โทรศัพท์ 1358
ดีพร้อมลงพื้นที่สถานประกอบการฟาร์มเห็ด เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก. คาดสร้างมูลค่ากว่า 1.2 พัน ลบ.
ดีพร้อมลงพื้นที่สถานประกอบการฟาร์มเห็ด เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก. คาดสร้างมูลค่ากว่า 1.2 พัน ลบ.
จ.ปทุมธานี 25 มีนาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท เฟรช แอนด์ เฟรนด์ลีฟาร์ม ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 (DIPROM CENTER 8) คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสุชาดา กุลมงคล กรรมการผู้จัดการบริษัท ให้การต้อนรับพร้อมสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะขับเคลื่อนด้วยนโยบาย “ดีพร้อมแคร์เกษตรอุตสาหกรรม” ประกอบด้วย C-Customization ปรับแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม โดยเพิ่มความหลากหลายของการดําเนินการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ A-Accessibility เพิ่มศักยภาพการให้บริการผ่านการดําเนินงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคผ่าน DIPROM CENTER ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ และดีพร้อมไอเอดแพลตฟอร์ม (DIPROM i-AID Platform) กระจายโอกาสในการใช้งานเครื่องจักร R-Reformation ปฏิรูปโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบาย BCG เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแก่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และ E-Engagement ขยายพันธมิตรเกษตรอุตสาหกรรมโดยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ในการส่งเสริม สนับสนุนทุนเพื่อธุรกิจ จากนโยบายดังกล่าวเป็นการวางแผนการทำงานเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการในทุกมิติ พร้อมการยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรม เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ เพื่อกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิภาพไปสู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยพัฒนาเครื่องมือและกลไกต่าง ๆ ให้สามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ เสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคเกษตรอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท นอกจากนี้ยังส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช ผ่านโครงการ ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ส่งเสริมทักษะการวางแผนโลจิสติกส์ และสนับสนุนการพัฒนาเครื่องจักรกลขนาดเล็กเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ บริษัท เฟรช แอนด์ เฟรนด์ลีฟาร์ม จำกัด ได้เข้าร่วมอบรมภายใต้โครงการของดีพร้อมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ได้รับการพัฒนาหลากหลายมิติ อาทิ การต่อยอดจากมาตรฐาน GMP สู่มาตรฐานฮาลาลเพื่อสร้างโอกาสในการจัดจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ การสร้างแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของธุรกิจ นำไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าในตลาดสินค้าออร์แกนิก แม้ในช่วงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จะส่งผลให้ธุรกิจประสบปัญหา แต่จากการเข้าร่วมโครงการกับดีพร้อมทำให้มองเห็นทางออกของธุรกิจมากขึ้น ผ่านการใช้ช่องทางตลาดออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังได้รับแนวคิดในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากแพลนต์เบส ทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 สามารถรักษายอดขายสินค้าได้กว่า 10 ล้านบาท และมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนโควิด-19 โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 15 ล้านบาทในปีนี้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 มี.ค. 2022
“ดีพร้อม” งัดกลยุทธ์ Co-Creation ดัน ดีพร้อม สตาร์ทอัพ คอนเน็ค รุ่น 3 จับมือร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ลบ.
“ดีพร้อม” งัดกลยุทธ์ Co-Creation ดัน ดีพร้อม สตาร์ทอัพ คอนเน็ค รุ่น 3 จับมือร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ลบ.
กรุงเทพฯ 24 มีนาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานจับคู่และเจรจาธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) ภายใต้ กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสําหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (DIPROM Startup Connect) ร่วมด้วย นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คุณอำพร เจริญสมศักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด คุณพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหารด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คุณนิวัฒน์ ภู่นันท์วรากร Vice President Digital Platform and Innovation บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) คุณเปรมปรีดี กิติรัตน์ตระการ ผู้จัดการโครงการเอ็กสเพรสโช บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดร.เมธินี เทียบรัตน์ Innovation Evangelism สำนักงานบริหารนวัตกรรม บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้แทนหน่วยงานเครือข่าย สถาบัน สมาคม ธุรกิจภาคเอกชน และผู้ประกอบการ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ ห้องบอลรูม 4 ชั้น 2 โรงแรม แรมแบรนดท์ ถนนสุขุมวิท 18 งานดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (DIPROM Startup Connect) รุ่นที่ 3 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ โดยส่งเสริมโอกาสและช่องทางให้แก่สตาร์ทอัพในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการดำเนินธุรกิจส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม มุ่งสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการต่อไป สำหรับในปีนี้ เป็นการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG) เชื่อมโยงสู่พันธมิตรภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุน มุ่งเน้นยกระดับพัฒนานวัตกรรมร่วม Co-Creation ตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการร่วมทุนและการผลักดันผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไปสู่ระยะเติบโต ซึ่งดีพร้อมถือเป็นหน่วยงานแรกที่ขับเคลื่อนแนวทางนี้ โดยมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพผ่านการคัดเลือกจำนวน 17 บริษัท เพื่อนำเสนอโมเดลธุรกิจ และตั้งเป้าให้เกิดการร่วมลงทุนในปีนี้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 มี.ค. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมพิธีเปิดโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมพิธีเปิดโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
จ.ชลบุรี 16 มีนาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดตัวโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี นายทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยโรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ ใช้เทคโนโลยีการพ่นสีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในกระบวนการพ่นสีเฉพาะจุดที่มีความยากและซับซ้อน เช่น ระบบซีลตัวถังอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปืนพ่นสีนำประจุไฟฟ้า รวมถึงช่วยลดมลพิษ ลดของเสียให้น้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับชาติของรัฐบาลไทย ในอุตสาหกรรมสีเขียวและใช้พลังงานสะอาด กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มุ่งลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ โรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 3 พันล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวได้ใช้แผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 2 เมกะวัตต์ ซึ่งหากรวมที่ติดตั้งไปแล้วก่อนหน้าก็จะสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 6,100 ตันต่อปี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
17 มี.ค. 2022
DIPROM รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน
DIPROM รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน จาก นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 หรือ ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) จำนวน 2,400 ชุด ซึ่งดีพร้อมได้ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนให้ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในแต่ละภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด อันเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาได้ผ่านการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ DIPROM SET ที่มีการกระจายสู่การทดสอบตลาดทั่วทุกภูมิภาค โดยมี QR Code แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลิตภัณฑ์ เป็นการทดลองตลาดเพื่อนำความคิดเห็นไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสำหรับผู้ที่ทดลองผลิตภัณฑ์แล้ว มีความต้องการซื้อ หรือ สั่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดลองในถุงดีพร้อม ก็สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ และผ่านช่องทาง DIPROM MARKETPLACE และระบบ QR Code นี้ได้ต่อไป
17 มี.ค. 2022
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมประชุมหารือแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมประชุมหารือแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครั้งที่ 4/2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง) ในสองประเด็น คือ 1 ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงาน จากสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 เป็น วันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการดำเนินปรับปรุงระบบ e-GP ในการรองรับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของ สสว. (Thai SME-GP) และการปรับปรุงระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง และ 2 การปรับแผนกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2544 ข้อ 28 เพื่อดำเนินงานโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในโครงการด้านการเงินของ สสว. ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่าด้วยการประนอมหนี้และการจำหน่ายหนี้สูญ พ.ศ. 2564 โดยมีการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบในการทบทวนมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนด้านการเงินของ สสว. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 มี.ค. 2022
DIPROM Japan Desk ผนึกกำลัง SMRJ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ สร้างโอกาสเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น
DIPROM Japan Desk ผนึกกำลัง SMRJ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ สร้างโอกาสเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น
เมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. โต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ร่วมกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาค (SMRJ) ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนของไทยและญี่ปุ่น จัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ ขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) ภายใต้งาน METALEX March โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง SMEs ไทยและญี่ปุ่นในด้านอุตสาหกรรม BCG (Bio-Circular-Green) และอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นหลัก มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 150 คน ซึ่งมีทั้งผู้แทนหน่วยงานไทยและญี่ปุ่น ตลอดจนผู้ประกอบการจากทั้งสองประเทศ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากผู้แทนสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) นำเสนอภาพรวมของความต้องการทางธุรกิจ (Business Needs) ของผู้ประกอบการไทยที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้แก่ บริษัท เอส.พี. เมทัล พาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้ริเริ่มการผลิตเตียงสำหรับผู้ป่วย และ บริษัท แม่น้ำ เมคคานิกา จำกัด ผู้ผลิตคลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) และอื่น ๆ ที่ใช้ AI และ IoT รวมทั้งผลิตชุดป้องกัน PAPRs เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โดยผู้ประกอบการไทยทั้งสองรายคาดหวังถึงโอกาสในการร่วมทุน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจากภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นร่วมนำเสนอ Business Needs ประกอบด้วย บริษัท Shizen International จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) อย่างครบวงจร บริษัท Hirose Products จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ และไม้ไผ่ บริษัท Kanto Electronics จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมืออัตโนมัติ เช่น Part Feeder ที่สามารถจัดเรียงและป้อนชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กมากได้อย่างแม่นยำ และบริษัท GPC Laboratory จำกัด Startup ที่มีจุดแข็งในการสร้างเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเวชภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 4 รายล้วนมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม BCG และมีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยต่างมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งสนับสนุนในเชิงเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้เทคโนโลยีที่หลากหลายจากผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกรายมุ่งหวังร่วมกันคือความต้องการที่จะเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย (Win-Win) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด OTAGAI ที่มีความหมายว่าช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ไดสึเกะ มัทสึชิมะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มการดำเนินงานภายใต้แนวคิด OTAGAI บรรยายพิเศษเพื่อนำเสนอแนวทางการฟื้นตัวให้แก่ธุรกิจ รวมทั้งการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ในสภาวะปัจจุบัน รวมทั้ง คุณเท็ตสึยะ อิโนะอุเอะ ผู้แทน SMRJ ประจำโต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ได้ใช้โอกาสนี้แนะนำระบบฐานข้อมูล T-GoodTech และ J-GoodTech หนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง DIPROM และ SMRJ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
16 มี.ค. 2022
ดีพร้อม เดินหน้ายกระดับ CIV DIPROM มุ่งกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
ดีพร้อม เดินหน้ายกระดับ CIV DIPROM มุ่งกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
จ.นนทบุรี 10 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะฯ เนื่องในโอกาสศึกษาดูงานหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนบ้านปลายบาง ณ บันดาลสุขสมาร์ทฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรแม่นยำ อำเภอบางใหญ่ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting ชุมชนคนปลายบาง เป็นชุมชนเก่าแก่ อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ในจังหวัดนนทบุรี มีวิถีการดำเนินชีวิตดั้งเดิมที่เรียบง่ายและเต็มไปด้วยเรื่องราววัฒนธรรม การท่องเที่ยวชุมชนจึงเป็นไปในแนวทางเชิงนิเวศและวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย อาทิ วัดศรีบุญเรือง สวนเกษตรลัดดาวัลย์ เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรอินทรีย์ของชุมชน สวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ บ้านโบราน 100 ปี และ ศาลเจ้าแม่ทับทิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวชุนชนปลายบาง โดยทางชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) กับดีพร้อม ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะรอบด้านให้กับชุมชน ได้แก่ 1. สร้างศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2. อุตสาหกรรมระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และ 3. พัฒนาด้านมาตรฐาน โดยการจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจในยุค Next Normal นอกจากนี้ ชุมชนยังได้เข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชนสู่การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งการสร้างจุดแข็งในทุกมิติให้กับชุมชนจนเกิดเป็นผลสำเร็จ และต่อยอดยกระดับชุมชนผ่านหลายกิจกรรม อาทิ โครงการ CIV 5 ดาว การพัฒนานักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (Marketeer/ Influencer) การพัฒนาชุมชนที่ต่อยอดจาก CIV Concept ขณะเดียวในปีงบประมาณ 2565 ดีพร้อม ยังดำเนินโครงการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง DIPROM HERO ผ่านแนวทางการดำเนินงานในการมุ่งเน้นพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV Leader ผ่านกระบวนการติวเข้มหลักสูตรการสร้างนักบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคม หลักสูตรผู้นำ การพัฒนาชุมชน และหลักสูตรการนำเสนอ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรับรู้และตระหนักในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนต่อชุมชน นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้เชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และต่อยอดธุรกิจ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมชุมชนในทุกระดับการพัฒนา ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายนำร่องการพัฒนา 20 ชุมชน เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในอนาค ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
11 มี.ค. 2022
ดีพร้อม ติดอาวุธ SMEs ไทย พร้อมเสริมแกร่งกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ใช้ฟรี 6 เดือน
ดีพร้อม ติดอาวุธ SMEs ไทย พร้อมเสริมแกร่งกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ใช้ฟรี 6 เดือน
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาออนไลน์เสริมแกร่ง SMEs ด้วย Software ในระบบ i-Industry ร่วมด้วย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 400 ราย โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เอสเอ็มอีและผู้ที่มีความสนใจในซอฟต์แวร์ที่มีให้บริการทดลองใช้ในระบบ i-Industry มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ของไทยมากขึ้น ตลอดจนสร้างความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย (Software House) ร่วมดำเนินการให้บริการด้านซอฟต์แวร์แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ การบริหารบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการผลิต การบริหารการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างเอสเอ็มอีผู้ใช้งาน (Demand) กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย (Supply) อันจะส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยและลดการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีให้เข็มแข็งและสามารถแข่งขันในเวทีโลกต่อไปได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศได้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรีเป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะนำองค์ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการธุรกิจและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2565 ดีพร้อมได้มีการปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้ นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง (Customization) รวมทั้งมุ่งเน้นในการสรรหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับของสถานประกอบการเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่เป็นไปตามบริบทที่แท้จริง อีกทั้ง ยังมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน (Engagement) ที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านมาช่วยพัฒนาและสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ### PR@DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 มี.ค. 2022
ส่งเสริมสนับสนุน สื่อรณรงค์ เป็นการปลูกฝังค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและสร้างจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ กสอ.
ส่งเสริมสนับสนุน สื่อรณรงค์ เป็นการปลูกฝังค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและสร้างจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ กสอ.
ส่งเสริมสนับสนุน สื่อรณรงค์ เป็นการปลูกฝั่งค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและสร้างจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ กสอ. เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดี และปลูกฝังบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ สุจริต ไม่รับสินบน สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากร เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมโดยเผยแพร่ให้เจ้าหน้าที่ของ กสอ. ทุกคน ได้รับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ แสดงถึงนโยบายดังกล่าว
01 มี.ค. 2022
“ดีพร้อม” เชื่อมโยงเครือข่าย CIV DIPROM สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้ทุกชุมชนทั่วประเทศ
“ดีพร้อม” เชื่อมโยงเครือข่าย CIV DIPROM สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้ทุกชุมชนทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 1 มีนาคม 2565 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชนสู่การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV DIPROM โดยมี โดยนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. กล่าวรายงาน ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV DIPROM จำนวน 251 ชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจ จนสามารถยกระดับชุมชนให้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยการระดมความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ ปัญหาและผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความต้องการด้านพื้นฐานและความต้องการการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานสินค้าและบริการ โอกาสทางการตลาด) ด้านกระบวนการ (การผลิต/เทคโนโลยี/เครื่องจักร การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่งเสริมธุรกิจ) และด้านบุคลากร (การบริหารจัดการชุมชน ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน) โดยการระดมความคิดเห็นดังกล่าวจะถูกนำไปรวบรวมเพื่อเป็นข้อมูลสาระสำคัญในการจัดทำแผนการดำเนินงาน/โครงการการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา อาทิ การบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อดึงพลังจากนักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ จากหลากหลายสาขาวิชา เข้ามาร่วมพัฒนาชุมชนหมู่บ้าน CIV ซึ่งนักศึกษาจะได้ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไปพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่ชุมชนเป็นการเพิ่มศักยภาพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานหรือ การประกอบธุรกิจ รวมถึงความร่วมมือกับ Big Brother บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มามีส่วนช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Public Relations: MPR) ให้กับผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV และนิสิตนักศึกษาในการสร้างสรรค์สื่อหรือเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวให้ชุมชนเป็นที่รู้จักผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนมากขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2022