โทรศัพท์ 1358
ดีพร้อม สักการะพระนารายณ์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และทำพิธีเจิมป้ายชื่อศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER)
ดีพร้อม สักการะพระนารายณ์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และทำพิธีเจิมป้ายชื่อศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER)
จ.ลำปาง 3 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมสักการะองค์พระนารายณ์ และศาลพระภูมิประจำศูนย์พัฒนาเซรามิกและวัสดุอุตสาหกรรม และทำพิธีเจิมป้ายชื่อศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM Meeting, Industrial Conference and Exhibition Center : DIPROM MICE CENTER) โดยพระพรหมมงคลวัชโรดม (โอภาส โอภาโส) เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดจองคำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน "DIPROM MOTOR SHOW 2022" ระหว่างวันที่ 9 - 16 กุมภาพันธ์ 2565 งานมหกรรมยานยนต์สุดยิ่งใหญ่ พร้อมสินค้าดีมีคุณภาพ ครั้งแรกในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งภายในงานจะได้พบรถยนต์และจักรยานยนต์ กว่า 20 ค่ายดัง ยกขบวนพาเหรดโปรโมชั่นส่วนลดสุดพิเศษไม่ต่ำกว่า 10% ฟรีดาวน์ ตลอดจนส่วนลดกว่า 70% สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพดีจากผู้ประกอบการทั่วไทยกว่า 40 ราย อาทิ สินค้าเกษตรแปรรูปและชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของใช้ของตกแต่ง และเครื่องนุ่มห่ม รวมทั้งร้านอาหารยอดนิยมของเมืองลำปางด้วย ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 ก.พ. 2022
ดีพร้อม ผนึกกำลัง มธ. ลำปาง  สร้าง MOU ประเดิมนโยบายดีพร้อมแคร์ อัพเกรดสินค้าชุมชนด้วยการออกแบบ - วัสดุสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์
ดีพร้อม ผนึกกำลัง มธ. ลำปาง สร้าง MOU ประเดิมนโยบายดีพร้อมแคร์ อัพเกรดสินค้าชุมชนด้วยการออกแบบ - วัสดุสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์
จ.ลำปาง 3 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และรองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และหัตถอุตสาหกรรม ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจําลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลําปาง รองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์ลําปางและกฎหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือในครั้งนี้ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ อำเภอเกาะคา ดีพร้อม ผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ทำข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้ นโยบายดีพร้อมแคร์ ที่มุ่งเน้นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันในการเชื่อมโยงพันธมิตรระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านมาช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ให้มีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการการส่งเสริมและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัดลำปางและภูมิภาค รวมถึงให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านความร่วมมือ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ด้านบุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการให้ความรู้ทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่นักศึกษาของศูนย์ลำปาง และ 2. ด้านสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยี และสถานที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในการฝึกภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษา รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาการออกแบบและการผลิตอุตสาหกรรมแก่คณาจารย์และนักศึกษาของศูนย์ลำปาง นอกจากนี้ ยังจะใช้ประโยชน์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ในการเพิ่มประสิทธิภาพวัตถุดิบและการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของการเป็น “นครแห่งเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา” ให้เป็นที่ยอมรับในบริบทใหม่ ๆ ต่อไป ทั้งนี้ เป้าหมายของความร่วมมือดังกล่าว เป็นการสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัดลำปางและภูมิภาค รวมถึงให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือเกิดการต่อยอดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation Drive Economy) และนโยบายสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมรูปแบบใหม่ ๆ อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมมีการพัฒนานวัตกรรมและวัสดุอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
03 ก.พ. 2022
อธิบดีณัฐพล นำทีมเช็คความพร้อมพื้นที่จัดพิธีลงนาม MOU ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ และ "DIPROM MOTOR SHOW 2022"
อธิบดีณัฐพล นำทีมเช็คความพร้อมพื้นที่จัดพิธีลงนาม MOU ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ และ "DIPROM MOTOR SHOW 2022"
จ.ลำปาง 2 กุมภาพันธ์ 2565 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม เยี่ยมชม และตรวจตราความเรียบร้อยของสถานที่จัดงาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และหัตถอุตสาหกรรม ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (3 กุมภาพันธ์ 2565) และสำรวจพื้นที่สำหรับจัดงาน "DIPROM MOTOR SHOW 2022" ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ อำเภอเกาะคา โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นก้าวแรกภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ ผ่านความร่วมมือทางวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และหัตถอุตสาหกรรมในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นการ สร้างความร่วมมือ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านบุคลากร การถ่ายทอดความรู้ความสามารถ ทักษะ ความชำนาญและประสบการณ์ในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 2.ความร่วมมือ ด้านสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยี และสถานที่ในการฝึกภาคปฏิบัติ การวิจัยและพัฒนาการออกแบบและการผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งจะมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัดลำปางและภูมิภาค รวมถึงกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังได้สำรวจความพร้อมของพื้นที่จัดงาน "DIPROM MOTOR SHOW" อาทิ ป้ายชื่อศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกภายในงานดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 ก.พ. 2022
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
กรุงเทพฯ 31 มกราคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 ของหนังสือพิมพ์มติชน โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และคำกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สู่ศักยภาพใหม่ : Thailand 2022” ร่วมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ และสื่อมวลเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ชั้น G อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 จตุจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยมาตรการด้านสาธารณสุขและมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐผนวกกับความร่วมมือของทุกฝ่าย ทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เห็นได้จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI ขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม หรือ GDP ภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภายหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแสวงหาโอกาสจากการปรับตัวไปสู่รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal ด้วยการปรับทิศทางกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งอาศัยจุดแข็งของประเทศไทย ในหลาย ๆ ด้าน เพื่อสร้างความได้เปรียบและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคต ขณะเดียวกัน ภาครัฐยังได้สร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ซึ่งมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและเร่งขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปเป็นการมุ่งสู่การปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ การส่งเสริมการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) ตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง รวมถึงทำให้เกิดเม็ดเงินสู่ระบบแรงงานไทยอย่างยั่งยืน สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรม มีแนวทางการส่งเสริมการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยอุตสาหกรรมชุมชนผ่านการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนให้มีความเข้มแข็งผ่านการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ภายใต้ แนวคิดหลัก คือ การสร้างหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรมวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชนมาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่ตรงประเด็น สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วในทุกช่องทาง รวมทั้งได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับยุคของ Next Normal อีกทั้ง ยังบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้ตัวอย่างนโยบาย “DIProm CARE” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ขณะเดียวกัน ยังเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างมูลค่าที่เติบโตบนฐานนวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงมีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามโมเดลอุตสาหกรรมรายสาขาและอุตสาหกรรมที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการพัฒนาสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ 1. การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพิ่มความหลากหลายสินค้าเกษตร และนำ Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการผลิต 2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ (S Curve) 3. การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 โดยสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ ส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนให้มีผลิตภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่กับการเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทุกระดับ 4. การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG 5. การจัดตั้งและส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ 6. การยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่สะดวกรวดเร็ว บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอีกด้วย ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 ก.พ. 2022
ดีพร้อม เสริมทัพสู้ภัย COVID-19 เดินหน้าต่อยอดต้นแบบ 2 ผลงานเครื่องมือแพทย์ พร้อมส่งมอบความห่วงใยสู่บุคลากรทางการแพทย์ 23 แห่ง ทั่วประเทศ
ดีพร้อม เสริมทัพสู้ภัย COVID-19 เดินหน้าต่อยอดต้นแบบ 2 ผลงานเครื่องมือแพทย์ พร้อมส่งมอบความห่วงใยสู่บุคลากรทางการแพทย์ 23 แห่ง ทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 28 มกราคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นางเกษสุดา ดอนเมือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมส่งมอบต้นแบบเครื่องมือแพทย์ 2 ผลงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 30 ชิ้น ให้แก่โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน 23 แห่ง ทั่วประเทศ โดยมี ผู้แทนจากสถานพยาบาลดังกล่าวเป็นผู้รับมอบในครั้งนี้ ณ ห้องธารกำนัล พระราชวังพญาไท เขตราชเทวี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การส่งมอบต้นแบบเครื่องมือแพทย์ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการส่งเสริมการขยายผลงานต้นแบบเครื่องมือแพทย์ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเป็นการพัฒนาและต่อยอดต้นแบบเครื่องมือแพทย์ ซึ่งมุ่งเน้นการประยุกต์เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว รวมทั้งสำรวจความต้องการจากบุคลากรทางการแพทย์และได้ปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งได้คัดเลือกต้นแบบเครื่องมือแพทย์ 2 ผลงาน มาปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานจากข้อเสนอแนะของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จนได้เครื่องมือแพทย์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ประกอบด้วย 1. เครื่อง Distancing Stethoscope หูฟังทางการแพทย์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งในรูปแบบ Acoustic Stethoscope ที่แพทย์มีความคุ้นเคย หรือรูปแบบ Bluetooth Wireless ที่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 5 - 10 เมตร เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างแพทย์ผู้ตรวจและผู้รับการตรวจ และ 2. เครื่องติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาเหมาะสำหรับการใช้งานในหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ หน่วยบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและสามารถใช้ร่วมกับรถพยาบาลหรือพาหนะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะมีน้ำหนักเบา มีแบตเตอรี่ในตัวสามารถใช้งานได้กว่า 2 ชั่วโมงต่อเนื่อง รวมทั้งมีหน้าจอระบบ touch screen สามารถขยายหรือลดขนาดคลื่นไฟฟ้าและหยุดหน้าจอชั่วขณะ เพื่อทำการวินิจฉัยอาการได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากกิจกรรมดังกล่าว ได้มีการขยายผล เพื่อจัดเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและผู้สนใจด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานต้นแบบโดยบุคลากรทางการแพทย์ การสาธิตและแนะนำการใช้งานต้นแบบและบรรยายเกี่ยวกับองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องมือแพทย์ โดย ดีพร้อม เชื่อมั่นว่าจะสามารถนำไปสู่การใช้งานในสถานพยาบาลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพสู่การใช้งานจริงในกลุ่มสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพของไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล สามารถแข่งขันกับต่างประเทศและเกิดความยอมรับในสายตานานาชาติต่อไปได้ในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
31 ม.ค. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ประชุมเหล่าขุนพลดีพร้อม เตรียมพร้อมการทำงาน ปี 65 อย่างเต็มสูบ
“อธิบดีณัฐพล” ประชุมเหล่าขุนพลดีพร้อม เตรียมพร้อมการทำงาน ปี 65 อย่างเต็มสูบ
กรุงเทพฯ 27 มกราคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ครั้งที่ 72 – 1/2565 ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคาร กสอ. และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญแจ้งในที่ประชุมให้ทราบ ประกอบด้วย การสรุปผลและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการบุคลากรของ กสอ. การลาออกจาราชการของบุคลากร กสอ. และการตัดโอนอัตรากำลังของ กสอ. ให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งมีประเด็นพิจารณาหารือในที่ประชุมร่วมกันเกี่ยวกับการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เงินกันเหลื่อมปี) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งในที่ประชุมได้มีการชี้แจงรายละเอียดการเบิกจ่ายที่คงค้างและอยู่ระหว่างการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ โดยประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลกองฯ และศูนย์ภาคฯ ต่าง ๆ ในสังกัด กสอ. เร่งดำเนินเร่งติดตามการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระยะเวลาในไตรมาสที่กำหนด รวมถึงได้มีการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 โดยทาง กง.กสอ. ได้รายงานต่อที่ประชุมว่าได้มีการจัดส่งคำของบประมาณดังกล่าวไปยังสำนักงบประมาณเมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา และยังได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของ กสอ. ในการตรวจสอบการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของสำนักงบประมาณปี 2564 รวมถึงได้มีการยกตัวอย่างและอธิบายให้ในที่ประชุมเห็นถึงการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับทางสำนักงบประมาณ เพื่อให้คำของบประมาณประจำปี 2566 เป็นไปตามที่ต้องการ โดยประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเตรียมเอกสาร ข้อมูล และตัวอย่างต้นแบบผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนจาก ดีพร้อม เพื่อนำเสนอต่อกรรมาธิการฯ พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้หน่วยงานดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามนโยบาย DIPROM CARE ต่อไป ขณะเดียวกัน ยังได้มีการรายงานผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ไตรมาส 1 ประจำปี 2565 รวมถึงความคืบหน้าโครงการสินเชื่อ DIProm Pay โดยได้มีการรายงานรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคำร้องขอสินเชื่อดังกล่าวจากหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของ กสอ. ซึ่งได้มีการชี้แจงรายละเอียดผู้ประกอบการแต่ละรายให้ประธานในที่ประชุมทราบ และทาง สล.กสอ.ได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ที่จะยื่นขอสินเชื่อจัดส่งให้ สล.กสอ. ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 65 นอกจากนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา) ยังได้รายงานความคืบหน้าการเตรียมการจัดงาน DIPROM MOTOR SHOW ระหว่างวันที่ 9 – 16 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำปาง โดยได้นำเสนอถึงรูปแบบการจัดงานและกิจกรรมภายในงาน ผังภาพรวมการจัดงาน แผนการประชาสัมพันธ์ พิธีเปิดงาน และการเตรียมอุปกรณ์และจุดอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมงาน พร้อมทั้งมาตรการการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 ม.ค. 2022
ดีพร้อม ติวเข้มบุคลากรศึกษาโมเดลการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ นำร่องพัฒนา 13 ชุมชน ทั่วประเทศ
ดีพร้อม ติวเข้มบุคลากรศึกษาโมเดลการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ นำร่องพัฒนา 13 ชุมชน ทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 25 มกราคม 2565 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “ศึกษารูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม” ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting กิจกรรมดังกล่าว ดำเนินการเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area Based Community Development) รวมทั้งเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่ของดีพร้อม สามารถจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินศักยภาพของพื้นที่เพื่อพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ผ่าน 3 กิจกรรม คือ 1. การสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ถึงหลักการของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ทั้ง 5 มิติ (มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม) 2. การศึกษาเรียนรู้วิธีการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต้นแบบ 3. การศึกษารูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนในพื้นที่นำร่อง โดยจะดำเนินการคัดเลือกชุมชนนำร่องในพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 – 11 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่วนกลาง รวม 13 ชุมชน เพื่อขยายผลไปสู่อีกหลายชุมชนให้เป็นฐานในการพัฒนา อีกทั้งยังพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจในทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ สามารถวิเคราะห์ศักยภาพและเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงและนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนที่สร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ได้ ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022
“รสอ.ณัฏฐิญา” นำทีมประชุมคณะทำงานพิจารณารางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 65
“รสอ.ณัฏฐิญา” นำทีมประชุมคณะทำงานพิจารณารางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 65
กรุงเทพฯ 25 มกราคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ประเภทการบริหารจัดการ ครั้งที่ 1 ร่วมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กสอ. และคณะเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคาร กสอ. และในรูปแบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงานคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ประเภทการบริหารจัดการ โดยกิจกรรมดังกล่าว เปิดให้ผู้ประกอบการสามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ตั้งแต่วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2565 สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดการสมัครรับรางวัลฯ ได้ที่ https://shorturl.asia/EP0fH สนใจส่งใบสมัครได้ที่ E-Mail : mgtsmeaward@gmail.com เบอร์โทรติดต่อ 02-430-6869-1271,1216 ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022
ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จดึงแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ “Social Commerce” ตัวช่วยผู้ประกอบการยุคใหม่ กระตุ้นยอดขายกว่า 90 ล้านบาท
ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จดึงแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ “Social Commerce” ตัวช่วยผู้ประกอบการยุคใหม่ กระตุ้นยอดขายกว่า 90 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 24 มกราคม 2565 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงผลสำเร็จกิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม พร้อมโชว์สุดยอด 3 Success case ซึ่งมีความโดดเด่นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุด ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live ทางเพจ Digital Dip โดยมีนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ผู้บริหารดีพร้อม ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ และสื่อมวลชนเข้าร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อม ภายใต้ โครงการ D-พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด กับการตลาดออนไลน์ 2.0 ในยุคโควิด หรือ DIProm Social Commerce เป็นการมุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพด้านการทำตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพ โดยการพัฒนาทักษะด้านการขายสินค้าออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาช่องทางการตลาดในรูปแบบของตลาดดิจิทัลที่มีการลงทุนต่ำและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การจัดฝึกอบรมออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 6,000 คน 2. การให้คำปรึกษาแนะนำแบบกลุ่มผ่านออนไลน์แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนกว่า 600 คน 3. การทดสอบการทำตลาดแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนกว่า 300 คน ซึ่งผู้ประกอบการได้เรียนรู้วิธีการดึงความสนใจของผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดแบบ Live สด พร้อมเทคนิคต่าง ๆ จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในโซเชียลมีเดีย (Influencer Marketing) และ 4. การถ่ายทอดสด (Live สด) เป็นการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเป็น Success Case จำนวนกว่า 60 คน โดยการ Live สด ผ่าน Facebook Live ทางแฟนเพจ Digital Dip และผู้ประกอบการได้มีการขายสินค้าจริงและเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการหลังบ้านบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่การคัดเลือกผู้ประกอบการสุดยอดต้นแบบแห่งการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จในระยะสั้น “สุดยอด Success Case” ดีเด่น จำนวน 3 คน โดยได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ 1. ASMA Halal Skincare Products ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง 2. ร้านมาดามอร ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานสุขภาพแบบพร้อมทาน และ 3. Paweena Cloth&Craft ผู้จำหน่ายผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ Social Commerce เป็นเครื่องมือและช่องทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถ อยู่รอด พร้อม โต ได้จริง โดยเห็นได้ชัดจากผลลัพธ์กว่าร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีฐานลูกค้าที่เข้าถึงสินค้าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้ง ยังทำให้เกิดการค้าเชื่อมโยงระหว่างผู้ชื้อและผู้ขายกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 23 หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาท ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศดีขึ้น ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022
ดีพร้อม ออกสตาร์ทภาคธุรกิจ เปิดนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” หนุนทุกปัจจัยการเติบโต คาดปี 65 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ลบ.
ดีพร้อม ออกสตาร์ทภาคธุรกิจ เปิดนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” หนุนทุกปัจจัยการเติบโต คาดปี 65 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ลบ.
กรุงเทพฯ 26 มกราคม 2565 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานแถลงนโยบาย “ดีพร้อมแคร์ : DIPROM CARE” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมโซนบี ชั้น 6 อาคาร กสอ. และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Facebook Live ใน Facebook Fanpage @DIPromindustry : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - DIProm (https://fb.watch/aMCpRUrSwn) นโยบาย “ดีพร้อมแคร์ : DIPROM CARE” เป็นแนวทางในการยกระดับและฟื้นฟูผู้ประกอบการหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ด้วยการสำรวจปัญหาที่แท้จริง ศึกษาความต้องการ และรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการให้ในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมผ่านแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ Customization การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำแผนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่และจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับสถานประกอบการ Accessibility ขยายช่องทางการเข้าถึงความช่วยเหลือทั้งในส่วนของเครื่องมือ บุคลากรที่ให้คำปรึกษา รวมถึงโครงการต่าง ๆ Reformation การปฏิรูปกลไกการดำเนินงานในภาพรวมของทุกกิจกรรม/โครงการ และการดำเดินงานให้มีรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ Engagement การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การเชื่อมโยงพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนผสานความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในไทยอีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 2565 จะดำเนินงานภายใต้งบประมาณการทำงาน 527.68 ล้านบาท โดยตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 16,000 ราย และคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022