โทรศัพท์ 1358
“ดีพร้อม” โชว์ปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ฝ่าโควิด 2.0 สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 100 ล้านบาท
“ดีพร้อม” โชว์ปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ฝ่าโควิด 2.0 สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 100 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 13 สิงหาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสมอบวุฒิบัตร โล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เข้าอบรมดีเด่น และปิดการอบรมโครงการปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม(Agro Beyond Academy) หรือ ABA รุ่นที่ 2 พร้อมทั้งร่วมพูดคุยในกิจกรรมส่งเสริมการตลาดถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live สด ผ่าน Facebook Fanpage: WOODY กิจกรรมส่งเสริมการตลาดในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมส่งท้ายให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม “Agro Beyond Academy รุ่น 2” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เพื่อส่งเสริมการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ของผู้เข้าอบรมที่ร่วมโครงการฯ ได้สร้างช่องทางการประชาพันธ์ และสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ Agro Beyond Academy รุ่นที่ 2 มุ่งเน้นให้การสนับสนุนพร้อมผลักดันนักธุรกิจด้านเกษตรกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความสามารถเพื่อความเข้มแข็งแก่ชุมชนและท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในปีนี้ มีผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนทั่วไปสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งหมด 2,138 คน แบ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมาร้อยละ 53 และผู้ประกอบการที่กำลังเข้าสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมร้อยละ 47 โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งหมด 30 ชั่วโมง จำนวน 7 วัน ผ่านการ Live ช่องทางเฟสบุค ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิชาหลัก ได้แก่ หลักสูตรทางด้านการบริหารจัดการ หลักสูตรด้านการตลาด และหลักสูตรทางด้านการบัญชี และการเงิน และได้มีการติดตามผลการเรียนของผู้เข้าเรียนด้วยการทำแบบประเมินผลการเรียน พบว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถนำความรู้จากคลาสเรียนไปต่อยอดใช้งานในธุรกิจได้สำเร็จ และสามารถขยายช่องทางเครือข่ายทางธุรกิจ ทำให้มีรายได้โดยเฉลี่ยโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 (คำนวนร้อยละจากผู้เข้าเรียน) ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในไทยได้กว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับรางวัลเป็นผู้เข้าอบรมที่ดี (The Best) จํานวน 30 ท่าน และรางวัลเข้าอบรมดีเด่น (The Best of The Best) จำนวน 3 ท่าน ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ส.ค 2021
กระทรวงอุตฯ ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOC) กับแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ
กระทรวงอุตฯ ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOC) กับแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ
กรุงเทพฯ 11 สิงหาคม 2564 - นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย - ญี่ปุ่น (Thailand – Japan High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายโมเทกิ โทชิมิตสึ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานร่วมในการประชุมในครั้งนี้ ร่วมด้วย รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น และผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย ผ่านระบบการประชุมทางไกล การประชุม HLJC เป็นกลไกการประชุมระดับสูงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อหารือเชิงนโยบายในการกำหนดทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยในครั้งนี้ได้กำหนดประเด็นหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจทเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างยั่งยืน ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1 การสอดประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ของไทยกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของญี่ปุ่น 2 ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และ 3 ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสาธารณสุข นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าว ยังจัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation: MOC) ระหว่างหน่วยงานรัฐบาลไทยกับหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของการประชุมครั้งนี้ โดย 1 ใน 4 ฉบับ เป็นความร่วมมือโครงการ Lean IoT Plant Management and Execution (LIPE) ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทน และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยมี นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นผู้แทน กับ กรมนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Trade Policy Bureau, METI) โดยมี นายมัทสึโอะ ทาเคะฮิโกะ อธิบดีกรมนโยบายการค้า เป็นผู้แทน และกรมความร่วมมือการค้าและเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Trade and Economic Cooperation Bureau, METI) โดยมีนาย อีดะ โยอิจิ อธิบดีกรมความร่วมมือการค้าและเศรษฐกิจ เป็นผู้แทน ซึ่งเป็นการสร้างกรอบความร่วมมือสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาเทคโนโลยี Lean IoT ในการบริหาร จัดการโรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Lean IoT Plant Management and Execution : LIPE) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาลไทยในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ หรือ ประเทศไทย 4.0 ในอันดับต่อไป รวมถึงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นกำหนดการ โครงการ หรือการจัดตั้งนโยบายเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) กับจังหวัดต่าง ๆ ของญี่ปุ่นแล้ว จำนวน 21 จังหวัด เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ การลงทุน และการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเฉพาะทางต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ส.ค 2021
ดีพร้อม ลับคมสมองบุคลากร ติวเข้มพร้อมปลุกพลังศักยภาพดรีมทีม
ดีพร้อม ลับคมสมองบุคลากร ติวเข้มพร้อมปลุกพลังศักยภาพดรีมทีม
กรุงเทพฯ 8 เมษายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “ปลุกศักยภาพทีมงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) (Empowering the team)” ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 44 ราย ณ โรงแรมสินธร มิดทาวน์ ถนนวิทยุ ปทุมวัน การอบรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการบริหารงานเป็นทีม โดยกำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของตนเองให้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมร่วม และพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งการสร้างทัศนคติในการทำงานร่วมกันเชิงบวก เพื่อให้การทำงานเป็น แนวทางเดียวกัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ และระดับอาวุโส ที่จะเลื่อนระดับเป็นหัวหน้างานในอนาคต โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 5 และ 7-8 เมษายน 2564 แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 เป็นการฝึกอบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom มีเนื้อหาด้านพัฒนาทักษะการ Pitching เทคนิคการนำเสนอหรือแสดงความคิดเห็นในเวลาจากัดให้ประสบความสำเร็จ และในช่วงที่ 2 เป็นการบรรยาย พร้อม Work shop มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างศักยภาพทีมงานให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมสมอง เพื่อสร้างรูปแบบ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Change Model) เพื่อให้สามารถบริหารงาน และปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันต่อไป และในเวลาต่อมา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงถึงมาตรการแนวทางการทำงานของบุคลากรกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ครั้งนี้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 เม.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ
กรุงเทพฯ 2 เมษายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพลอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 66 พรรษา โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมลงนามถวายพระพรฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 เม.ย. 2021
ดีพร้อมลงพื้นที่กรุงเก่า โชว์ผลสำเร็จปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 พร้อมงัดไม้เด็ด STI 3 มาตรการ ช่วยธุรกิจไทยเต็มเหนี่ยว
ดีพร้อมลงพื้นที่กรุงเก่า โชว์ผลสำเร็จปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 พร้อมงัดไม้เด็ด STI 3 มาตรการ ช่วยธุรกิจไทยเต็มเหนี่ยว
จ.พระนครศรีอยุธยา 1 เมษายน 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ภายใต้ กิจกรรม SMEs Grow Up ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ “ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19” พร้อมเผยผลสำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจทั่วประเทศ 1,494 ราย เตรียมเร่งพัฒนา 3 มาตรการสติ (STI) ฟื้นฟูเร่งด่วนช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ณ บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด อำเภอวังน้อย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ดีพร้อม (DIPROM) เร่งฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายทีมกูรูดีพร้อม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 ศูนย์ทั่วประเทศ เร่งสำรวจผลกระทบและความต้องการของผู้ประกอบการ จำนวน 1,494 ราย พบว่าผลกระทบที่ผู้ประกอบการประสบปัญหามากที่สุดคือ กำลังซื้อลูกค้าลดลงและด้านการตลาด ขณะเดียวกันยังได้สำรวจการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ พบว่ามีการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ปรับลดราคา และพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานและความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยภาพรวมในการปรับตัวของผู้ประกอบการเป็นไปตามแนวทางที่ดีพร้อมได้ส่งเสริมในปี 2563 ซึ่งถือได้ว่ากรมได้เดินมาถูกทาง และเพื่อยกระดับมาตรการให้สอดรับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทาง ดีพร้อม ได้นำข้อมูลจากผลสำรวจข้างต้น มาประกอบการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย “สติ” (STI) 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1. มาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เน้นส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีทักษะการบริหารการเงินที่ดี การส่งเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการขอสินเชื่อ ผ่านการพัฒนาทักษะการเขียนแผนธุรกิจ 2. มาตรการเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ โดยส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยี AI เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพในภาคการผลิต สามารถคำนวนข้อจำกัดต่างๆ ทั้งยังช่วยให้เกิดการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสามารถหยุดและดำเนินการผลิตได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อแรงงานบุคคล และ 3. มาตรการเพื่อสนับสนุนด้านการตลาด เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งการตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ ดีพร้อม ส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด เป็นอีกหนึ่งบริษัทฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากการหยุดกิจการของห้างสรรพสินค้า ธุรกิจร้านอาหาร และโรงแรม ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 20-30 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ จึงตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม SMEs Grow Up ซึ่งได้เรียนรู้ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อระบายสินค้า เนื่องจากข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเก็บได้นาน ผ่านการเรียนรู้วิธีการวางกลยุทธ์เพื่อกำหนดจุดยืน/จุดต่างในแพลตฟอร์มออนไลน์ (Brand Value Proposition) การเข้าถึงลูกค้าผ่านบัญชีไลน์เพื่อธุรกิจ และการพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัท จึงเป็นโอกาสให้สามารถเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลลัพท์จากการพัฒนาพบว่าสินค้าตนเองมียอดการค้นหาใน Google เพิ่มมากขึ้นจากลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ทำให้ยอดขายออนไลน์เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 30 ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021
อธิบดีณัฐพล ร่วมแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2563
อธิบดีณัฐพล ร่วมแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2563
กรุงเทพฯ 1 เมษายน 2564 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมแสดงความยินดีในพิธีมอบเกียรติบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2563 โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลในนามของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี 2563 ได้แก่ นายอภินันท์ เจริญสุข ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และ นายธีรินทร์ อินทรมูล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สำนักงานเลขานุการกรม ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ พร้อมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น รวมถึงเพื่อเป็นการยกย่องส่งเสริมข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021
ดีพร้อม เร่งลับคมความคิด เสริมศาสตร์และศิลป์นักบริหารระดับสูง
ดีพร้อม เร่งลับคมความคิด เสริมศาสตร์และศิลป์นักบริหารระดับสูง
กรุงเทพฯ 1 เมษายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลับคมความคิดสำหรับนักบริหารระดับสูง ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เล่าเรื่อง สื่อความคิด ส่งสาร คือ ศิลปะของผู้นำ โดยถือเป็นหนึ่งในทักษะและความสำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งดีพร้อมได้ให้ความสำคัญดังกล่าว จึงเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรให้มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร อำนวยการ และเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเล่าเรื่อง การสื่อสาร และการถ่ายทอดความคิด เกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ โครงการ/กิจกรรม หรือเป้าประสงค์ของหน่วยงาน เพื่อให้ผู้ได้รับสาร ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ตราตรึง เข้าใจได้ง่าย และมีความน่าเชื่อถือ โดยกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยาย การแบ่งกลุ่มอภิปราย การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมติ การฝึกปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีองค์ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารเพิ่มขึ้น และสามารถสื่อสารนโยบายและโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021
“สุริยะ” งัดกลยุทธ์ดันสตาร์ทอัพคอนเน็คดีพร้อม รุ่น 2 โยงเครือข่าย – ขยายตลาด เฟ้นหาสุดยอด Deep Tech จับคู่เจรจาธุรกิจ คาดเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท
“สุริยะ” งัดกลยุทธ์ดันสตาร์ทอัพคอนเน็คดีพร้อม รุ่น 2 โยงเครือข่าย – ขยายตลาด เฟ้นหาสุดยอด Deep Tech จับคู่เจรจาธุรกิจ คาดเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2564 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการจับคู่/เจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) ร่วมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุระ เพชรพิรุณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนจากบริษัทนักลงทุน ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ The Grounds ชั้น 31 อาคาร G Tower ถ.พระราม 9 งานดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) รุ่นที่ 2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ โดยส่งเสริมโอกาสและช่องทางให้แก่สตาร์ทอัพในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการดำเนินธุรกิจส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยรุ่นที่ 2 นี้ จะเป็นการมุ่งเน้นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อขยายฐานตลาด และ สร้างเครือยข่าย ผลักดันการนานวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ผ่านกลยุทธ์ในการขยายเครือข่ายผู้ประกอบการ ขยายเครือข่ายเงินทุน ขยายเครือข่ายตลาด และขยายเครือข่ายนานาชาติ ซึ่งคัดเลือกผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ 25 ทีมในกลุ่มอุตสาหกรรมดีพเทค เจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) กับบริษัทภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุน (CVC) เพิ่มศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ คาดว่าเกิดการร่วมมลงทุนคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021
ดีพร้อม ระดมสมองบุคลากรสรรค์สร้าง Ecosystem ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
ดีพร้อม ระดมสมองบุคลากรสรรค์สร้าง Ecosystem ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมมอบนโยบายในกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การระดมสมองเพื่อกำหนดกรอบการจัดทำระบบนิเวศน์อุตสาหกรรม (Ecosystem)” ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล กล่าวรายงาน ณ ห้องบุหงา ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ห้วยขวาง สำหรับการพัฒนาระบบ Ecosystem เป็นการต่อยอดพัฒนางานบริการแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ พร้อมกับบูรณาการภายในหน่วยงานเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบ Ecosystem โดยกรอบของระบบมีทั้งหมด 3 ระบบย่อย คือ 1. ระบบ E-Service เป็นระบบบริการสำหรับผู้ประกอบการ ที่มีทั้งกิจกรรมด้านการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและด้านเงินทุน ซึ่งหน่วยงานจะให้บริการผ่านออนไลน์ 2. ระบบ E-Office เป็นระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ระบบจัดการรับสมัคร ระบบบริหารจัดการข้อมูลและประเมินผล ระบบข้อมูลผู้ให้บริการ ระบบข้อมูลการรับจ้าง ระบบรายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งระบบบันทึกข้อมูลผลงานผู้รับจ้างด้วย 3. ระบบ E-Report เป็นระบบรายงานผล ที่หน่วยงานสามารถนำข้อมูลข้างต้นมาวิเคราะห์แนวโน้ม สถิติ ความต้องการของผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ และตอบปัญหาได้ในทันที โดยกิจกรรมในงานดังกล่าวจะเป็นการให้แนวทางการพัฒนาระบบ Ecosystem และการทำเวิร์คช็อป เพื่อกำหนดกรอบในการจัดทำระบบ Ecosystem ทั้งนี้ การจัดทำระบบ Ecosystem นั้น มีความสำคัญต่อการให้บริการด้านออนไลน์ ซึ่งบุคลากรในหน่วยงานได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์หากรอบแนวทางในการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการในปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้ในการประมวลผลติดตามตลอดจนการพิจารณาจัดทำกิจกรรม/โครงการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล”’ นำทีมดีพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมอัตลักษณ์และภูมิปัญญาขึ้นชื่อคนเมืองคอน
“อธิบดีณัฐพล”’ นำทีมดีพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมอัตลักษณ์และภูมิปัญญาขึ้นชื่อคนเมืองคอน
จ.นครศรีธรรมราช 25 มีนาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชริน ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านวังม่วง อ.เมือง โดยมี นางมณฑา กังวาลก้อง หัวหน้ากลุ่มวิสากกิจชุมชนฯ ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านวังม่วง เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักสานจากย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเถาวัลย์ (ภาษาท้องถิ่น ภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลําต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนํามาจักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ ต่าง ๆ และเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน และสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยเริ่มทำมาตั้งแต่รุ่นของคุณพ่อคุณแม่และสืบทอดมาปัจจุบันรุ่นที่ 3 ภายใต้แบรนด์ “ลิเภามณฑา” โดยทุกชิ้นงานจะมีความละเอียดเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีรูปทรงทั้งแบบโบราณและแบบร่วมสมัย ทุกผลิตภัณฑ์จะถูกทำออกมาด้วยมือ ไม่มีการใช้เครื่องจักร หรือเรียกว่าเป็นงานแฮนด์เมด (Hand made) ดังนั้น “ผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาของ ลิเภามณฑา จึงมีเครื่องการันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว และช่างหัตศิลป์ไทยยอดเยี่ยม กลุ่มงานเครื่องจักสาน นอกจากนี้ ยังมีส่งออกผลิตภัณฑ์ไปตลาดต่างประเทศและมีผู้มารับผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่อที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ในปัจจุบันได้มีการนำศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์อย่างเครื่องถมมาผสมผสานกับย่านลิเภาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาที่มีฝาปิดเป็นเครื่องถม โดยเลือกใช้ถมทองมาประยุกต์ให้กับย่านลิเภาทำให้มีผู้ที่ให้ความสนใจ ตลอดจนทางวิสาหกิจชุมชนฯ ได้มีการหันมาทำเครื่องถมเป็นเครื่องประดับเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มวิสาหกิจฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กับทาง กสอ. และมีความต้องการให้ทาง กสอ. เข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อนำไปปรับปรุงสถานประกอบการและลงทุนขยายกิจการเพิ่มเติมต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ. : ภาพข่าว / รายงาน )
26 มี.ค. 2021