ดีพร้อม แท็กทีม รับฟังผลการประเมินความคุ้มค่าตามภารกิจ พร้อมเตรียมกำลังพลอัพเกรดการทำงานปี 65
กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ (1 ธันวาคม 2564) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของดีพร้อม และทีมที่ปรึกษา บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าร่วมประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงการดำเนินงานให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ซึ่งผลลัพธ์เป็นได้ทั้งผลสำเร็จและผลกระทบทางลบ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และประเมินผลปัจจัยที่ทำให้เกิดความคุ้มค่า ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของงาน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถนำไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้อย่างคุ้มค่าต่อไป โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของดีพร้อม ได้รับฟังสรุปผลการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมทั้งข้อเสนอแนะจากทีมที่ปรึกษา ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินงานของดีพร้อมมีการพัฒนาผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ โดยสะท้อน Life Cycle ของวัฏจักรธุรกิจ 5 ระยะ โดยเน้นจุดเด่นด้านการพัฒนาผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ด้านระบบโลจิสติกส์ และด้านระบบ Ecosystem เข้ามาใช้ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกันกัน การพัฒนาผู้ประกอบการในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดีพร้อม ที่ผ่านมายังมีความหลากหลายมากไป ควรที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สอดรับกับเรื่อง BCG เพื่อเป็นจุดแข็งในการให้บริการผู้ประกอบการในอนาคตต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
02 ธ.ค. 2021
“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมประชุมแนวทางการติดตามผลงบฯ ปี 65 พร้อมมอบนโยบายการจัดทำคำของบฯ ปี 66
กรุงเทพฯ 30 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมอบนโยบายการจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้กล่าวรายงาน และในโอกาสนี้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีแก่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ในโอกาสได้รับตำแหน่ง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคาร กสอ. และผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่น Zoom meeting อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหารได้มอบนโยบายในการส่งเสริมพัฒนากลุ่มเป้าหมายไปสู่ทิศทางที่หลากหลาย ตั้งแต่ การนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบออโตเมชั่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งต่อ Big Brother เพื่อต่อยอดการผลิต การพัฒนา Merchandiser สร้างเครือข่ายตลาดในประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งสินค้าท้องถิ่น ขยายผลโลจิสติกส์โดยใช้เงินทุน (DIProm Pay) เพื่อต่อยอดการทำ Warehouse การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม การสร้างแพลตฟอร์มรองรับอุตสาหกรรมด้านการแปรรูปอาหาร (Future Food และ Functional Food) ซึ่งถือเป็น First S-curve นำร่องผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมเน้นการพัฒนาบุคลากรดีพร้อมให้มีทักษะ (Skill) ในด้านต่างๆ ให้เพิ่มขึ้น โดยใช้หลักสูตรทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยให้นำผลจากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 5 พื้นที่คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และ ภาคใต้ เกิดเป็นภาพรวมความต้องการหลัก ๆ ดังนี้ แหล่งเงินทุน 31% การตลาด 29% ด้านระบบนิเวศน์ 14% ด้านการอบรมฝึกทักษะ 13% ด้านการให้คำปรึกษา 9% และ ด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย 4% มาใช้วิเคราะห์และประมวลผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของดีพร้อมในอนาคต พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการติดตามและรายงานผล ปีงบประมาณ 2565 คือ 1. ผลการดำเนินโครงการของ กสอ. 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจและความคุ้มค่าของโครงการ 3. ผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และ ผลการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และ กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ ยังได้จัด workshop การใช้งานระบบแผนงานงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปีในส่วนของการบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 และ บันทึกคำของบฯประจำปีงบประมาณ 2566 ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 ธ.ค. 2021
ดีพร้อมหนุนนโยบายเปิดประเทศ อัพเกรดผลผลิตเกษตร - เพิ่มมูลค่ากาแฟภาคเหนือตอนบน พร้อมปั้น “แลนด์มาร์คอาราบิก้า”
จ.เชียงราย 26 พฤจิกายน 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟขานรับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมในการยกระดับกาแฟอาราบิก้าอย่างครบวงจร ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย และคณะจากอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย โดยมี จีรศักดิ์ จูเปาะ ผู้บริหาร บริษัท หญ่าโย ดีซี จำกัด ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท หญ่าโย ดีซี จำกัด ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลา 6 ปี เป็นผู้ปลูกกาแฟโดยมีพื้นที่ปลูกที่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย และเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟดิบหรือสารกาแฟ โดยใช้กระบวนการผลิตแบบเปียก หรือ Wet Process โดยสามารถทำผลผลิตได้ 5 ตันต่อเดือน แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้ยอดสั่งลดลง จึงได้ริเริ่มการพัฒนากาแฟชนิดพิเศษ เพื่อเพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟ ปัจจุบันได้จัดตั้งโรงคั่วเมล็ดกาแฟซึ่งผ่านการตรวจมาตรฐานและได้รับเลขสาระบบอาหาร (เลข อย.) นอกจากนี้ ยังจัดทำร้านคาเฟ่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “YAYO COFFEE” เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการกับทางดีพร้อมในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟ ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทำให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟเมล็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงอัตลักษณ์ของกาแฟชนิดพิเศษ ได้รับการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟ จากแหล่งปลูกที่มีความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านกลิ่นรสชาติ และลักษณะปรากฎเฉพาะของกาแฟ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ แบบครบวงจร จนสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลภายใต้ภาพลักษณ์กาแฟไทย ในเวลาต่อมาอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม บริษัท เดอะ คอฟฟี่ แฟ็คทอรี่ จำกัด โดยมีนางสาวปิยะดา คำก้อน กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ บริษัทดังกล่าวดำเนินการธุรกิจกาแฟทั้งในรูปแบบของร้านกาแฟและมีโรงงานแปรรูปที่ครบวงจร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลทั้ง GMP CODEX, HACCP CODEX และ FDA ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมทั้งรับให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในปัจจุบันนั้นมีทั้งกาแฟสาร และคั่วเมล็ดกาแฟพร้อมบรรจุซอง” โดยหลังจากทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟเพื่อเพิ่มมูลค่า เกิดผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1. Coffee Concentrate Espresso ผลิตภัณฑ์กาแฟเข้มข้น ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่รักการดื่มกาแฟ บริโภคสะดวก เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์กาแฟให้มีความหลากหลายมากขึ้น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ผู้ประกอบการดำเนินกิจการที่มีเพียงเมล็ดกาแฟคั่ว และสารกาแฟ เป็นหลัก ซึ่งผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษานาน 6 เดือน 2. ด้านบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวความคิด “ผลิตภัณฑ์กาแฟเข้มข้น” บรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกทนความร้อน ขนาด 220 มิลลิลิตร ออกแบบฉลากโดยใช้โทนสีขาว สบายตา โดยชื่อของผลิตภัณฑ์มีขนาดใหญ่วางอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นที่จดจำ ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เดินหน้ายกระดับกาแฟอาราบิก้าแบบครบวงจรมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 ภายใต้อัตลักษณ์กาแฟภาคเหนือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีคุณภาพและทำให้ภาคเหนือตอนบนเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟที่มีชื่อเสียง และได้ผลักดันทักษะของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟในภาคการผลิตและภาคบริการให้ก้าวสู่ทิศทางที่ดีขึ้น นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของตลาดกาแฟของภาคเหนือตอนบน เติบโตมากขึ้นถึง 5,000 ล้านบาท และเมื่อศึกษาภาพรวมในตลาดกาแฟซึ่งพบว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ จึงได้มีแนวทางเพิ่มโอกาสการเติบโตของผู้ผลิตกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือผ่านโครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ ด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้ 1. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านกลิ่น รสชาติ และลักษณะปรากฎเฉพาะของกาแฟ 2. ส่งเสริมกระบวนการคั่ว มุ่งลดปัญหาและสร้างมาตรฐานการกำจัดของเสียจากการแปรรูปกาแฟ 3.ยกระดับธุรกิจผ่านแนวทางการเกษตรสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดันกาแฟในแต่ละดอยมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเอง รวมถึงปรับบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการขนส่ง 4. เพิ่มโอกาสในการขยายตลาด ด้วยการผลักดันให้กาแฟแต่ละแหล่งเพาะปลูกมีโอกาสเข้าถึงช่องทางการค้าออนไลน์ พร้อมทั้งส่งเสริมการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตร 5. การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมกาแฟผ่านคลัสเตอร์ (Cluster) และ 6. การส่งเสริมธุรกิจกาแฟของภาคเหนือตอนบนผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์พัฒนาและทดสอบอัตลักษณ์กาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ (Northern Boutique Arabica Coffee Center : NBACC) ของดีพร้อม ทั้งนี้ ในปี 2565 ดีพร้อม ได้วางแนวทางผลักดันให้ผลผลิตจากเกษตรกร-ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาคุณภาพและรสชาติ ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การผลิตและเพาะปลูกบนดอยรวมกว่า 20 แห่ง ซึ่งจะพัฒนาทั้งพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่เหมาะสมกับแต่ละลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์กาแฟ และยกระดับศักยภาพให้เป็นพื้นที่สำคัญของการเพาะปลูก - การแปรรูปในระดับสากลต่อไป
30 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
กรุงเทพฯ 23 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมหารือ ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคณะผู้บริหารสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อน SMEs และทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ พร้อมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมไปถึงการบูรณาการงานร่วมกันในอนาคต โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะดีพร้อม ได้รับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะจากทางสมาพันธ์ฯ โดย ประธานสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง ทิศทางการพัฒนาประเทศของมหาอำนาจอย่างประเทศจีนในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้ นโยบาย MADE IN CHINA 2025 : Dual Circulation หรือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนานป็นแผนการพัฒนาให้ความสำคัญกับหลักการ ‘การหมุนเวียนภายในประเทศ (Internal Circulation)’ เพื่อเพิ่มความต้องการของคนในประเทศ และลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศเป็นแกนหลัก ในขณะเดียวกันจะต้องมีการหมุนเวียนภายนอกประเทศ (External Circulation)’ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออก โดยเป้าหมายในระยะยาวจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความต้องการการบริโภคภายในประเทศ และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาความต้องการจากต่างประเทศ ขณะที่สถานการณ์ SMEs ของไทยในปัจจุบันอยู่ในภาคการค้าและการบริการ โดย SMEs ส่วนใหญ่ของประเทศเป็น Micro SMEs ซึ่งมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก พบว่า SMEs มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก สำหรับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของ SMEs กลุ่มนี้คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการดำเนินธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of doing Business) รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาของภาครัฐที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณทำให้กระจายความช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึง สำหรับอุปสรรค (Pain Point) ในการพัฒนา SMEs จากมุมมองของสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง การพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ Financial Scale Up และ Development Service ซึ่งในแต่ละด้านยังขาดความเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน หากทั้ง 3 ด้านมีการบูรณาการงานภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานร่วมกันจะขับเคลื่อน MSMEs ให้เติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ สมาพันธ์ฯ ยังได้สะท้อนความต้องการในการจัดตั้ง 3 กองทุน อันเนื่องมาจากข้อมูลที่จะสะท้อนถึงศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ MSMEs เมื่อเทียบ 100 ราย พบว่าเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสามารถผ่านเงื่อนไข หรือ การอนุมัติสินเชื่อเพียง 30% อีก 70% เป็นกลุ่มที่ขาดคุณสมบัติ หรือเป็น NPL สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของกองทุน (1) กองทุนนวัตกรรม MSMEs เป็นกองทุนที่จะมุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน องค์ความรู้ ตลาด สิทธิประโยชน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (2) กองทุนพัฒนา MSMEs เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน (3) กองทุนพัฒนา NPLs MSMEsคือกลุ่มที่มีหนี้ NPL รวมถึงหนี้นอกระบบ ให้มีโอกาสไปต่อ แข็งแรงขึ้น โดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐเป็นผู้ดูแล สำหรับปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีปัญหาด้านแรงงานที่ตกงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ผกผันในสังคมปัจจุบัน กรณีขาดแคลนแรงงาน สมาพันธ์ฯ ได้เสนอ Thailand e-Job Platform เพื่อลดการว่างงาน เพิ่มการจ้างงาน พัฒนาทุนมนุษย์ โดยองค์ประกอบหลักของแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเรื่องของการสรรหาคนเพื่อเข้าสู่การเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม แรงงานฝีมือ นักเรียนนักศึกษาที่จบใหม่ หรือการพัฒนาบ่มเพาะเพิ่มขีดความสามารถเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ MSMEs เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ปัจจุบันการสร้าง Ecosystem Economy Innovation เป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นพลังในการลดต้นทุนส่วนเกิน สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจ สมาพันธ์ฯ มีแนวทางการดำเนินงาน “อยู่รอด อยู่เป็น อยู่เย็น อยู่ยาว” สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่ควรสนับสนุน โดยใช้ Customized Function ในการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Function Food) มีมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูง อุตสาหกรรมการค้าปลีกการพัฒนาหรือนำระบบ Point of Sales (POS) เพื่อ tracking or modify ธุรกิจให้เติบโต แต่ยังคงติดกับดักด้านการลงทุน/เงินทุน สมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง 3K : Knowledge / Know How / Know Who เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน และโอกาสสำคัญคู่กับความรู้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว SMEs อาจฉกฉวยโอกาส สร้างความแตกต่าง ลดต้นทุนในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้าน Solar Farm Energy ที่ยังรอการสนับสนุนจากภาครัฐ และประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของโลกอย่าง Metaverse ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกธุรกิจ เปลี่ยนวิถีการท่องเที่ยวไปอย่างสิ้นเชิงในอนาคต สำหรับเทคโนโลยีในภาคการผลิต สะท้อนภาพในมุมของการพัฒนา Machine Data People ควบคู่กันไป ในส่วนของการพัฒนา Creative Content / Economy เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจสร้าง High Impact โดยสอดคล้องกับห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพัฒนา Start up ต้องการรับการสนับสนุนในส่วนของเงินทุนเป็นสำคัญ จากภาพสะท้อนของภาคเอกชนที่ส่งต่อมายังภาครัฐ ซึ่งดีพร้อมได้มีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับโจทย์ หรือความต้องการไม่ว่าจะในประเด็นของการพัฒนาด้าน Financial / non Finance อาทิ เงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ออกแพคเกจ “ดีพร้อมเปย์” เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีขีความสามารถซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมโครงการของดีพร้อมได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน Training Package ผ่านรูปแบบออนไลน์, การใช้ระบบ Automation / Ecosystem / กลไกของ ITC ที่ในอนาคตอันใกล้นี้จะใช้ Pilot Plant ให้กับ SMEs เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และ Matching กับ OEM ลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตและการประกอบธุรกิจ ให้ SMEs มุ่งเน้นการขายสินค้า สร้าง Return of Investment ได้อย่างรวดเร็ว / Big Data โดยดีพร้อมได้ใช้ iSingle Form เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการเพื่อ Tracking Progress เพื่อแนะนำการพัฒนาที่เหมาะสมในระยะต่อไป ซึ่งหากทั้ง สมาพันธ์ฯ และ ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการงานร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ หารือแนวทางนำร่อง แพ็คเกจ “ดีพร้อม-เปย์” 3-3-5 กว่า 30 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 23 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย “แนวทางการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น3 กสอ. โดย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเปย์ (DIProm Pay) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ดีพร้อม โดยกำหนดกรอบวงเงินอนุมัติสูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเริ่มต้น 3% ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 ปี เป็นโครงการที่มีป้าประสงค์ในการดำเนินการ คือ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและมีความพร้อมจะฟื้นฟูกิจการอีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) คลี่คลาย เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการช่วยเหลือและการสนับสนุนผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในการหมุนเวียนกิจการ และต่อยอดธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และสตาร์ทอัพ ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ ตามเป้าหมายที่วางไว้ 30 ราย นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางให้ กองฯ และ ศูนย์ภาคฯ ดำเนินการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างเข้มแข็งตลอดระยะเวลาการกู้ภายใน 3 ปีขึ้นไป### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล นำทีมดีพร้อม เดินหน้าหารือ สอท. แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม สำนักงานเลขานุการกรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และคณะผู้บริหารดีพร้อม ร่วมหารือ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายปรีชา ส่งวัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายจำรัส สว่างสมุทร ผู้อำนวยการใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ถึงแนวทางการขับเคลื่อน SMEs ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ พร้อมรับฟังเสียงสะท้อนถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมไปถึงการบูรณาการงานร่วมกันในอนาคต ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะดีพร้อม ได้รับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะจากทางสภาอุตฯ โดย ประธานสภาอุตฯ ได้กล่าวถึงการผลักดันโครงการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand : MiT) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากดีพร้อม เป็นอย่างดี ด้วยการผลักดัน SMEs เข้าสู่ระบบได้เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการซื้อขายกับภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามเป้าประสงค์ของโครงการ ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ยังมีความสนใจในการเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก คือ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG model และการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการนำพาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้ในบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สภาอุตฯ ยังได้เล็งเห็นถึงขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร และการสนับสนุนขีดความสามารถของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) ชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรูปแบบการดำเนินงาน นั้น ทางสภาอุตสาหกรรมสะท้อนในมุมการพัฒนาในกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพหรือความพร้อมที่จะขยายตัว ด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบ Automation Sensor Robot ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งแพลตฟอร์มกลางที่มีเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อย่าง Realtime ก็จะสามารถช่วยลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตได้ ซึ่งข้อดีของการตรวจสอบทุกกระบวนการจะมีการเก็บข้อมูล ทำให้สามารถวิเคราะห์ คำนวณปริมาณการผลิต การสต็อควัตถุดิบ การวางแผนการจัดจำหน่ายต่อไปได้ ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ยังได้นำเสนอ 5G Use case ในสถานประกอบการ อาทิ กระบวนการ Precision Monitoring & remote control AI Machine Vision (Defect Detection) Surveillance & Inspection ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสถานประกอบการท่ามกลางวิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งมี Case Study ด้านการนำระบบ Automation เข้าไปในกระบวนการผลิต พบว่าการคืนทุน IRR ได้รวดเร็วกว่าการใช้เเรงงาน แต่ยังพบข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี นวัตกรรมเหล่านี้สามารถตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี สำหรับการพัฒนาใน Micro SME สอท. ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตร การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการจำแนกสินค้า ดูแลเรื่องมาตรฐานให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค Consumer Products โดยคาดหวังให้ SMEs up scale จากผู้ประกอบการขนาด Small (S)ไปเป็น Medium (M) ด้วยนวัตกรรม Inovation ที่สร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากการปรับคุณภาพมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ สอท. ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าการผลิตอย่าง OEM ที่อาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายโดยลดขั้นตอนในการบริหารจัดการด้านการผลิต โดยให้ไปมุ่งเน้นด้านการตลาดให้มากขึ้น นอกจากนี้การให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ ทาง สอท. ยังได้ให้ความสนใจในการต่อยอดร่วมกันในอนาคต สำหรับการส่งเสริมให้ SMEs ใช้ Digital มากขึ้น โดยมี SI Digital เข้าไปช่วย Support ทั้งนี้ การดำเนินงานของ ดีพร้อม มีหลายเรื่องที่มีการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับ สอท. ไม่ว่าจะในเรื่อง Influencer SI digital Automation ITC Medical Packaging รวมถึงด้านเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีบริการแพลตฟอร์มออนไลน์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางเกษตรครบวงจร IAID Application และแพลตฟอร์มคัดเกรดคุณภาพวัตถุดิบ ตลอดจนการนำกลไกของ SI (System Integration) มาใช้ในการพัฒนา SMEs ในอุตสาหกรรมดิจิทัล วางโครงสร้างการผลิตเชิงวิศวกรรมทั้ง Hardware และ Software ประสานงานเครื่องจักรเยอะ แต่ใช้คนควบคุมน้อยเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับ SMEs มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากทั้ง สอท. และ ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการงานร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคตภายภาคหน้า ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล รุกหารือภาคีเครือข่าย ประเดิมสภาหอการค้าไทย แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่ (Next Normal)”
กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมหารือ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร เพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ไทย ภายใต้บริบทใหม่ (Next Normal) โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วมหารือดังกล่าว ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้หารือกับทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในเรื่องสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ด้วยกระแสของ VUCA (V-Volatility ความผันผวน U-Uncertainty ความไม่แน่นอน C-Complexity ความซับซ้อน และ A-Ambiguity ความคลุมเครือ) และแบ่งปันมองมุมการพัฒนา SMEs จากภาคเอกชน ตลอดจนแนวโน้มของการดำเนินธุรกิจ อาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด-19 รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง Metaverse ที่จะเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรม และเตรียมรับมืออย่างไร ขณะเดียวกัน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ดำเนินงาน ภายใต้ นโยบาย Connect the dots เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์และมีพลังในการขับเคลื่อน เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการทำงานจากเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยสภาหอฯ มีรูปแบบการขับเคลื่อนงานเชิงรุก RACI : R - Responsible ผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าภาพในการแก้ปัญหา A - Accountable ผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเชื่อมโยงเพื่อให้บรรลุผล C - Consult ต้องหาผู้รู้และที่ปรึกษาที่สามารถให้ข้อมูล การชี้แนะที่ถูกต้อง และ I - Inform เมื่อได้ทุกองค์ประกอบครบแล้วต้องแจ้งให้ทุกคนทราบเพื่อความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งหากภาครัฐทำงานในเชิงรุกการขับเคลื่อนในทุกมิติจะเกิดผลสำเร็จ ทั้งนี้ สภาหอฯ ได้เข้าไปสนับสนุน พัฒนา ผู้ประกอบการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ อาทิ Big Brother พี่สอนน้อง Young Entrepreneur Chamber of Commerce: YEC, Service Provider หลักสูตรสำหรับการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด Modern trade หรือ Platform LiVE Exchange เพื่อให้ Start Up หรือ SMEs มีโอกาสสู่การเป็น springboard เพื่อเข้าตลาดอย่าง SET หรือ mai นอกจากนี้ ทางสภาหอฯ ยังได้มีข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ ในการที่จะมุ่งเน้น พัฒนา Ecosystem ในการให้บริการประชาชนเมื่อติดต่อราชการจุดเดียวจบ การพัฒนากลุ่ม Start Up ที่มีศักยภาพที่ดำเนินธุรกิจในกลุ่ม Future Food มีทิศทางการเติบโตที่ดี SMEs รายเก่าต้องการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการใช้ระบบ Automation แทนแรงงานที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลน โอกาสของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศมหาอำนาจลำดับต้น ๆ อย่างจีนที่กำลังให้ความสนใจที่จะลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งผลักดันคว้าโอกาส สร้างปัจจัยเอื้อที่เหมาะสม แลกเปลี่ยนเรียนรู้โมเดลการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในเชิงเทคโนโลยีของจีน ease of doing business ภาครัฐช่วยผลักดัน กฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้สะดวก สำหรับการบูรณาการงานร่วมระหว่างสภาหอฯ และ กสอ. ในอนาคต จากที่สภาหอฯ ได้ดำเนินโครงการ Happy model เตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคตที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การเป็นศูนย์กลาง Health & Wellness รวมถึงการพัฒนากำลังคน Reskill / Upskill / Newskill ในการสร้างผู้ประกอบการ และกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จากการร่วมพบปะหารือในครั้งนี้ทำให้ กสอ. ได้เห็นถึงทิศทางการดำเนินงานจากมุมมองของภาคเอกชน ตลอดจนโมเดลของการพัฒนา ส่งเสริม SMEs Start Up ที่ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญได้รับฟังความต้องการที่สะท้อนมาจากภาคเอกชนสู่ภาครัฐ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นในหลาย ๆ เวทีทีผ่านมานำมาซึ่งโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงในปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ย. 2021
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมงาน Powering Digital Thailand 2022 พร้อมบรรยายพิเศษ “การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด”
กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน Powering Digital Thailand 2022 HUAWEI CLOUD & CONNECT ASIA-PACIFIC INNOVATION DAY พร้อมกล่าวบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด” โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดงานและกล่าวบรรยายพิเศษ ร่วมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานสุรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายเกาผิง ประธานกรรมการ HUAWEI นายหลิน ไป๋เฟิง ประธาน HUAWEI เอเชียแปซิฟิก นายหยาง มี เอิ๋ง กรรมการบริหารมูลนิธอาเซียน นายวรชัย พิชาญจิตร รองประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) นายเลอ กวาง หลาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้ากอง ICT และการท่องเที่ยว สํานักเลขาธิการอาเซียน นายหยาน เรียนโต้ รักษาการรองผู้ว่าการโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและนวัตกรรม สํานักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายเอเบิล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด ผู้บริหารภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ และคณะผู้บริหารบริษัท HUAWEI เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ เซ็นทารา แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู้ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมาก ๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เทคโนโลยี Digital IoT 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนํามาใช้เร็วขึ้น สําหรับภาคอุตสาหกรรมไทย แม้ที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วและเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลเล็งเห็นถึงความสําคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมเดิมของประเทศให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม มีแผนที่จะยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศให้เข้าสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม 4.0 โดยให้ความสําคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมุ่งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และต่อยอดอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่า รวมทั้งการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจ สีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมครอบคลุมในมิติต่าง ๆ 6 ด้าน หรือ เรียกว่า 6S ประกอบด้วย การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิสก์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เป็นต้น Smart Agricultural Industry โดยใช้ศาสตร์การบริหารจัดการแบบอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในการทำเกษตร เพื่อยกระดับเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจเกษตร 3.ส่งเสริม SME & Start up โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐานในการช่วยยกระดับ SME และขยายธุรกิจให้ Startup SEZ (Special Economic Zone) & Investment Promotion ส่งเสริมและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับแรงงานกลับถิ่นและการขยายตัวของเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ Smart factory 4.0 การยกระดับการประกอบการอุตสาหกรรม โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทาง BCG Model เพื่อพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 6.Service Transformation การยกระดับการให้บริการ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม 4.0 โดยปฏิรูปองค์กรไปสู่ Smart Government อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย จะประสบความสําเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ งาน Powering Digital Thailand 2021 HUAWEI CLOUD & CONNECT จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีพันธมิตรกว่า 60 รายร่วมออกนิทรรศการและมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 3,500 คน ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Powering Digital Thailand และเจาะลีกถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง อาทิ Cloud 5G AI และ Digital Power ในทุก ๆอุตสาหกรรม ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2021
อธิบดีณัฐพล ประธานบอร์ดเงินทุนหมุนเวียนของดีพร้อมสั่งการ "รสอ. เจตนิพิฐ" ประธานอนุกรรมการพื้นที่ภาคใต้ ลงพื้นที่กระบี่ เยี่ยมสถานประกอบการลูกค้าเงินทุนหมุนเวียนฯ ผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
จ.กระบี่ 16 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย สั่งการ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมช่างแอร์ โดยมี นายจุรุพงค์ โชคไพศาล เจ้าของสถานประกอบการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงาน หจก. รวมช่างแอร์ เป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 20 ปี โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากโครงการเงินทุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวแเลยนะพี่ละหัตถกรรมไทยกับทาง ศภ.10 กสอ. เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการได้วางแผนนำเงินทุนฯ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินและต่อยอดและรักษาอัตราการเติบโตของธุรกิจให้คงที่ พร้อมรับมือกับคู่แข่งทางการค้าในตลาด และกำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลงในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 โดย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหาร ได้ร่วมชื่นชมผู้ประกอบการที่สามารถบริหารกิจการฝ่าวิกฤตโควิด-19 มาได้ พร้อมแนะนำช่องทางการพัฒนาและขยายกิจการในอนาคตให้กับผู้ประกอบการ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2021
ดีพร้อม ลงพื้นที่กระบี่ เยี่ยมสถานประกอบการผ้าบาติกและน้ำพริก
จ.กระบี่ 16 พฤศจิกายน 2564 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กสอ. นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วาริชกระบี่ บาติก โดยมี นายวริฤธิ นวลแก้ว เจ้าของสถานประกอบการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการดังกล่าว โดย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะ ได้รับฟังสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ ซึ่งทาง หจก.วาริช ได้เสนอให้ทางดีพร้อมช่วยสนับสนุนในการต่อยอดและพัฒนาเครื่องเขียนลายเทียนผ้าบาติกระบบ CNC ด้วยหัว 3 แกน และการยกระดับงานศิลปะชุมชนสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาต่อยอดและยกระดับศักยภาพของการผลิตชิ้นงานด้วยการนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากขึ้นจากเดิม รวมถึงในส่วนของเงินทุนหมุนเวียนฯ ของดีพร้อม เพื่อนำไปเป็นทุนปรับปรุงและต่อยอดเครื่องเขียนลายเทียนดังกล่าว ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยได้มอบหมายให้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กสอ. เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด วาริชกระบี่ บาติก เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าบาติกสำเร็จรูปแบบเพ้นท์แห่งแรกของกระบี่ ซึ่งมีเครื่องเขียนลายเทียนอัตโนมัติที่นำมาใช้ในการผลิตผ้าบาติก ทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานลง รวดเร็ว อีกทั้งไม่ต้องใช่แรงงานมากโดยตลาดส่วนใหญ่จะจำหน่ายเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวในกระบี่ ซึ่งลวดลายบนผ้าจะสะท้อนบอกเล่าเรื่องราวและภูมิปัญญาของภาคใต้ โดยช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมาทางร้านได้มีการปรับตัวจำหน่ายในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ หจก.วาริชกระบี่ บาติก ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากโครงการเงินทุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยกับทาง ศภ.10 กสอ. เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ในเวลาต่อมา ได้เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการผลิตน้ำพริกและเครื่องแกง แบรนด์ ชากีราห์ เคอร์รี่ ซึ่งเป็นการผลิตในภาคอุตสาหกรรมครัวเรือน โดยทางผู้ประกอบการได้เสนอแผนการจัดการของผลิตภัณฑ์ในอนาคต อาทิ การขยายกลุ่มตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ แก้ไขจุดอ่อนของบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการเสียหายในระบบขนส่ง ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายมิติ ได้แก่ การจดแจ้งเพื่อเป็นสถานประกอบการ การจัดทำระบบมาตรฐาน อย. และ ฮาลาล การศึกษาองค์ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์เพื่อขยายโอกาสและช่องทางในการจำหน่ายสินค้า การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โดยคำนึงถึงผลประโยชน์รอบด้านตั้งแต่ ความสวยงามคงทน ง่ายต่อการใช้งานและขนส่ง การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การจดสถิติของการจำหน่ายแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดจุดคุ้มทุนของการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการปรับรูปแบบเพื่อส่งเสริมการตลาดในช่วงเทศกาลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้แนะนำผู้ประกอบการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้สะดวกต่อการบริโภค เช่น เครื่องแกงรูปแบบซุปก้อน การทำผงแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Dry) โดยสามารถเข้าขอรับคำปรึกษาแนวทางและบริการทดสอบการแปรรูปได้ที่ศูนย์ ITC ศภ.กสอ. ในพื้นที่ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2021