กิจกรรม “รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ.”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้จัดกิจกรรม “รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ.” จัดขึ้นในระหว่างเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2564 ซึ่ง กสอ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้สวนเสียทั้งในสวนกลางและสวนภูมิภาคที่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณประจำปี โดยกำหนดพื้นที่จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯและภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม สมาพันธ์เอสเอ็มอี สภาอุตสาหกรรม หอการค้าและสภาหอการค้า ผู้นำชุมชน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาเข้มแข็ง พลิกฟื้น อยู่รอด และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหาที่แท้จริง ข้อเสนอแนะ และจำนวนของ SMEs ที่รับบริการในพื้นที่ จากกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ และสอดคล้องกับสถานการณปัจจุบันที่เกิดขึ้น เช่น การแพรระบาดของโรค COVID-19 เป็นต้น พร้อมทั้งนำข้อมูลที่รวบรวมและประมวลผลจากการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว นำไปพัฒนาเป็นแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 ของ กสอ. ต่อไป
01 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล” นำคณะดีพร้อม ลงพื้นที่กรุงเก่า ส่งมอบ “ถุงปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุกภัย
จ.อยุธยา 21 ตุลาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสากรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กสอ. และนายวุฒิธร มิลินทจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท วู้ดดี้ เวิลด์ จำกัด และเจ้าหน้าที่ ดีพร้อม ลงพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมส่งมอบ “ถุงปันน้ำใจ” ให้ผู้ประสบอุกภัย จำนวน 1,645 ถุง เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ให้แก่พี่น้องที่ผู้ประสบอุทกภัยในตำบลสำเภาล่มและตำบลปราสาททอง โดยมี นาง ซาร่าห์ วิเศษศักดิ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม และนายกเทศมนตรีตำบลปราสาททอง เป็นผู้แทนรับมอบในครั้งนี้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
25 ต.ค. 2021
ดีพร้อม เดินหน้าเพิ่มศักยภาพ e-Commerce เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้ รอด พร้อม โต! ด้วย Social Commerce
กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อมในยุคโควิดและการสัมมนาเรื่อง “การทำการตลาดออนไลน์ ด้วย Social Commerce อยู่ได้ไปรอดในยุคโควิด” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Facebook Live กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อมในยุคโควิด จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในยุคโควิดที่ยังมีอยู่ให้มีความรู้และทักษะ ในด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce พร้อมกับเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างครบวงจรและมียอดขายเพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการค้าออนไลน์มีองค์ความรู้ในการเข้าถึงการขายสินค้าให้กับภาครัฐ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการผลักดันและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การตลาดที่มีการใช้ข้อมูล การบริหารจัดการร้านค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media หรือ e-Commerce 2.0 ผ่านการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. Online Training จัดฝึกอบรมออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า 6,000 คน ให้เหมาะสมตามประเภทอุตสาหกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 2. Online Coaching การให้คำปรึกษาแนะนำแบบกลุ่มทางออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 600 คน 3. Market Testing การทดสอบการทำการตลาด แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 300 คน เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขาย ประชาสัมพันธ์สินค้า และเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการในการทำการตลาดผ่าน Social Commerce โดยมีแผนการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 120 วัน ซึ่งคาดว่าผลจะก่อให้เกิดการค้าเชื่อมโยงระหว่างผู้ชื้อและผู้ขาย กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค และก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นโดยรวมไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
20 ต.ค. 2021
ดีพร้อม โชว์พลังคลัสเตอร์หุ่นยนต์ รวมกลุ่มฝ่าวิกฤตสร้างระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ ลดนําเข้า ตปท.
กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชมสถานประกอบการ “คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ตามแนวนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้รวมตัวและบูรณาการการทํางานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จํานวน 22 บริษัท ที่มีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกําลังการผลิต การลดนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนําความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตร รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านกําลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งผลกจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ก่อให้เกิดการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการนําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ได้แก่ 1. การดึงกลุ่มสถานประกอบการ ที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว เพื่อทราบถึงความต้องการ นำไปต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 2. การส่งเสริม และเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน 3. จัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ในด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิค เพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา 4. ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาดในช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและ การเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ "คลัสเตอร์" มีจํานวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จํานวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว กรุงเทพฯ 20 ตุลาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชมสถานประกอบการ “คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ตามแนวนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้รวมตัวและบูรณาการการทํางานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จํานวน 22 บริษัท ที่มีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกําลังการผลิต การลดนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนําความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตร รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านกําลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งผลกจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ก่อให้เกิดการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ และยังมีแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการนําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ได้แก่ 1. การดึงกลุ่มสถานประกอบการ ที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว เพื่อทราบถึงความต้องการ นำไปต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 2. การส่งเสริม และเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน 3. จัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ในด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิค เพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา 4. ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาดในช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและ การเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ "คลัสเตอร์" มีจํานวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จํานวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ต.ค. 2021
"ดีพร้อม" ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย สัมมนาออนไลน์ New OTAGAI Forum สร้างการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพฯ 27 กันยายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด “โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้ ความร่วมมือ OTAGAI Concept (New OTAGAI Forum) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งไทยและญี่ปุ่น ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting New OTAGAI Forum คือ เวทีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละหน่วยงานต้องการผลักดัน ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบการจัดงานให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ เป็นการสร้างและขยายเครือข่ายหน่วยงานที่ทำการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งจากไทยและญี่ปุ่นให้มีความเข้มแข็ง โดยเวทีดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานได้ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มาตรการ นโยบายต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและต้องการที่จะผลักดัน ตลอดจนความเคลื่อนไหว แนวโน้มหรือทิศทางความต้องการของผู้ประกอบการในเครือข่ายให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดสากลและต่อยอดสู่การจับคู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศให้สามารถก้าวหน้าต่อไป โดยกิจกรรมในวันนี้ ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ จากไทยและญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นโยบาย และมาตรการการต่าง ๆ ที่หน่วยงานให้ความสนใจ และต้องการผลักดัน และแนะนำผู้ประกอบการญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ที่ต้องการร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยทั้งในส่วนของการผลิตและการตลาด เช่น การรีไซเคิลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยก๊าซมีเทนจากอินทรีย์วัตถุและน้ำทิ้ง การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานในพิธีให้เกียรติกล่าวปิดกิจกรรม ดังกล่าว### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
28 ก.ย. 2021
“ดีพร้อม” โชว์ปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ฝ่าโควิด 2.0 สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 100 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 13 สิงหาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสมอบวุฒิบัตร โล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เข้าอบรมดีเด่น และปิดการอบรมโครงการปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม(Agro Beyond Academy) หรือ ABA รุ่นที่ 2 พร้อมทั้งร่วมพูดคุยในกิจกรรมส่งเสริมการตลาดถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live สด ผ่าน Facebook Fanpage: WOODY กิจกรรมส่งเสริมการตลาดในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมส่งท้ายให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม “Agro Beyond Academy รุ่น 2” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เพื่อส่งเสริมการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ของผู้เข้าอบรมที่ร่วมโครงการฯ ได้สร้างช่องทางการประชาพันธ์ และสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ Agro Beyond Academy รุ่นที่ 2 มุ่งเน้นให้การสนับสนุนพร้อมผลักดันนักธุรกิจด้านเกษตรกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความสามารถเพื่อความเข้มแข็งแก่ชุมชนและท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในปีนี้ มีผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนทั่วไปสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งหมด 2,138 คน แบ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมาร้อยละ 53 และผู้ประกอบการที่กำลังเข้าสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมร้อยละ 47 โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งหมด 30 ชั่วโมง จำนวน 7 วัน ผ่านการ Live ช่องทางเฟสบุค ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิชาหลัก ได้แก่ หลักสูตรทางด้านการบริหารจัดการ หลักสูตรด้านการตลาด และหลักสูตรทางด้านการบัญชี และการเงิน และได้มีการติดตามผลการเรียนของผู้เข้าเรียนด้วยการทำแบบประเมินผลการเรียน พบว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถนำความรู้จากคลาสเรียนไปต่อยอดใช้งานในธุรกิจได้สำเร็จ และสามารถขยายช่องทางเครือข่ายทางธุรกิจ ทำให้มีรายได้โดยเฉลี่ยโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 (คำนวนร้อยละจากผู้เข้าเรียน) ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในไทยได้กว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับรางวัลเป็นผู้เข้าอบรมที่ดี (The Best) จํานวน 30 ท่าน และรางวัลเข้าอบรมดีเด่น (The Best of The Best) จำนวน 3 ท่าน ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ส.ค 2021
กระทรวงอุตฯ ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOC) กับแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ
กรุงเทพฯ 11 สิงหาคม 2564 - นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย - ญี่ปุ่น (Thailand – Japan High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายโมเทกิ โทชิมิตสึ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานร่วมในการประชุมในครั้งนี้ ร่วมด้วย รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น และผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย ผ่านระบบการประชุมทางไกล การประชุม HLJC เป็นกลไกการประชุมระดับสูงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อหารือเชิงนโยบายในการกำหนดทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยในครั้งนี้ได้กำหนดประเด็นหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจทเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างยั่งยืน ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1 การสอดประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ของไทยกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของญี่ปุ่น 2 ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และ 3 ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสาธารณสุข นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าว ยังจัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation: MOC) ระหว่างหน่วยงานรัฐบาลไทยกับหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของการประชุมครั้งนี้ โดย 1 ใน 4 ฉบับ เป็นความร่วมมือโครงการ Lean IoT Plant Management and Execution (LIPE) ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทน และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยมี นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นผู้แทน กับ กรมนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Trade Policy Bureau, METI) โดยมี นายมัทสึโอะ ทาเคะฮิโกะ อธิบดีกรมนโยบายการค้า เป็นผู้แทน และกรมความร่วมมือการค้าและเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Trade and Economic Cooperation Bureau, METI) โดยมีนาย อีดะ โยอิจิ อธิบดีกรมความร่วมมือการค้าและเศรษฐกิจ เป็นผู้แทน ซึ่งเป็นการสร้างกรอบความร่วมมือสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาเทคโนโลยี Lean IoT ในการบริหาร จัดการโรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Lean IoT Plant Management and Execution : LIPE) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาลไทยในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ หรือ ประเทศไทย 4.0 ในอันดับต่อไป รวมถึงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นกำหนดการ โครงการ หรือการจัดตั้งนโยบายเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) กับจังหวัดต่าง ๆ ของญี่ปุ่นแล้ว จำนวน 21 จังหวัด เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ การลงทุน และการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเฉพาะทางต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ส.ค 2021
ดีพร้อม ลับคมสมองบุคลากร ติวเข้มพร้อมปลุกพลังศักยภาพดรีมทีม
กรุงเทพฯ 8 เมษายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “ปลุกศักยภาพทีมงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) (Empowering the team)” ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 44 ราย ณ โรงแรมสินธร มิดทาวน์ ถนนวิทยุ ปทุมวัน การอบรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการบริหารงานเป็นทีม โดยกำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของตนเองให้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมร่วม และพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งการสร้างทัศนคติในการทำงานร่วมกันเชิงบวก เพื่อให้การทำงานเป็น แนวทางเดียวกัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ และระดับอาวุโส ที่จะเลื่อนระดับเป็นหัวหน้างานในอนาคต โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 5 และ 7-8 เมษายน 2564 แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 เป็นการฝึกอบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom มีเนื้อหาด้านพัฒนาทักษะการ Pitching เทคนิคการนำเสนอหรือแสดงความคิดเห็นในเวลาจากัดให้ประสบความสำเร็จ และในช่วงที่ 2 เป็นการบรรยาย พร้อม Work shop มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างศักยภาพทีมงานให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมสมอง เพื่อสร้างรูปแบบ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Change Model) เพื่อให้สามารถบริหารงาน และปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันต่อไป และในเวลาต่อมา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงถึงมาตรการแนวทางการทำงานของบุคลากรกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ครั้งนี้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 เม.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ
กรุงเทพฯ 2 เมษายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพลอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 66 พรรษา โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมลงนามถวายพระพรฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 เม.ย. 2021
ดีพร้อมลงพื้นที่กรุงเก่า โชว์ผลสำเร็จปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 พร้อมงัดไม้เด็ด STI 3 มาตรการ ช่วยธุรกิจไทยเต็มเหนี่ยว
จ.พระนครศรีอยุธยา 1 เมษายน 2564 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนและคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ภายใต้ กิจกรรม SMEs Grow Up ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ “ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19” พร้อมเผยผลสำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจทั่วประเทศ 1,494 ราย เตรียมเร่งพัฒนา 3 มาตรการสติ (STI) ฟื้นฟูเร่งด่วนช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ณ บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด อำเภอวังน้อย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ดีพร้อม (DIPROM) เร่งฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายทีมกูรูดีพร้อม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 ศูนย์ทั่วประเทศ เร่งสำรวจผลกระทบและความต้องการของผู้ประกอบการ จำนวน 1,494 ราย พบว่าผลกระทบที่ผู้ประกอบการประสบปัญหามากที่สุดคือ กำลังซื้อลูกค้าลดลงและด้านการตลาด ขณะเดียวกันยังได้สำรวจการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ พบว่ามีการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ปรับลดราคา และพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานและความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยภาพรวมในการปรับตัวของผู้ประกอบการเป็นไปตามแนวทางที่ดีพร้อมได้ส่งเสริมในปี 2563 ซึ่งถือได้ว่ากรมได้เดินมาถูกทาง และเพื่อยกระดับมาตรการให้สอดรับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทาง ดีพร้อม ได้นำข้อมูลจากผลสำรวจข้างต้น มาประกอบการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย “สติ” (STI) 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1. มาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เน้นส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีทักษะการบริหารการเงินที่ดี การส่งเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการขอสินเชื่อ ผ่านการพัฒนาทักษะการเขียนแผนธุรกิจ 2. มาตรการเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ โดยส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยี AI เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพในภาคการผลิต สามารถคำนวนข้อจำกัดต่างๆ ทั้งยังช่วยให้เกิดการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสามารถหยุดและดำเนินการผลิตได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อแรงงานบุคคล และ 3. มาตรการเพื่อสนับสนุนด้านการตลาด เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งการตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ ดีพร้อม ส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด เป็นอีกหนึ่งบริษัทฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากการหยุดกิจการของห้างสรรพสินค้า ธุรกิจร้านอาหาร และโรงแรม ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 20-30 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ จึงตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม SMEs Grow Up ซึ่งได้เรียนรู้ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อระบายสินค้า เนื่องจากข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเก็บได้นาน ผ่านการเรียนรู้วิธีการวางกลยุทธ์เพื่อกำหนดจุดยืน/จุดต่างในแพลตฟอร์มออนไลน์ (Brand Value Proposition) การเข้าถึงลูกค้าผ่านบัญชีไลน์เพื่อธุรกิจ และการพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัท จึงเป็นโอกาสให้สามารถเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลลัพท์จากการพัฒนาพบว่าสินค้าตนเองมียอดการค้นหาใน Google เพิ่มมากขึ้นจากลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ทำให้ยอดขายออนไลน์เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 30 ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2021