เตรียมความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด รุ่นที่ 1 โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายเตมีย์ พันธุวงค์ราช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมถ่ายภาพกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ การฝึกอบรมในวันสุดท้ายนี้ เป็นกิจกรรมการเสวนา “ระบบข้อมูล การบริหารจัดการข้อมูล การกำกับติดตามสถานประกอบการตาม พ.ร.บ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การบันทึกข้อมูลในระบบ” โดยมี นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองอธิบดีกรมโรงงงานอุตสาหกรรม นางสาวอารยา ไสลเพชร รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางพงษ์ศิริ วรรณศรี รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และตอบข้อซักถาม สำหรับหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด : เตรียมความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด แบ่งเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 40 คน โดยรุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2568 และรุ่นที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2568
23 มิ.ย. 2025
“รองสุรพล” เดินหน้าเฟ้นหาผปก. SMEs รับรางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทยด้านการบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) ตามนโยบาย
“รองสุรพล” เดินหน้าเฟ้นหาผปก. SMEs รับรางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทยด้านการบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) ตามนโยบาย
กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2568 - นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ประเภทการบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอของสถานประกอบการ 5 กิจการที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น ภาคการผลิต 4 กิจการ และภาคการบริการ 1 กิจการ และลงคะแนนตามเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการบริหารบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) ตาม 5 หมวดคะแนน คือ หมวดที่ 1 บทบาทผู้บริหารและความเป็นผู้นำ (Leadership) ต่อการบริหารธุรกิจสู่สากล หมวดที่ 2 การวางแผนการดำเนินธุรกิจ (Business Plan) หมวดที่ 3 การบริหารการตลาด การขาย การบริหารจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Marketing Supply Chain and Logistics Management) หมวดที่ 4 การบริหารคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล (Quality and Product Management) และหมวดที่ 5 ผลลัพธ์ในการดำเนินกิจการ (Business Result) โดยในปี พ.ศ. 2568 นี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 7 กิจการ และผ่านคัดกรองเกณฑ์ขั้นต้น 5 กิจการ โดยภายหลังจากได้ข้อสรุปผลคะแนนแล้ว คณะทำงานฯ จะกำหนดวันในการลงพื้นที่สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เพื่อประเมินและให้คะแนนในรอบที่ 2 เพื่อมอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจสู่สากล สามารถเป็นต้นแบบ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนใน 4 มิติ ตามนโยบาย MIND ของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
23 มิ.ย. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” ติวเข้มเจ้าหน้าที่ เตรียมพร้อม “อุตสาหกรรมจังหวัด” เพื่อร่วมขับเคลื่อนกระทรวงอุตฯ ผลักดันธุรกิจไทยให้มีการผลิตที่ดี และเซฟ SME ตามนโยบาย รวอ.เอกนัฏ
“อธิบดีณัฏฐิญา” ติวเข้มเจ้าหน้าที่ เตรียมพร้อม “อุตสาหกรรมจังหวัด” เพื่อร่วมขับเคลื่อนกระทรวงอุตฯ ผลักดันธุรกิจไทยให้มีการผลิตที่ดี และเซฟ SME ตามนโยบาย รวอ.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “แนวทางเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย” ในการฝึกอบรมหลักสูตร "พัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เตรียมความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด" โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเตมีย์ พันธุวงค์ราช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุนีย์ โสภณ ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ หลักสูตรดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุตสาหกรรมจังหวัด โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด พร้อมรองรับบทบาทการเป็นผู้แทนหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ทั้งในด้านการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมในจังหวัด กำหนดจัดทั้งหมด 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 ซึ่งอยู่ระหว่างการอบรมครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งอุตสาหกรรมจังหวัดไม่เกิน 2 ปี และกลุ่มผู้ที่มีรายชื่อผ่านการกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง จำนวน 40 คน “อธิบดีณัฏฐิญา” กล่าวว่า จากประเด็นความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลง อาทิ สงครามการค้า ภาวะโลกร้อน การไหลเข้าของสินค้าต่างประเทศ รวมถึงกติกาการค้าใหม่ของโลกที่มีการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs: Non-Tariff Barriers) ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ อาทิ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถระบุถึงปัญหา และความต้องการที่จะปรับปรุง แก้ไข หรือปรับตัวให้สามารถปกป้องธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของไทยจากการลงทุนของต่างประเทศที่ไม่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ควรต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในเชิงพื้นที่ (Area Based) ทั้งในด้านการกำกับดูแล และการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมควบคู่กัน โดย สอจ. จะรับบทบาทเป็นด่านหน้าในการรับเรื่อง (Front Desk) หรือความต้องการของธุรกิจในพื้นที่ และดีพร้อมจะเข้าไปบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเป็นสถานประกอบการที่ดี มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมไทยตามนโยบาย MIND ของปลัดณัฐพลฯ พร้อมผลักดันการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยการสนับสนุนการผลิตที่มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก เชื่อมโยงภาคธุรกิจและชุมชนให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดรับตามนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปอุตสาหกรรมด้วยการเสริมแกร่งห่วงโซ่อุปทาน สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาทักษะบุคลากร รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทยสู่สากล นอกจากนี้ จะต้องมีการบูรณาการการกำหนดแผนการปฏิบัติงานในระดับจังหวัดให้เชื่อมโยงกับนโยบายของประเทศ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เติบโต ผ่านการกำหนดโครงการที่สามารถเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนา Ecosystem พร้อมทั้งเชื่อมต่อ Supply Chain ทั้งการเชื่อมต่อภายในของ SMEs ในรูปแบบของนิคม และการเชื่อมต่อกับชุมชนโดยรอบ ผ่านเครื่องมือการส่งเสริมและพัฒนาตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
23 มิ.ย. 2025
ดีพร้อม รวมพลังกับชาว ก.อุตฯ จิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่า” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินี และเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
ดีพร้อม รวมพลังกับชาว ก.อุตฯ จิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่า” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินี และเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
ราชบุรี 19 มิถุนายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่า” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 และวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2568 ภายใต้โครงการจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ดูแลสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ” โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน รวมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล นายกฤศ จันทร์สุวรรณ นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด พร้อมด้วย นางสาวกุลวลี นพอมรบดี เลขานุการและโฆษกคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และคณะจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมด้วย ณ ป่าชุมชนบ้านห้วยจำปา ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมืองราชบุรี กิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่า” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตป่าชุมชน ให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนอย่างสมดุล รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ ปลูกจิตสำนึก และความสามัคคีรักความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่ในการร่วมมือดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 700 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้ จำนวน 440 ต้น โดย ปลัดณัฐพล ได้กล่าวทิ้งท้าย “ขอฝากทุกท่านร่วมกันดูแลอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ให้คงอยู่และเติบโต เพื่อการใช้ประโยชน์จากผลิตผลของป่าไม้ในอนาคต และตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของคนในชุมชนเป็นมรดกให้กับลูกหลานของเราต่อไป”
20 มิ.ย. 2025
ปลัดณัฐพล ดันดีพร้อมเร่งเครื่องคัดเลือก "รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 2568" ดันสถานประกอบการไทยสู่ MIND Ambassador มุ่งยกระดับขีดความสามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนให้ประเทศ ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
ปลัดณัฐพล ดันดีพร้อมเร่งเครื่องคัดเลือก "รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 2568" ดันสถานประกอบการไทยสู่ MIND Ambassador มุ่งยกระดับขีดความสามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนให้ประเทศ ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพ 17 มิถุนายน 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2/2568 โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ในการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานจากสถานประกอบการที่ยื่นสมัคร จำนวน 3 ราย และมีคุณสมบัติครบถ้วนและสอดคล้องตามเกณฑ์การสมัคร คือ สถานประกอบการเคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จำนวน 3 ประเภทรางวัลขึ้นไป (ย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี จนถึงปัจจุบัน) และหากสถานประกอบการรายใดเคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมมาแล้ว จะไม่สามารถสมัครได้จนกว่าจะพ้นระยะเวลา 5 ปี และพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการตามเกณฑ์ 6 หมวด ประกอบด้วย 1) การกำหนดกลยุทธ์และนโยบาย 2) ความสามารถในการแข่งขัน 3) ความสามารถในการปรับตัวและการฟื้นคืนกลับ 4) ความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5) ความสามารถในการสร้างคุณประโยชน์ และ 6) ผลลัพธ์ ซึ่งได้มาจากการประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อเข้าสู่กระบวนการลงพื้นที่ประเมินสถานประกอบการจริง และพิจารณาความเหมาะสมในการรับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมต่อไป ทั้งนี้ สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2568 จะได้รับตำแหน่งเป็น "ทูตอุตสาหกรรม" หรือ "MIND Ambassador" เพื่อเป็นตัวแทนภาคเอกชนของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเป็นแบบอย่างของความเป็นเลิศทางอุตสาหกรรม มีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกระทรวงฯ กับภาคเอกชน เพื่อประสานความร่วมมือ เผยแพร่นโยบายและข้อมูลข่าวสารของกระทรวงฯ รวมถึงให้คำปรึกษาและแบ่งปันความรู้แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ สะท้อนถึงนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมให้ทันสมัย สะอาด สะดวก และโปร่งใส เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงคู่ชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป
20 มิ.ย. 2025
“ดีพร้อม” ดันซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย คัด 3 แบรนด์ชนะเลิศ ชูศักยภาพนักออกแบบไทย โชว์ผลงานสู่ระดับสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
“ดีพร้อม” ดันซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย คัด 3 แบรนด์ชนะเลิศ ชูศักยภาพนักออกแบบไทย โชว์ผลงานสู่ระดับสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab) โดยมี นางสาวนันท์ บุญยฉัตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ลาน Co-Event Space Zone A ชั้น G ศูนย์การค้ายูเนี่ยน มอลล์ ลาดพร้าว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการสนับสนุนพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศไทย ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยด้วย 6 กลไกที่สำคัญ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytic) 2) การเทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ (Technology /Digital /Innovation /Creative) 3) การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน (Funding) 4) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ (Privilege) 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร (Networking) และ 6) การผลักดันธุรกิจสู่สากล (Connect to the world) เพื่อให้วิสาหกิจไทยในระบบการพัฒนาสามารถ “สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย” เพิ่มศักยภาพวิสาหกิจไทยให้สามารถยกระดับธุรกิจให้เติบโต และแข่งขันได้อย่างมั่นคง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดีพร้อม โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.กสอ.) ได้จัดกิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ DIPROM Thai Designer Lab มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักออกแบบให้มีการต่อยอดองค์ความรู้ สามารถนำเครื่องมือเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ทั้งในด้านการออกแบบ กระบวนการผลิต การตลาด สามารถสร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ของตนเอง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมก้าวสู่การเป็นแบรนด์ที่รู้จักในระดับสากล สอดคล้องตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ด้วยการเสริมแกร่งห่วงโซ่อุปทาน สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาทักษะบุคลากร รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทยสู่สากล ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีผู้ประกอบการได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 28 ราย ยกระดับผ่านหลักสูตรสำหรับพัฒนานักออกแบบ ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจแฟชั่น การสร้างแบรนด์ การออกแบบ การสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า และการตลาดที่สามารถตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภค 2) การศึกษาดูงาน ณ LV The Place Bangkok และ OHM Thailand เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ 3) การจัดกิจกรรมค่ายปฏิบัติการออกแบบ (Design Lab) โดยมีนักออกแบบมืออาชีพในการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก บ่มเพาะไอเดียสร้างสรรค์ เสริมเทคนิค และแนวคิดด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสู่ระดับสากล 4) การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ตรงกับความต้องการของตลาด แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ และ 5) การจัดประกวดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในหัวข้อ Soft Power โดยมีผลงานผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลชนะเลิศ จำนวน 3 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ Feel Youth แบรนด์ PAKAPAN.s และแบรนด์ LUUMI ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์ จะได้รับโอกาสในการนำสินค้าไปจัดแสดงที่งาน Lifestyle Week Tokyo Big Sight ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2568 ณ ประเทศญี่ปุ่น อีกด้วย
20 มิ.ย. 2025
“ดีพร้อม” เร่งยกระดับคุณภาพสิ่งทอไทย ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านสัญลักษณ์ "Thailand Textiles Tag" พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้แข่งขันได้ โตไกลสู่ตลาดสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
“ดีพร้อม” เร่งยกระดับคุณภาพสิ่งทอไทย ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านสัญลักษณ์ "Thailand Textiles Tag" พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้แข่งขันได้ โตไกลสู่ตลาดสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดมาตรฐานสิ่งทอสำหรับการให้การรับรองติดฉลาก Thailand Textiles Tag ครั้งที่ 2/2568 โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2567 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการที่ผ่านการรับรอง 142 ราย และไม่ผ่านการรับรอง 9 ราย โดยมีจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง 270 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งในปัจจุบันคงเหลือผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองจำนวน 73 กิจการ 121 ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากวุฒิบัตรที่ให้การรับรองกับผู้ประกอบการในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 หมดอายุ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 76 กิจการ มีผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 40 กิจการ ซึ่งจะดำเนินการอบรม ให้คำปรึกษา รวมถึงตรวจสถานประกอบและผลิตภัณฑ์ต่อไป ทั้งนี้ กำหนดจัดพิธีมอบวุฒิบัตร พร้อมจัดนิทรรศการ จำหน่ายผลิตภัณฑ์และแสดงผลงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต ระหว่างวันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2568 นอกจากนี้ คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาร่างข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทย Thailand Textiles Tag ในผลิตภัณฑ์ตามแนวคิด BCG อีกด้วย “รองอธิบดีดวงดาว” ได้ให้แนวทางการดำเนินงานว่า ควรกำหนดขอบข่ายการรับรองเครื่องหมาย รวมถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับ BCG ตลอดจนบทนิยามของวัตถุดิบและองค์ประกอบได้แก่ 1) นิยามวัสดุรีไซเคิล 2) นิยามองค์ประกอบของวัสดุรีไซเคิล 3) นิยามวัสดุเหลือทิ้ง 4) นิยามสิ่งทอรีไซเคิล และ 5) นิยามวัสดุธรรมชาติ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน และเน้นย้ำแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามหลักวิชาการ สำหรับหลักเกณฑ์ข้อกำหนดหลังจากคณะกรรมการพิจารณาแล้ว ขอให้นำไปหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะประกอบการกำหนดหลักเกณฑ์ โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมจัดทำคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐาน รวมถึงการตรวจสอบ การประเมิน การปฏิบัติ การรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และกระตุ้นความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย “ดีพร้อม” มุ่งมั่นในการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพื่อสร้างมาตรฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ยกระดับให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เปิดตลาดการค้าทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางตลาดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือ ยกระดับคุณภาพและสร้างการเติบโตให้อุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สอดรับตามนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปอุตสาหกรรมด้วยการเสริมแกร่งห่วงโซ่อุปทาน สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาทักษะบุคลากร รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทยสู่สากล
20 มิ.ย. 2025
ดีพร้อม จัดกิจกรรม “แบ่งรัก ปันน้ำใจ เทิดไท้องค์ราชินี 47 พรรษา” ร่วมสมทบทุนและช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา
ดีพร้อม จัดกิจกรรม “แบ่งรัก ปันน้ำใจ เทิดไท้องค์ราชินี 47 พรรษา” ร่วมสมทบทุนและช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา
กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวเปิดกิจกรรมโครงการ "แบ่งรัก ปันน้ำใจ เทิดไท้องค์ราชินี 47 พรรษา" พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เข้าร่วม โดยมี นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรรมการและเลขานุการของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้การต้อนรับ ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในโอกาสนี้ ดีพร้อมได้จัดเตรียมสิ่งของอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งเชิญชวนเจ้าหน้าที่ร่วมบริจาคสมทบทุนการศึกษาให้กับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งกิจกรรมฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางการมองเห็น รวมถึงเป็นการทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยภายในงาน ผู้เข้าร่วมได้รับชม VTR แนะนำมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภารกิจและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ จากนั้น นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคและสิ่งของอุปโภคบริโภคเพื่อช่วยเหลือมูลนิธิฯ ให้กับคณะกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่ดีพร้อมยังได้ร่วมกิจกรรมพิเศษอัดเสียงอ่านหนังสือนิทานให้กับน้อง ๆ ผู้พิการทางสายตา เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญา อีกทั้งยัง ถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการแบ่งปันในชุมชนให้แก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อมอีกด้วย
19 มิ.ย. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” นำทีมดีพร้อม วางกรอบ สร้างโมเดล การบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนฯ ต่อกระทรวงการคลัง ในการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ  ครั้งที่ 3/68
“อธิบดีณัฏฐิญา” นำทีมดีพร้อม วางกรอบ สร้างโมเดล การบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนฯ ต่อกระทรวงการคลัง ในการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ  ครั้งที่ 3/68
กรุงเทพฯ 10 มิถุนายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 3/2568 พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว คณะกรรมการฯ ร่วมกันพิจารณาแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ระยะเวลา 16 มิถุนายน 2568 – 30 กันยายน 2569 ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำขึ้นตามข้อสังเกตจากการหารือกับกรมบัญชีกลางและบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จํากัด (บริษัทที่ปรึกษา) พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานบางด้านไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำมากำหนดแผนการปฏิบัติงานให้มีความรัดกุมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้สามารถบรรลุตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจำหน่ายหนี้สูญต่อกรมบัญชีกลาง “อธิบดีณัฏฐิญา” ได้ให้นโยบายการกำหนดแนวทางการติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ มีการดำเนินการร่วมกับคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนในแต่ละคณะ ซึ่งมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์พร้อมระบุเหตุผลเพื่อชี้แจง และให้ข้อสังเกตต่อคณะกรรมการฯ ถึงความครบถ้วนและถูกต้องของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ เพื่อคัดกรองผู้กู้ที่มีศักยภาพและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระในอนาคต รวมทั้งการติดตามสถานะการประกอบกิจการหรือสถานะทางการเงินของผู้กู้เป็นระยะ ตลอดจนการกำกับและติดตามเร่งรัดหนี้ตามแผนเชิงป้องกัน (Preventive Plan) และตามแนวทางของเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้คณะกรรมการ ฯ ยังได้ร่วมกันลงมติเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ เพื่อทดแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง 2 ท่าน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ
19 มิ.ย. 2025
chatbot